ขณะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวพยายามดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์โควิด-19 สิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งทางเอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ปได้วิเคราะห์ไว้ คือ การการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบทั้งอีโคซีสเต็ม เพื่อกระตุ้นให้มีการเดินทางต่อไปในโลก พร้อมเร่งวางรากฐานรองรับการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำงานร่วมกันเป็นระบบ โดย นายนิค แอนดรูส์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบริหารการตลาดของเอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไปทั่วโลกของเชื้อไวรัส โควิด-19 ทำให้เกิดการระงับและยกเลิกการเดินทางเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวเหล่านี้คิดเป็น11% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แม้ทาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีแผนรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เมื่อต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย ขณะที่เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ปก็ได้ให้ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับททท. รวมถึงสนับสนุนและทำงานร่วมกับที่พักที่เป็นพาร์ทเนอร์ในประเทศในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จในระยะยาว “ในสถานการณ์เช่นนี้ ทำได้คือวิเคราะห์รูปแบบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์วิกฤตในครั้งก่อน ๆ ขยายความหลากหลายทางการตลาด และใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางดิจิทัลในการวางรากฐานเพื่อรองรับการฟื้นตัว” นายแอนดรูส์ กล่าว ทั้งนี้ HVS หน่วยงานด้านการวิจัยของแคนาดา ระบุ ว่า ปริมาณการเดินทางสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ค่อนข้างเร็ว ตามข้อมูลที่อ้างอิงจากรูปแบบการเดินทางในช่วงโรคระบาดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ อย่างเช่น โรคซาร์ส ในปี 2546 การฟื้นตัวของการเดินทางในแต่ละภาคธุรกิจนั้นแตกต่างกันออกไปหลังจากที่มีการประกาศยกเลิกข้อยกเว้นต่าง ๆ ทั้งนี้ ความแตกต่างดังกล่าวขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเดินทางด้วยเช่นกัน ซึ่ง นักเดินทางเพื่อธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่กลับมาเดินทางอีกครั้งหลังจากที่มีการยกเลิกการระงับการเดินทาง ในทางกลับกันนักเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนจะตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลมากกว่า โดยระยะเวลาการฟื้นตัวของกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับมุมมองและความเชื่อมั่นของนักเดินทางแต่ละราย อย่างไรก็ตามในรายงานอีกฉบับโดย Elsevier ที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส เปิดเผยว่า นักท่องเที่ยวจากฮ่องกงและสหรัฐอเมริกาที่เดินทางไปไต้หวันนั้นฟื้นตัวเกือบทันที ในขณะที่ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปีเศษ สำหรับการฟื้นตัวด้านจำนวนนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เดินทางเข้าไต้หวันให้กลับไปอยู่ในระดับที่เทียบเท่ากับช่วงก่อนการเกิดโรคระบาด หลังจากที่ไต้หวันประกาศยกเลิกการเฝ้าระวังโรคซาร์สแล้ว มุ่งตลาดที่หลากหลาย ส่วนผู้เชี่ยวชาญได้ระบุไว้ ว่า การพึ่งพาการตลาดจากแหล่งเดียวมากเกินไปเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการชะลอตัว เป็นอย่างมากของการท่องเที่ยวในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนั้นผู้ประกอบการที่พักสามารถมองหาตลาดอื่นเพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อชดเชยการลดลงจากการพึ่งตลาดหรือภูมิภาคเพียงแห่งเดียว สำหรับ ประเทศไทย คือ ศูนย์รวมนักเดินทางจากหลากหลายทวีป จากข้อมูลเรื่องความต้องการที่เกิดขึ้นจากแบรนด์การท่องเที่ยวในเครือของเอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป พบว่า นักเดินทางจากสหรัฐอเมริกาคือกลุ่มนักเดินทางขาเข้าที่ใหญ่เป็นอันดับแรก ด้วยอัตราการเติบโต 15% ต่อปี นอกจากนี้ตลาดอื่น ๆ ที่สร้างรายได้ให้ด้านการท่องเที่ยวแก่ประเทศไทย นอกเหนือจากตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังมีแนวโน้มที่ดี โดยเติบโตขึ้นในอัตราตัวเลขสองหลัก อาทิ เดนมาร์ก 18 %ต่อปี สวีเดน 17%ต่อปี ฝรั่งเศส + 15% ต่อปี) และแคนาดา 11%ต่อปี เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการที่พักในประเทศไทยสามารถใช้การวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวไปอ้างอิงประกอบการวางแผนกลยุทธ์การสร้างความหลากหลายทางธุรกิจในระยะยาวได้ นอกจากนี้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับฤดูกาลและพฤติกรรมของนักเดินทางเหล่านี้ยังสามารถช่วยให้ที่พักนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงกับความต้องการของตลาด ยกระดับความรู้ดิจิทัล อีกทั้งเพื่อให้เข้ากับแผนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ 4.0 ของประเทศไทย ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในประเทศสามารถใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล เพื่อให้พร้อมนำไปใช้เมื่อเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของตลาด ทั้งนี้พาร์ทเนอร์ของเอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป สามารถเข้าถึงเครื่องมือต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้เข้าพัก เป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพที่ช่วยให้พาร์ทเนอร์สามารถทำความเข้าใจนักเดินทางจากตลาดที่แตกต่างกันแบบองค์รวมได้ พาร์ทเนอร์สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อดูรูปแบบการจองและทราบความต้องการของนักเดินทาง ทั้งเรื่องความต้องการด้านที่พักและข้อเสนอต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถจัดสรรข้อเสนอโดยใช้เครื่องมือทางการตลาด เพื่อเจาะกลุ่มนักเดินทางอันจะช่วยสร้างรายได้จากห้องพักให้มากขึ้นได้ รวมถึงปัจจุบันมีที่พักทั่วโลกจำนวนน้อยกว่า 15% ใช้โซลูชั่นการจัดการรายรับ ในการปลดล็อคโอกาสการเติบโตทางรายรับ Rev+ คือเครื่องมือการจัดการรายรับแบบให้ฟรี และใช้งานง่าย ซึ่งมีให้สำหรับพาร์ทเนอร์ของเอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้านความต้องการและข้อมูลด้านราคาแบบเรียลไทม์ได้ในที่เดียว ช่วยให้ตัดสินใจเกี่ยวกับธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด และวางแผนกลยุทธ์การเติบโตในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย นายแอนดรูส์ กล่าวว่า ช่วงการชะลอตัวของการเดินทาง ผู้ประกอบการที่พักสามารถส่งเสริมและฝึกอบรมพนักงานในหลาย ๆ ด้านที่สำคัญ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการรายรับ และการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี ซึ่งทีมงานของเอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป จะลงพื้นที่ฝึกอบรมพาร์ทเนอร์อย่างแข็งขัน เพื่อช่วยพัฒนาและยกระดับทักษะดังกล่าวสร้างความแตกต่าง และสร้างให้ที่พักโดดเด่นเหนือคู่แข่งได้ เมื่อการเดินทางกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง ซึ่งในขณะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวพยายามดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์โควิด-19 สิ่งที่ดีที่สุดเวลานี้ คือ ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบทั้งอีโคซีสเต็ม กระตุ้นให้มีการเดินทางต่อไปในโลกนั้นเอง