วันที่ 11 มี.ค.ที่ บก.ตม.ทอ.สุวรรณภูมิ พ.ต.อ.เชิงรณ ริมผดี รอง ผบก.ตม.2 ในฐานะโฆษก สตม เปิดเผยว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตม.ตำแหน่ง ผบ.หมู่ ฝ่าย ตม.ขาเข้า ด่าน ตม.ทอ.สุวรรณภูมิ โดยสาเหตุของการพบอาการป่วย เนื่องจาก บก.ตม.2 มีมาตรการให้ จนท.ตม.ทุกนายตรวจวัดไข้ ก่อน และ หลังปฏิบัติหน้าที่ โดยเมื่อวันที่ 7 มี.ค.63 เวลา 15.00 น. จนท.ดังกล่าว ได้รับการตรวจก่อนอออกเวร พบว่ามีอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว และพบไข้ขึ้นสูงเกิน 37.5 จึงได้ดำเนินการตามมาตรการนำส่ง รพ.ลาดกระบัง เพื่อตรวจอาการ ซึ่งแพทย์เห็นว่ามีแนวโน้มเสี่ยง จึงนำส่ง รพ.กลาง เพื่อเข้าสู่กระบวนการสอบสวนอาการ PUI โดยละเอียด ซึ่งต่อมาวันที่ 9 มี.ค 63 ผลแลปพบว่าเป็นบวก ซึ่งอาการขณะนี้ มีเพียงไข้แต่ไม่มีอาการติดเชื้อที่ปอดแต่อย่างใด เนื่องจากถึงมือแพทย์โดยเร็วทันทีที่สงสัยพบอาการ นอกจากนั้น ได้ติดตามตรวจสอบผู้ร่วมพักอาศัย พบว่า จนท พักกับรูมเมท ซึ่งตรวจแล้ว ไม่พบว่ามีอาการติดเชื้อแต่อย่างใด นอกจากนี้ ในส่วนของ จนท.ซึ่งปฏิบัติงานในเคาท์เตอร์เดียวกัน ก็ได้มีการดำเนินการตามมาตรการของ บก.ตม.2 โดยนำตัวเข้ารับการตรวจกับแพทย์ ซึ่งผลพบว่าไม่มีอาการติดเชื้อแต่อย่างใด แต่ก็ให้ทำการเก็บตัวที่บ้าน 14 วัน การดำเนินการตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 ทาง พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม. และ พล.ต.ต.วีรพล เจริญศิริ ผบก.ตม.2 ได้มีการกำหนดมาตรการมาตั้งแต่ ต้น ม.ค.2560 ทั้งการให้ใช้หน้ากากอนามัย ถุงมือ เพื่อป้องกันการสัมผัส รวมถึงการเช็ดน้ำยาฆ่าเชื้อที่อุปกรณ์ เครื่องมือ ช่องตรวจ ทุก 10 นาที รวมถึงการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนและหลังทำงาน และหากพบว่ามีอาการผิดปกติก็ให้รีบนำส่งแพทย์ ซึ่ง จนท.รายดังกล่าว ก็เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด จะเห็นได้ว่า มาตรการดังกล่าว ช่วยลดความเสี่ยงแก่ตัว จนท.ตม.ผู้ปฏิบัติ ซึ่งต้องรองรับการตรวจผู้โดยสารจากทั่วโลกกว่าวันละ 60,000 คน ตลอดช่วง 2 เดือนเศษที่ผ่านมา โดยหากไม่มีมาตรการดังกล่าว อาจเกิดความเสียหายรุนแรงขึ้นได้