ผู้ตรวจราชการฯ ลงพื้นที่พบปะลูกหลานเกษตรกรเตรียมความพร้อม ตามโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร นายพีรพนธ์ กิจโกศล ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 13,14 ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและพบปะลูกหลานเกษตร ที่สมัครเข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร ปี 2563 โดยมีนายวิรัตน์ ภานนท์ สหกรณ์จังหวัดยโสธร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรมหาชนะชัย จำกัด นำลงพื้นที่เพื่อพบกับสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ โดยโครงการดังกล่าว ในส่วนของจังหวัดยโสธร ได้มีสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 9 แห่ง และมีลูกหลานเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 89 ราย อำเภอมหาชนะชัย มีสหกรณ์ที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ คือสหกรณ์การเกษตรมหาชนะชัย จำกัด และจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นมีสมาชิกลูกหลานเกษตรกรที่สมัคร จำนวน 14 ราย โดยในจำนวนนั้นมีลูกหลานเกษตรและเป็นลูกหลานของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรมหาชนะชัย จำกัด คือนายสมบูรณ์ เกตุกัน อายุ 35 ปี และมีคุณพ่อเป็นสมาชิกสหกรณ์ ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์อีกด้วย นายสมบูรณ์ เกตุกัน อายุ 35 ปี บ้านเลขที่ 85 ม 4 บ้านยางกลาง ต โนนทราย อ มหาชนะชัย จ ยโสธร จบการศึกษาสูงสุด ระดับปริญญาตรี คณะวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรอิเล็กทรอนิค ก่อนทำการเกษตรทำงานโรงงานสายการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นหัวหน้าทีมเเละเป็นวิศวกรผู้ออกแบบเเละคิดค้นระบบไฟฟ้า Euc และเรือนไมค์ของรถยนต์ isuzu blue power 1.9 ร่วมกับวิศวกรชาวญี่ปุ่น เป็นเวลา 11 ปี เเละทำธุรกิจส่วนตัวคือออกแบบวงจรเครื่องขยายเสียงขายในนาม X-TECH ที่มาที่ไปก่อนกลับมาทำการเกษตร ได้มีโอกาสไปเรียนรู้เเละทำงานที่เมือง ชิสึโอกะประเทศญี่ปุ่น 2 ปี จนได้ไปพบกับชาวสวนญี่ปุ่นคนนึ่งซึ่งทำไร่ชาอยู่หลังโรงงานและได้มีโอกาสได้พูดคุยกันในช่วงหลังเลิกงานเเทบจะทุกวัน จนทราบว่าที่ประเทศญี่ปุ่นในภาคการเกษตรของเค้าเป็นเกษตรอินทรีย์ 90% และที่สำคัญคนที่สอนเรื่องเก็บอินทรีย์ให้แก่ชาวญี่ปุ่นในช่วงเเรกเริ่มคือ ในหลวง ร.9 ของเรา ตนเริ่มตั้งคำถามให้ตัวเองถึงสิ่งที่ทำอยู่ในตำแหน่งหน้าที่หัวหน้าวิศวกร และเริ่มตั้งคำถามเเละคันหาคำตอบในคำถามว่าจะเดินทางชีวิตแบบไหนต่อ ปี 2559 ตนกลับมาเมืองไทยพร้อมข่าวร้ายสุดของคนไทยทั้งประเทศ ในหลวง ร.9 ท่านจากเราไปแล้ว ท่านทิ้งไว้เเค่คำสอนเเละสิ่งที่ท่านทำไว้นั้นคืองานเกษตร ในหลวงไห้ความสำคัญในเรื่องดินเเละน้ำ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำเกษตร จึงเริ่มศึกษาเรื่องเกษตรแบบจริงจัง โดยการดูพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน ดูในสิ่งที่ท่านสอน เเละที่ท่านทำไห้เห็นว่า มันเป็นจริง เรียนเรื่องการทำเกษตรที่ศูนย์เกษตรนวนคร ยิ่งทำไห้ความอยากทำนั้นทวีมากขึ้น โดยขอพ่อเเละเเม่ว่าจะออกจากงานกลับมาทำนาที่บ้าน ประกอบกับตนมีความตั้งใจเเต่เเรกเลย คืออยากกลับมาในวันที่พ่อ เเม่ ทุกคนยังอยู่สบายดี อยากกลับมาดูเเลท่านจนถึงวันสุดท้าย และเมื่อได้รับโอกาสนั้น จึงหันหลังให้เมืองหลวง ทิ้งทุกอย่างที่เคยเป็น ทิ้งความเป็นหัวหน้า ทิ้งความเป็นลูกน้อง ทิ้งเงินเดือน มาเป็นตัวของตัวเอง โดยหันมาทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสานภายใต้เเนวความคิด “กิน แจก แลก ขาย” บนเนื้อที่ 12 ไร่ เเบ่งเป็นบ่อปลา 6 ไร่ พื้นที่เพราะปลูก 2 ไร่ ปศุสัตว์ 0.5 ไร่ ที่อยู่อาศัย 0.5 ไร่ และที่นาอีก 3 ไร่ โดยพื้นที่ขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล Eu ของ แคนนาดาและ NoB japan ของญี่ปุ่น ผู้ตรวจรับรองมาตรฐานคือ มกท เเละเซเรส ตำแหน่งในปัจจุบัน ประธานกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์บากเรือ เกษตรกรต้นเเบบรุ่นสอง ของกลุ่มบากเรือ Smart farmers วิทยากรเเละเจ้าของโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรด้านเกษตรอินทรีย์ผสมผสานเเละประมง (ศพก.) “สวนแทนคุณ”