ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบัน สถานการณ์การระบาด COVID-19 ยังคงขยายขอบเขตไปในประเทศต่างๆ และเริ่มมีประเทศที่กําลังจะเป็น แหล่งการแพร่ระบาดขนาดใหญ่เดินตามประเทศจีน แต่โลกยังขาดความรู้ความเข้าใจต่อเชื้อตัวนี้อยู่มาก ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ จึงต่างเร่งศึกษาวิจัยในทางคู่ขนานเนื่องจากเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้มีทั้งที่มีการระบาดแล้วและรอฉวยโอกาสในอนาคต ซึ่งอาจกลายพันธุ์จนมีความรุนแรงมากขึ้น รายงานการศึกษาสําคัญแรกที่ทําให้โลกเริ่มเข้าใจ COVID-19 จากประเทศจีน คือรายงานข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลระบาดวิทยาของผู้ติดเชื้อและมีอาการจํานวน 425 คนจากอู่ฮั่น จังหวัดหูเป่ย จนถึงปัจจุบัน สถานการณ์ การระบาดในประเทศจีนเริ่มควบคุมได้ แต่การระบาดในประเทศต่างๆ ดูเหมือนเพิ่งจะเริ่มต้น และบางประเทศมีแนวโน้มน่าเป็นห่วงว่าจะมีการระบาดที่ไม่ต่างจากประเทศจีน ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น มาตรการควบคุมก็ อาจไม่ได้ผลและต้องการการตอบสนองที่เข้มงวดขึ้น ทั้งนี้เมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้เชิญผู้เชี่ยวชาญไปช่วยกําหนดโจทย์และนวัตกรรมที่จะเป็นแผนที่นำทางการวิจัย หรือ Research Map ของ COVID 2019 และจัดทําเป็นรายงานชื่อ COVID 2019 Public Health Emergency of International Concern (PHEIC), Global Research and Innovation forum: towards a research roadmap สำหรับในประเทศไทย มีการจัดตั้งกลไกการประสานงานการวิจัย COVID-19 มีกรมควบคุมโรคเป็นฝ่ายเลขากลไกประสานงาน ประกอบด้วยองค์กรต่างๆ ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ สํานักงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (สวทช.) นักวิจัยที่มีประสบการณ์สูงด้านการ วิจัยโรคติดเชื้อ และด้านการสาธารณสุขจากสถาบันการศึกษา สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย องค์กร เอกชน และองค์กรสนับสนุนการวิจัยได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยกลไกการประสานนี้มีการประชุมทุก 2 อาทิตย์ มีการกําหนดโจทย์วิจัยเร่งด่วนที่ต้องการสนับสนุนทุนวิจัย อาทิ การวิจัยทํานายการระบาดในประเทศไทยในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อนํามาใช้วางแผนและเตรียมการ การวิจัยเพื่อการวินิจฉัยให้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพิ่มโอกาสการรักษาแล้วหาย ลดการแพร่ระบาดและการควบคุมได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการะบาด COVID-19 เกิดขึ้นระหว่างปีงบประมาณขององค์กรสนับสนุนทุนวิจัย ทำให้ สวรส. ขาดงบประมาณสนับสนุนทุนวิจัยทางด้านนี้ตั้งแต่ต้น ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเร่งด่วนด้านการวิจัยระบบเพื่อตอบสนองการระบาด COVID-19 ทางกสว จึงได้อนุมัติงบประมาณวิจัยดังกล่าวเพิ่มเติม โดย สกสว. เชื่อมั่นในการทำงานของ สวรส. และหน่วยงานในกลไกการประสานงานการวิจัย COVID-19 ว่าจะสนับสนุนและออกแบบการทำงานได้อย่างมีศักยภาพ ภายใต้งบประมาณ 20 ล้านบาท โดยมีกรอบการวิจัยที่มีการออกแบบไว้ให้สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลกระบุ คือ 1.วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและระบบเพื่อการวินิจฉัยในระดับชุมชน/ระบบ สาธารณสุข สัดส่วนงบวิจัย 27 % ,2.วิจัยเพื่อพัฒนาขั้นตอนการรักษาตามระยะของโรคให้มีประสิทธิผล สัดส่วนงบวิจัย 5% ,3.วิจัยเพื่อพัฒนาอุปกรณ์ มาตรการ สิ่งแวดล้อมที่ป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชน และในหน่วยบริการสุขภาพ สัดส่วนงบวิจัย 18% ,4.วิจัยพัฒนายา วิธีการรักษา และการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันสัดส่วนงบวิจัย 42% ,5.การวิจัยด้านสังคมศาสตร์เพื่อการตอบสนองต่อการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ สัดส่วนงบวิจัย 8% และ6.การพัฒนาระบบกลไกสนับสนุนการวิจัยในระยะยาวสัดส่วนงบวิจัย 2%