“สรท.”ชี้ปัญหาโควิด-19 ฉุดส่งออกไทยครึ่งปีแรกสาหัสคาดติดลบ 3.3% แต่ครึ่งปีหลังความต้องการของสินค้าสูงขึ้น มั่นใจส่งออกไทยฟื้น ชงแนวทางภาครัฐช่วยด่วน ทั้งปล่อยสินเชื่อเพิ่มสภาพคล่อง ดอกเบี้ยต่ำ หยุดพักชําระหนี้ธนาคารและค่าธรรมเนียม 12 เดือน พณ.เพิ่มความถี่กิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พร้อมเร่งเจรจาเขตการค้าเสรีเอฟทีเอ หาตลาดใหม่รองรับ น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)เปิดเผยว่า สรท.ได้มีการประเมินผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 จะเห็นผลชัดเจนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป ถือว่ากระทบและแพ่รกระจายไปทั่วโลก ดังนั้น คงต้องติดตามหากยืดเยื้อยาวนาน อย่างไรก็ตามแม้ปัญหาไวรัสโควิด-19 จะจบเร็วหรือไม่ แต่ในส่วนของภาคการส่งออก การบริโภคภายในประเทศ การลงทุนของภาครัฐและเอกชนยังคงจำเป็นจะต้องเข้ามาชดเชยผลกระทบด้านการท่องเที่ยวคาดว่าปีนี้จะชะลอตัวลงอย่างมาก โดย สรท.มองว่าหากปัญหาไวรัสโควิด-19 กลับมาเป็นปกติสามารถส่งออกไปตลาดจีนและอีกหลายประเทศได้น่าจะทำให้ภาคการส่งออกไทยฟื้นตัว แต่มองว่าการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 0-1.5 บนสมมติฐานค่าเงินบาท 30.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ตัวเลขการส่งออกเดือนม.ค.63 กลับมาเป็นบวกร้อยละ 3.3 แต่หากหักน้ำมันและทองคำส่งออกไทยยังคงติดลบร้อยละ 0.65 ทั้งนี้ต้องติดตามผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ที่จะเห็นผลกระทบต่อการส่งออกไปทั่วโลกเดือนกุ.พ.63 เป็นต้นไป และมองว่าไตรมาสแรกคงติดลบร้อยละ 3.6 ไตรมาส 2 ติดลบร้อยละ 2.91 และครึ่งปีแรก 2563 ส่งออกจะติดลบร้อยละ 3.3 เป็นต้น สรท.ยังคงเป้าการส่งออกของไทยปี2563 ที่ 0-1% โดยคาดว่า เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ความต้องการสินค้าจะเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสต๊อกสินค้าที่ใช้หมดในช่วงของการระบาดของโควิด-19 สำหรับ สรท.มีข้อเสนอแนะต่อมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้านต้นทุนการเงิน สถาบันการเงินและกระทรวงการคลังเน้นการปล่อยสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการในดําเนินธุรกิจ อาทิ การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะ 6 เดือน และการขยายระยะเวลาการชําระคืนสินเชื่อเพื่อการส่งออก ระยะเวลา 12 เดือน การหยุดพักชําระหนี้ธนาคารและค่าธรรมเนียมต่างๆเป็นระยะเวลา 12 เดือน การยกเว้นภาษีสรรพสามิตและภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 3 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่พึงพาตลาดจีนเป็นหลัก การชะลอเรียกเก็บภาษีใหม่ที่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจในช่วงสถานการณ์ดังกล่าวอาทิ ภาษีความหวาน ความเค็ม เป็นต้น ส่วนด้านการตลาดและโลจิสติกส์ กระทรวงพาณิชย์ควรจัดให้มีทีม Social Media หรือ Call Center เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสอบถามและรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถสอบถามข้อมูลสําหรับประกอบการวางแผนดําเนินธุรกิจและควรเป็นสื่อกลางแจ้งข้อมูลข่าวสารล่าสุด เพื่อประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศจีนรายมณฑล จุดขนส่งสินค้าต่างๆที่สามารถดําเนินการได้ เพิ่มความถี่การจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Thailand Exhibition)และควรประสานขอความร่วมมือกับรัฐบาลจีนทั้งส่วนกลางและรายมณฑลในเรื่องผ่อนปรนกฎระเบียบการนําเข้าและส่งออกสินค้า 3.2 ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆอาทิ congestion surcharge และ storage charge ขณะเดียวกันขอให้เร่งเจรจาเขตการค้าเสรี FTA อาทิ Thai-EU, RCEP,Thai–United Kingdom,Thai–Pakistan,Thai–Turkey,Thai–EFTA และ Thai–Sri Lanka เพื่อชดเชยการพึ่งพาตลาดจีนและกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดใหม่เพิ่มมูลค่าการส่งออก และเพื่อไม่ให้ไทยเสียตลาดหลักให้กับคู่แข่งที่ได้มีการทํา FTA ไปกับกลุ่มประเทศดังกล่าวก่อนหน้า และกํากับดูแลให้เรือขนส่งสินค้าจัดหาตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ส่งออกในอัตราค่าระวางที่เหมาะสม ทั้งนี้การจัดหาบริการขนส่งสินค้าทางอากาศลักษณะเช่าเหมาลํา (Charter Flight-Freighter) เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้า Perishable ซึ่งไม่สามารถขนส่งสินค้าทางทะเล เนื่องจากยังมีปัญหาท่าเรือแออัด เตรียมความพร้อมท่าเรือของไทยสําหรับรองรับความต้องการขนส่งสินค้านําเข้าและส่งออกไปยังประเทศจีน เพื่อป้องกันปัญหาความแออัดของสินค้า เมื่อประเทศจีนสามารถขนส่งสินค้าได้ตามปกติ