ผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยความคืบหน้า โครงการ "เพิ่มทักษะด้านอาชีพ นร.ครอบ ครัวยากจน ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ" หลังลงพื้นที่นครราช สีมา นำเด็กนักเรียนกว่า 500 ชีวิต ร่วมกิจกรรมเปิดบ้านสาธิตงานอาชีพ แนะ แนวเลือกหลักสูตรคาดเปิดอบรมเมษา 63 วันนี้ (26 ก.พ. 63) ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา เปิดโครงการ “เปิดบ้านสาธิตงานอาชีพ เนื่องในโอกาสครบรอบ 27 ปี การก่อตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา ภายใต้โครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนของจังหวัดนครราช สีมา ที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563” โดยมี นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานเปิดโครงการฯ นายสุทธิพงษ์ โกศลวิริยะกิจ ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายกีรป กฤตธีรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายชวลิต ธูปตาก้อง ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าที่ร้อยตรีสมศักด์ พรหมดำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา นายกฤตพล ชุติกุลกีรติ ศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา นายทิฆัมพร ยะลา ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบหน้าที่ของรัฐ นางสาวสิริรัตน์ เมืองสมุทร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมแนะแนวและแนะนำหลักสูตร แก่กลุ่มนักเรียนครอบครัวยากจนจังหวัดนครราชสีมา นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ปีนี้มีนักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 28,221 คน เรียนต่อในระบบโรงเรียน จำนวน 27,468 คน ไม่ได้เรียนต่อในระบบโรงเรียน จำนวน 753 คน มีนักเรียนตอบรับเข้าร่วมโครงการฝึกทักษะอาชีพ จำนวน 392 คน ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเตรียมไว้เข้าโครงการ ถึง 372 คน ถือว่าโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ ที่มีนักเรียนจำนวนมากตอบรับเข้าฝึกอาชีพก่อนก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อพัฒนาทักษะและฝีมือตนเอง เพื่อสร้างอาชีพเลี้ยงครอบ ครัวและสร้างรายได้ให้มากกว่าอัตราแรงงานขั้นต่ำ เบื้องต้นสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นครราชสีมา ได้จัดกิจกรรม “เปิดบ้านสาธิตงานอาชีพ เนื่องในโอกาสครบรอบ 27 ปี การก่อตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรง งาน 5 นครราชสีมา” เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าศึกษาดูงาน ดูความพร้อมของสถานที่ฝึก เครื่องมือและเครื่องจักรในแต่ละสาขา มีการแนะแนวและแนะนำ เกี่ยวกับความต้องการของตลาดแรงงานในแต่ละสาขา จำนวนรายได้และความก้าวหน้าในอาชีพ คาดว่าเริ่มเปิดฝึกอบรมในช่วงเดือนเมษายน 2563 ใช้ระยะเวลาการฝึกตามหลักสูตร 2-4 เดือน ฝึกประ สบการณ์ในสถานประกอบกิจการอีก 1-2 เดือน ซึ่งนักเรียนได้แจ้งความประสงค์เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรช่างเย็บจักรอุตสาหกรรม 29 คน หลักสูตรช่างเดินสายไฟฟ้าภายในอาคาร 42 คน หลักสูตรช่างซ่อมเครื่องยนต์ 41 คน หลักสูตรช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ 79 คน หลักสูตรช่างสีรถยนต์ 23 คน หลักสูตรช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ 25 คน และหลักสูตรช่างเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก จำนวน 15 คน นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่าเพื่อให้โครง การดังกล่าวมีความยั่งยืน จึงมีแนวทางการจัดตั้งงบประมาณในการฝึกอบรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และปีงบประ มาณต่อ ๆ ไป โดยขอให้สำนักงบประ มาณสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินโครงการฝึกอบรมแรงงานกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และในกรณีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานหรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดร้องขอและเสนอโครงการไปยังสำนักงานจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาสนับ สนุนงบพัฒนาจังหวัด รวมถึงเงินอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย “โครงการนี้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างชีวิตสร้างอนาคตแทนที่จะส่งบุตรหลานของท่านไปทำงานทันทีที่จบการศึกษา ขอเวลาให้กับลูกหลานของท่านหน่อยสัก 3-6 เดือน ได้ฝึกอาชีพที่สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งมีทุกจังหวัดแล้วคุณภาพชีวิตของบุตรหลานท่านจะเปลี่ยนไป” นายสมศักดิ์ กล่าว นิราช ทิพย์ศรี/นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน 0909535645