เปิดปฏิบัติการคุมประชากรลิงแสมชุมชนวัดเขาลำปะ นครศรีธรรมราช หลังจ่าฝูงยกพลบุกหมู่บ้าน-โรงเรียน-วัด-สวนผลไม้สร้างความเดือดร้อนต่อเนื่อง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ระดมเจ้าหน้าที่อุทยาน-สัตวแพทย์ ปฏิบัติการควบคุมประชากรลิงหลังถูกร้องเรียนฝูงลิง สร้างความเดือดร้อนและสร้างอันตรายให้กับเด็กและชุมชนพบเด็กนักเรียนถูกลิงโจมตีได้รับบาดเจ็บ ที่บริเวณวัดเขาลำปะ หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช นายสุวัฒน์ สุขศิริ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทุ่งทะเล จังหวัดกระบี่ ในฐานะหัวหน้าชุดเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาสัตว์ป่ารบกวนนอกพื้นที่อนุรักษ์ภาคใต้ ได้นำเจ้าหน้าที่เข้าทำการวางกับดักลิงแสม ซึ่งเป็นลิงป่าบริเวณภูเขาลำปะ ซึ่งมีชุมชนหนาแน่นโดยรอบวัดเขาลำปะ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี ช่วยเจ้าหน้าที่ทำการวางกับดัก เพื่อจับลิงแสมจำนวนมาก เข้าโครงการควบคุมประชากรลิงแสมไม่ให้ขยายพันธ์สร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน นายสุวัฒน์ สุขศิริ หัวหน้าชุดเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาสัตว์ป่ารบกวนนอกพื้นที่อนุรักษ์ภาคใต้ ระบุว่ากรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช ได้รับข้อร้องเรียนจากชาวบ้านในตำบลเขาพระทอง ถึงความเดือดร้อนจากสัตว์ป่าโดยเฉพาะฝูงลิงแสมฝูงนี้มีอยู่ด้วยกันประมาณกว่า 100 ตัว เจ้าหน้าที่จึงดำเนินการด้วยวิธีการควบคุมการขยายพันธ์เพิ่มจำนวนด้วยการทำหมันทั้งตัวผู้และตัวเมีย เครื่องหมาย กตัวเลขบนผิวหนัง้เพื่อทำทะเบียนประวัติ แล้วปล่อยคืนพื้นที่ โดยได้หารือกับชาวบ้านในพื้นที่รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดจุดให้อาหารลิงที่ชัดเจนเพื่อสร้างความคุ้นเคยไม่ให้ลิงออกไปรบกวนพื้นที่ชาวบ้านและโรงเรียน ชาวบ้านในพื้นที่ระบุว่าฝูงลิงจำนวนมากเข้าทำลายพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะฤดูไม้ผลลิงจะเข้าเก็บผลไม้ก่อนที่เจ้าของจะเข้าไปเก็บเกี่ยวสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว นอกจากนั้นบ้านเรือนใกล้เคียงกับเขาลำปะลิงจะยกฝูงตระเวนเข้ารื้อบ้านเรือนทำลายข้าวของเพื่อค้นหาอาหาร ที่สำคัญได้เข้าไปในโรงเรียนทำร้ายเด็กและเข้าไปในโรงครัวทำลายข้าวของเกรงว่าอันตรายจากความดุร้ายของลิงจะเพิ่มมากขึ้นกับเด็กเล็กจำนวนมากที่เรียนอยู่ในโรงเรียนติดกับภูเขา อย่างไรก็ตามนอกจากการทำหมันให้กับประชากรลิงเพื่อควบคุมการขยายพันธ์แล้วนั้นสัตวแพทย์ได้สุ่มเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปเข้าห้องปฏิบัติการตรวจสอบเชื้อโรคที่อยู่ในตัวลิง รวมทั้งเป็นการเฝ้าระวังป้องกันโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างสัตว์สู่สัตว์ หรือสัตว์สู่คน จากสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่อาจส่งผลก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่.//////