นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ( กสทช.) เปิดเผยภายประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700, 2600 MHz และ 26 GHz เพื่อรองรับ 5G ว่า โอเปอเรเตอร์ 5 ราย ได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) บริษัท ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี), บริษัท ดีแทคไตรเน็ต จำกัด (ดีทีเอ็น) ในเครือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)หรือดีแทค บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมประมูลพร้อมเพียงกัน ซึ่งผลสรุปของการจัดประมูลคลื่นต่าง ๆ เป็นดังนี้ "คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์" ผู้ได้รับคลื่น ได้แก่ กสท. จำนวน 2 ชุดคลื่นความถี่ ย่าน738-748 MHz /793-803 MHz วงเงิน 34,306 ล้านบาท และเอไอเอส จำนวน 1 ชุดคลื่นความถี่ ย่าน 733-738 MHz /788 – 793 MHz วงเงิน 17,153 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 51,459 ล้านบาท "คลื่น 2600 MHz" ผู้ที่ได้รับคลื่นได้แก่ เอไอเอส จำนวน 10 ชุดคลื่นความถี่ ย่าน 2500-2600 MHz วงเงิน 19,561 ล้านบาท และทรูทูฟ จำนวน 9 ชุดคลื่นความถี่ ย่าน2600 – 2690 MHz วงเงิน 17,872,888,888 บาท รวมเป็นเงิน 37,433,888,888 บาท และ"คลื่น 26 GHz" ผู้ที่ได้รับคลื่นได้แก่ เอไอเอส จำนวน 12 ชุดคลื่นความถี่ ย่าน 25.2 – 26.4 GHz วงเงิน 5,345 ล้านบาท ,ทรูมูฟ จำนวน 8 ชุดคลื่นความถี่ ย่าน 24.3 – 25.1 GHz วงเงิน 3,576,888,888 บาท ,ทีโอที จำนวน 4 ชุดคลื่นความถี่ ย่าน 26.4 – 26.8 GHz วงเงิน 1,795 ล้านบาท และดีแทค จำนวน 8 ชุดคลื่นความถี่ ย่าน 26.8 – 27.0 GHz วงเงิน 910,400,001บาท ทั้งนี้เมื่อรวม 3 คลื่นความถี่ที่กสทช. เปิดประมูล 49 ใบอนุญาต ขายออกทั้งสิ้น 48 ใบอนุญาต รวมเป็นเงิน 11,627,288,889 บาท สำหรับขั้นตอนไปสำนักงานกสทช.จะมีการประชุมร่วมกันเพื่อตรวจสอบและรับรองผลการประมูลวันที่ 19 ก.พ.2563 พร้อมชำระเงินงวดแรกทันที "กสทช.คาดการณ์ขั้นต่ำว่าจะมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี2563 ประมาณ 177,039 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1.02% ของ GDP ในปี 2563 สำหรับในปี 2564 คาดว่าจะมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจขั้นต่ำประมาณ 332,619 ล้านบาท และในปี 2565 จะมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประมาณ 476,062 ล้านบาท" ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณณกัณต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า การประมูลครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จที่รัฐวิสาหกิจทั้งกสท และทีโอที ที่สามารถประมูลคลื่นความถี่มาได้ เพื่อที่จะได้ดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคต เนื่องจากเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ถ้ายังย้ำอยู่กับที่ในอนาคตก็จะไม่สามารถหารายได้มาเลี้ยงองค์กรได้