ดร.บุญลือ ประเสริฐโสภา ประธานคณะกรรมาธิการกีฬาสภาผู้แทนราษฎรบรรลุความสำเร็จอย่างงดงาม ตามเจตนารมณ์นาในการสร้างความเป็นหนึ่งเดี่ยว โดยสามารถดึง "ชาติซ้าย" จับกับ "ศักดิ์ชาย" ทำ MOU ร่วมกันผลักดันมวยไทยสู่ประชาคมโลกและโอลิมปิก ขณะเดียวกัน กกท. ก็เห็นด้วยที่จะปรับปรุงแก้ไข แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนมวยไทยสู่โอลิมปิกเกมส์ 2024 โดยให้นายกสมาคมกีฬามวยอาชีพเข้าไปมีบทบาท ในฐานะกรรมการส่งเสริมแผนงานด้วย ส่วนประเด็นเกี่ยวกับข้อบังคับของ สหพันธ์มวยไทยนานาชาติ (IFMA) ที่ถูกมองว่าเป็นการายึดครองมวยไปเป็นของตัวเองนั้น ประธานกมท.กีฬาชี้ว่า ไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของมวยไทยได้ เพราะประเทศไทย โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมของชาติไว้แล้ว ในการประชุมคณะกรรมาธิการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร โดย ดร.บุญลือ ประเสริฐโสภา เป็นประธาน เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ผู้เกี่ยวข้องกับกีฬามวยไทยทุกองค์กร และทุกฝ่าย ได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมหน้า ในโอกาสนี้ ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ได้ชี้แจงถึงกรณีที่ IFMA มีจดหมายถึงประเทศสมาชิกหลายประเทศ เพื่อให้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับกรณีที่มีคณะบุคคลในประเทศนั้น พยายามดำเนินการจัดตั้งสมาคมหรือสหพันธ์มวยไทยแห่งชาติขึ้นมา ซ้ำซ้อนกับองค์กรมวยไทยที่เป็นสมาชิก IFMA ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นและไม่สามารถได้รับการรับรองจาก IFMA หรือ IOC ได้ เพราะหนึ่งประเทศ จะมีเพียงหนึ่งสหพันธ์หรือหนึ่งสมาคมฯ เท่านั้น ที่เป็นสมาชิกของ IFMA ได้ ซึ่งในหนังสือดังกล่าว ได้พูดถึงข้อบังคับ IFMA ที่ IOC จดทะเบียนรับรองแล้วโดยระบุว่ามวยไทยหมายถึง มวยไทยโบราณ มวยทะเลหรือมวย หรือกิจกรรมการแข่งขัน ที่มีลักษณะรูปแบบเหมือนมวยไทย ทั้งนี้ข้อความดังกล่าวถูกองค์กรกีฬามวยไทยและคณะบุคคลในประเทศไทยคัดค้านและโจมตีว่า IFMA มีเป้าหมายที่จะยึดมวยไทยเป็นของตัวเอง ซึ่งดร.ศักดิ์ชาย กล่าวว่า เมื่อตรวจสอบกันอย่างละเอียดแล้ว ทุกถ้อยคำไม่มีประโยคใดที่หมายถึงการยึดคลองมวยไทยแต่อย่างใด ปัญหาที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากความคลาดเคลื่อนในการแปลความหมาย ขณะเดี่ยวกันดร.ก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุน คำชี้แจงของดร.ศักดิ์ชาย โดยแจ้งต่อที่ประชุมว่า ได้ตรวจสอบข้อความภาษาอังกฤษแล้วเป็นไปตามที่ดร.ศักดิ์ชายชี้แจง ส่วน Mr. Stephan Fox เลขาธิการ IFMA ได้ยืนยันเจตนารมณ์ ในการเสนอข้อบังคับเข้าสู่การรับรอง IOC ว่าได้คำนึงถึงความเป้ามาและรากเหง้าของมวยไทยเป็นสำคัญ นอกจากนั้นวัฒนะธรรม ประเพณีเกี่ยวกับมวยไทย ที่กลายเป็นมรดกอันล้ำค่าของมวยไทยในขณะนี้ ก็เป็นสิ่งที่ IFMA จะต้องให้ความเคารพ จึงเสนอให้ IOC รับรองอันจะนำมาซึ่งเกรียติภูมิของประเทศไทยโดยตรง ขณะที่ประเด็นที่สมาคมกีฬามวยอาชีพได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการแต่งตั้งขณะกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนมวยไทยสู่โอลิมปิกส์ 2024 นั้น สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ โดย ดร.ก้องศักดิ์ ชี้แจงต่อที่ประชุมว่ายินดีให้ผู้แทนหรือนายกสามาคมกีฬามวยอาชีพเข้ามาเป็นกรรมการด้วย สำหรับกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ IFMA ว่ามีแผนที่จะยึดมวยไทยเป็นของตัวเองนั้น ดร. บุญลือ ประเสริฐโสภา กล่าวสรุปว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนมวยไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมของชาติไว้ ตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งหมายความว่า ไม่มีใครสามารถมาเป็นเจ้าของมวยไทยได้นอกจากประเทศไทย ดังนั้นสรุปได้ว่าผลการประชุม คือ ทั้งฝ่ายสมาคมกีฬามวยอาชีพ และมวยไทยสมัครเล่น สามารถทำความเข้าใจและเป็นมิตรกันได้ และพร้อมที่จะทำ MOU ร่วมกัน เพื่อผลักดันมวยไทยสู่ประชาคมโลกและโอลิมปิกเกมส์ โดยสาระสำคัญในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ประกอบด้วย 1. เพื่อร่วมมือกันกำหนดนโยบายในการพัฒนาและป้องกันอันตราต่อเด็ก และเยาวชน 2. เพื่อร่วมมือกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการป้องกันเกี่ยวกับ สุขภาพและสวัสดิภาพของนักกีฬามวย โดยการยึดมั่นในการตรวจเลือด และสิ่ง อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสวัสดิภาพ 3. เพื่อร่วมมือกันกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมอาชีพของนักกีฬา มวยไทยในช่วงการชกมวยและภายหลังการเลิกชกมวย 4. เพื่อร่วมมือกันในการให้ความรู้เรื่องการป้องกันการใช้สารต้องห้าม ในช่วงก่อนและขณะการแข่งขัน ที่ดำเนินการภายใต้สหพันธ์กีฬานานาชาติของ กีฬามวยไทยที่เป็นผู้ได้รับอำนาจเต็มจาก WADA 5. เพื่อร่วมมือกันในการป้องกัน ส่งเสริม วัฒนธรรม และประเพณี อันเป็น รากฐานสำคัญของมวยไทยไม่ว่าจะเป็นไปในรูปแบบของการแสดงหรือการ แข่งขัน โดยเฉพาะในเรื่องดนตรี ปี่ มวย และการไหว้ครู 6. ให้ความร่วมมือกับองค์กรกีฬานานาชาติที่ได้รับการรับรองโดย IOC และ OCA เพื่อแสดงให้เกิดความมั่นใจต่อการจัดการแข่งขันมวยไทยในรายการที่ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้การรับรอง 7. เพื่อร่วมมือกันในการส่งเสริมขบวนการป้องกันการใช้สารต้องห้ามใน การจัดการแข่งขันระดับนานาชาติที่จัดขึ้นในประเทศไทย