กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 7 กุมภาพันธ์ 2563 - ตอบรับกับกระแส Safer Internet Day หรือ วันแห่งการใช้งานอินเทอร์เน็ต ที่ปลอดภัยทั่วโลก ที่ตรงกับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งหนึ่งในแพลตฟอร์มมาแรงที่กำลังถูกจับตามองคงหนีไม่พ้น TikTok แพลตฟอร์มสร้างสรรค์วิดีโอสั้นที่มียอดดาวน์โหลดทั่วโลก มากกว่า 1 พันล้านครั้ง และหนึ่งในเหตุผลที่เมื่อพูดถึงการใช้ อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย TikTok คือหนึ่งในตัวอย่างของแพลตฟอร์ม ที่มีความโดดเด่นในเรื่องการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยได้อย่างน่าสนใจ ด้วยเพราะกลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่และเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้สำหรับผู้ใช้ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปี ขึ้นไป จึงทำให้การวางมาตรฐาน เรื่องความปลอดภัยบน TikTok จึงเป็นสิ่งที่หลายคนอยากรู้ พันธกิจสำคัญของ TikTok คือ การสร้างสรรค์แรงบันดาลใจ และมอบความสุขให้กับผู้คน พร้อมการสร้างชุมชนทั่วโลกที่ผู้ใช้สามารถสร้างสรรค์ แบ่งปัน และค้นหาสิ่งใหม่ๆ ที่สนใจรอบตัว ควบคู่ไปกับการดูแลพื้นที่แห่งนี้ให้มีความปลอดภัย โดยพบว่า แพลตฟอร์ม TikTok มีแนวทางการปฏิบัติด้านความปลอดภัยควบคู่กับการกำหนดหลักจรรยาบรรณบนแพลตฟอร์มอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและกฎระเบียบในแต่ละประเทศ ซึ่งแนวทางการยกระดับความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม TikTok ได้ทำอย่างเคร่งครัดผ่าน 4Ps ได้แก่ Policy (นโยบาย), Product (ผลิตภัณฑ์), People (บุคลากร) และ Partners (พันธมิตร) Policy (นโยบาย) ปฏิเสธไม่ได้ว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มีการจัดการแนวทางปฏิบัติ สำหรับชุมชนที่เคร่งครัดและชัดเจน โดยสิ่งที่เป็นหลักเกณฑ์ที่ต้องถือปฏิบัติ คือ เนื้อหาใดๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อการแสวงหาประโยชน์ทางเพศหรือเป็นอันตรายต่อเด็ก จะถือเป็นความผิดร้ายแรง ซึ่งหากพบ จะดำเนินการลบเนื้อหาและยกเลิกบัญชีผู้ใช้ทันที และจะมีการบังคับใช้กฎหมายตามความเหมาะสม เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ผลงานและปลดปล่อยพลังแห่งความสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่บนแพลตฟอร์มนี้ Product (ผลิตภัณฑ์) TikTok ได้สร้างสรรค์ฟังก์ชั่นและฟีเจอร์มากมายบนแพลตฟอร์ม เพื่อให้ผู้ใช้และผู้ปกครองสามารถจัดการกับความเป็นส่วนตัวของบัญชีผู้ใช้ได้ รวมถึงมีการคัดกรองเนื้อหา หรือผู้ใช้รายอื่นที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน People (บุคลากร) TikTok มุ่งเน้นในการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากร และเครื่องมือในการตรวจจับและคัดกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน โดยเมื่อทันทีที่ทีมงานหรือเครื่องมือตรวจเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม จะทำการลบเนื้อหานั้น รวมถึงการพัฒนาวิธีการแจ้งเตือนในกรณีที่พบคำที่ไม่เหมาะสม เพื่อป้องการการเกิด Hate Speech หรือคำพูดที่สร้างความเกลียดชังบนแพลตฟอร์ม Partners (พันธมิตร) TikTok ไม่เพียงแต่ทุ่มเทอย่างหนักเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นบวกสำหรับผู้ใช้ แต่ยังป้องกันการใช้แพลตฟอร์มในทางที่ผิด โดย TikTok ได้มีการร่วมมือกับพันธมิตรและองค์กร ชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ในสหรัฐอเมริกา TikTok ได้จับมือกับสถาบันความปลอดภัยของครอบครัวในโลกออนไลน์ ConnectSafely และมูลนิธิ Watch Internet เป็นต้น เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้ในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นบวก นอกจากนี้ยังพบว่า TikTok ถือเป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่ให้ความสำคัญในการป้องกันการเกิดคำพูดที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ (Online Bullying) โดยผู้ใช้ สามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ลบคอมเมนท์ ที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อกผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อีกทั้งยังสามารถแจ้ง report พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ รวมไปถึงการสร้างความสมดุลย์ในการใช้แพลตฟอร์มผ่านแนวคิด Digital Wellbeing ด้วยการควบคุมระยะเวลาการใช้หน้าจอ โดยได้มีการออกแบบฟังก์ชั่นที่สามารถเข้าไปตั้งค่าระยะเวลาหน้าจอ ที่เหมาะสม และในโอกาสวันแห่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยหรือ Safer Internet Day ในปีนี้ ล่าสุด TikTok ได้เพิ่มฟีเจอร์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรายงาน Hashtag ที่พบว่ามีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้อย่างง่ายดาย โดยการคลิก ไปที่เมนู Hashtag (แฮชแท็ก) -> Arrow (ลูกศร) -> Report (รายงาน) ผู้ใช้สามารถรายงานความไม่เหมาะสมทั้งในส่วนของคอนเทนท์วิดีโอ, คอมเมนท์ใต้วิดีโอ, เสียงหรือเพลงที่ใช้, ชื่อ Hashtag รวมถึงบัญชีผู้ใช้ที่สร้างหรือเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมนั้นอีกด้วย