เฟซบุ๊กแฟนเพจชื่อ ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต โพสต์ข้อความและรูปภาพเมือง อู่ฮั่น ประเทศจีน ในยามบ้านเมืองยังเป็นปกติ ความว่า... วัดกุยหยวน ข้ามไปในเขตฮั่นหยางกันบ้าง มิฉะนั้น ใช่จะวนอยู่แต่ ฮั่นโข่วกับอู่ชาง ดูจะไม่เป็นธรรมนัก คราวนี้พาไปวัดวาอารามกันบ้าง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในประเทศจีน โดยเฉพาะสมัยราชวงศ์ชิน ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองจีน ซึ่งราชวงศ์ชิงยังได้สร้างวัดวาอารามพุทธศาสนานิกายธิเขตที่มีลักษณะพิเศษจำนวนมาก เช่น วัดยงเหอในกรุงปักกิ่งและวัดพุทธศาสนานิกายธิเบตจำนวนหนึ่งในเมือง เฉิงเต๋อ เป็นต้น ความจริงแล้วพระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่จีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นแล้ว สมัยสามก๊ก พระเจ้าโจผี บุตรโจโฉ ตั้งราชวงศ์วุ่น ได้อนุญาตให้ชาววุ่ยก๊ก สามารถประกอบพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงดินแดนชมพูทวีป พระพุทธศาสนาในจีนนั้นมีพัฒนาการปรับตัวผสมผสานเข้ากับความเชื่อทางศาสนาเต๋า และศาสนาขงจื๊อ จนกลายเป็นรูปแบบเฉพาะของพระพุทธศาสนาของจีน ในสมัยราชวงศ์หมิงและสมัยราชวงศ์ชิง วัดกุยหยวนซื่อ จัดอยู่ 1 ใน 8 สถานที่แนะนำของคนอู่ฮั่น เขาบอกว่าวัดนี้ถูกคนพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1658 สมัยจักรพรรดิ์ซุ่นจื้อ (ค.ศ. 1644-1662) จักรพรรดิ์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ชิง เป็นวัดพุทธศาสนานิกายมหายานอันเก่าแก่ สวยงาม ใครๆ ก็ชวนไป วิธีการเดินทางไปสะดวกที่สุดคงไม่พ้นแท็กซี่ อารามแห่งนี้มีอายุราว 300 กว่าปี อีกทั้งยังเป็นอารามเก่าแก่ 1 ใน 4 ของนครอู่ฮั่น ตำนานของวัดกุยหยวน เขาว่ากันว่า เมื่อก่อนเกิดสงคราม และมีคนตายเยอะมากในบริเวณวัดกุยหยวน ที่ซึ่งเคยเป็นสนามรบ เจ้าอาวาส ได้เดินผ่านที่แห่งนี้ เห็นคนตายเยอะมาก จึงช่วยทำพิธี และ มีฮ่องเต้ผู้ซึ่งมีนิ้วขาด ได้เห็นว่า เจ้าอาวาสไป๋กวงมีคาถาอาคม จึงขอให้เจ้าอาวาสช่วยต่อนิ้ว เป็นอันสำเร็จ จึงตอบแทนด้วยการสร้างวัดกุยหยวนแห่งนี้ขึ้นมา ผู้คนมักนิยมมาที่วัดแห่งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเพราะเป็นที่ประดิษฐานของรูปปั้นพระอรหันต์ 500 องค์ซึ่งแต่ละองค์มีความเกี่ยวข้องในเรื่องทำนายโชคชะตา สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การเสี่ยงเซียมซีภายในวิหารพระอรหันต์ 500 องค์ วิธีการเสี่ยงเซียมซีของวัดกุยหยวน บริเวณ วิหารพระอรหันต์ 500 องค์ ของที่นี่ มี 2 แบบ คือการนับพระอรหันต์ตามอายุ ผู้ชายเลี้ยวซ้าย ผู้หญิงเลี้ยวขวา นับพระอรหันต์ตามอายุ เมื่อถึงแล้ว ให้มองด้านบน เป็นกระดานสีน้ำเงิน (มีหมายเลข) และวิธีที่ 2 คือ ชอบพระองค์ไหน ให้นับย้อนกลับตามอายุของเรา จากนั้นก็เอาหมายเลขไปรับคำทำนาย โดยต้องจ่ายตังเป็นเงิน 10 หยวน หรือ ประมาณ 50 บาท ตรงทางออกนั่นเอง วิธีการขอพรภายในวัดกุ้ยหยวน บริเวณกระถางธูป หน้าวิหารกลางใหญ่ เนื่องจากวัดกุยหยวนไม่อนุญาตให้จุดธูปเทียนภายในวัดจึงใช้วิธี ขูดเหรียญ กับกระถางธูป พร้อมๆ กับอธิษฐาน แล้วหากเหรียญติดกระถางธูปก็เชื่อว่าสิ่งที่ขอพรไปนั้นจะเกิดผลดั่งปรารถนา เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ค่าเข้าคนละ 10 หยวน แต่ถ้าเข้าในวันเทศกาลหรือวันหยุดพิเศษของประเทศจีน ค่าเข้าจะแพงกว่าประมาณ 2 เท่าตัว นักเรียนได้ลดครึ่งราคา โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจะไม่อนุญาติให้ถ่ายรูป ถึงแม้ว่าวัดและอาณาบริเวณจะเก่าแก่ก็จริง แต่ข้าง ๆ สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ มีลานจอดรถขนาดลานคนเมืองที่มีเจ้าแม่กวนอิมองค์ขนาดขนาดใหญ่เท่าพระประธานพุทธมณฑลอยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่เรียกนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมวัดแห่งในความเก่าที่มีความใหม่ปะปนกันอยู่ด้วยในความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อู่ฮั่น นอกจาก วัดกุยหยวนซือที่ตั้งอยู่ในเขตฮั่นหยางแล้วยังมี วัดเป่าทงตั้งอยู่ในเขตอู่จางวัดที่เก่าแก่ที่สุดของอู่ฮั่น มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,600 ปี ตั้งอยู่เชิงเขา อาคารต่างๆ ของวัดไล่ระดับขึ้นไปบนยอดเขาที่ไม่สูงนัก แต่ก็เดินเที่ยวสบาย เขตอู่ชางยังมีวัดในลัทธิศาสนาเต๋า อีก เช่น วัดฉางซุนกวน สงสัยอยู่ว่าวัดแห่งนนี้น่าจะสร้างในสมัยซุนกวน ปกครองง่อก๊ก หรือไมก็มีผู้สร้างเพื่อระลึก แต่ผมยังไม่เคยไป อีกอารามคือ วัดจัวเตาฉวนซื่อ ทั้งสองวัดนี้อยู่ในอยู่เขตอู่จาง ทั้งนี้ ยังมีโบสถ์กู่เต๋อซื่อ อยู่ในเขตฮั่นโข่ว เป็นวัดเก่าของเยอรมันสร้างไว้อีกด้วย นี่แหละสีสันเสน่ห์แห่งนครอู่ฮั่น