ในเวลานี้การหามุมมอง และแสวงหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์อย่างยั่งยืน ในการยกระดับ และต่อยอดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่เปิ ดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ใช้ศักยภาพหรือความสามารถด้านแนวคิดสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวเอง เข้าไปมีส่วนร่วมในวิถีทางและประสบการณ์เรียนรู้ จากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่นผสมผสานกับแนวคิด จินตนาการของนักท่องเที่ยว พร้อมปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัว และใช้ความรู้ให้เป็ นประโยชน์เพี่อให้เกิดความชำนาญ เป็นเรื่องที่สำคัญในมิติของการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งในท้องถิ่นของไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน สร้างเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้ นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้กล่าวว่า ทางภาครัฐจึงได้ริเริ่มโครงการเมืองสร้างสรรค์ หรือ ครีเอทีฟ ซิตี้ โดยเป็นโครงการที่ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.ได้ดำเนินงานภายใต้แนวทางการขับเคลื่อนแผนการพัฒนาเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ซึ่งเป็นความร่วมมือจากหลายฝ่าย อาทิ ชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เพื่อสร้างสรรค์ทุนทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีของท้องถิ่น บนฐานอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งในการขยายผลปี 2563 นี้ ทางภาครัฐได้ มอบนโยบายให้ อพท. นำแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ที่มุ่งมั่นดำเนินการส่งเสริม และสนับสนุนการเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนำความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และทรัพยากรของแต่ละท้องถิ่น มาสร้างสรรค์ให้เกิดการพัฒนาและบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานทุกระดับในพื้นที่แต่ละจังหวัด เป้าหมายคือเมืองในพื้นที่พิเศษตามพระราชกฤษฎีกาเดิม ได้แก่ น่าน สุพรรณบุรี เชียงราย และเพชรบุรี เพื่อเตรียมพร้อมสู่การยื่นใบสมัครเสนอขอเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ในปี 2564 และนำประโยชน์จากโมเดลการพัฒนานี้ไปใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาเมืองในพื้นที่พิเศษเพื่อความยั่งยืนต่อไป โดยเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก เป็นอีกหนึ่งโครงการใหญ่ที่ยูเนสโกดำเนินงานควบคู่กับการประกาศแหล่งมรดกทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของโลก โดยเริ่มมาตั้งแต่ ปี 2547 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สู่ความร่วมมือในระดับนานาชาติของภาคประชาคม ประชาชน เอกชน และสาธารณะต่อไป ซึ่งยูเนสโกได้ให้คำจำกัดความว่า ครีเอทีฟ ซิตี้ คือ การร่วมมือระหว่างชุมชนท้องถิ่น และภาครัฐ ในการสร้างสรรค์เมืองผ่านการพัฒนาสภาพแวดล้อม โครงสร้างทางสังคม ระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการนำสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ตลอดจนจารีตประเพณีของท้องถิ่นมาผสมผสานโดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาไปสู่ระดับนานาชาติ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ขณะที่ นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ประธานกรรมการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวในฐานะผู้ริเริ่มการขับเคลื่อนและผลักดันแนวคิดเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดสุโขทัย ว่า ได้วางแนวทางการพัฒนาจังหวัดสุโขทัยภายหลังได้รับการประกาศเข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน จากองค์การยูเนสโก โดย อพท. จะร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัยและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการรวบรวม ฟื้นฟู พัฒนาและต่อยอดงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของจังหวัดสุโขทัย ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นปัจจัยในการขยายโอกาส ทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และการพาณิชย์แก่ผู้ผลิตงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ตลอดจนผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรมในพื้นที่ เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก ซึ่งแนวทางการทำงานดังกล่าวจะส่งผลต่อการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดและภาพรวม และยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านงานศิลปหัตถกรรม และความร่วมมือระหว่างจังหวัดสุโขทัยกับสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกกว่า 246 เมืองจากทั่วโลก จัดประชุมวิชาการนานาชาติ อีกทั้ง ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันเอเชียศึกษา ภายใต้โครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้กำหนดจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ Creative Tourism and Development ภายใต้แนวคิด Creativity & Connectivity & Sustainability in ASEAN ระหว่างวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา เพื่อเป็นเวทีสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีความหลากหลายจากภาคีเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมรวม 220 คน ซึ่งในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้ จะมีการนำเสนอการพัฒนาแนวคิดใหม่ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (ครีเอทีฟ ทัวริสซึ่ม) ผ่านโครงการวิจัย มีการเสนอบทความวิชาการ กรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ มีการจัดแสดงนิทรรศการที่เป็นผลผลิตขั้นต้นของโครงการวิจัย และมีเวทีเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับชุมชนท้องถิ่นในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และผลกระทบต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมถึงสร้างภาคีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศและนานาชาติที่ทำงานพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับและต่อยอดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศ สำหรับการประชุมนานาชาติครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ เป้าหมายหลักคือ ต้องการที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนผ่านกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และมีประสบการณ์ร่วมกับชุมชน เพื่อค้นหาแนวทาง ประสบการณ์ใหม่ ๆ จากนักวิชาการและการพบปะพูดคุยกับชุมชนในพื้นที่เป้าหมายรวมถึงผลงานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมในหัวข้อที่เป็นกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกระดับนานาชาติ