ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (30 ม.ค.63) ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ออกประกาศเรื่อง “มาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทางโลหิต” ฉบับที่ 1 โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย มีเนื้อหาดังนี้ ตามที่มีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีรายงานพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจากต่างประเทศนอนพักรักษาอาการที่โรงพยาบาลในประเทศไทย อีกทั้งมีการยืนยันแล้วว่าเชื้อสามารถติดต่อ จากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ ดังนั้นเพื่อให้งานบริการโลหิตของประเทศไทยเป็นไปอย่างเพียงพอปลอดภัย และป้องกันมิให้รับบริจาคโลหิตจากผู้มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทยจึงกำหนดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการรับบริจาคโลหิตดังต่อไปนี้ 1.มาตรการงดรับบริจาคโลหิตชั่วคราวจากผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 1.1 .ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคไวรัสสายพันธุ์ใหม่ งดบริจาคโลหิต 14 วัน นับตั้งแต่วันที่เดินทางออกมาและไม่มีอาการผิดปกติใดๆ (แนะนำให้งดบริจาคโลหิต 14 วันเพื่อเว้นระยะความปลอดภัย 1 เท่าของระยะเวลาฟักตัวของเชื้อไวรัส สายพันธุ์อื่นในร่างกายที่มีรายงานแล้ว 2 ถึง 10 วันขณะที่ยังไม่มีรายงานระยะฟักตัวของเชื้อตัวใหม่นี้) 1.2 ผู้ได้ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโคโรนาไวรัสให้งดบริจาคโลหิตเป็นเวลา 28 วันหรือ 4 สัปดาห์ นับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่และหรือหายป่วยโดยไม่มีอาการใดๆหลงเหลืออยู่ (แนะนำให้งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์เพื่อเว้นระยะความปลอดภัย 1 เท่าของระยะเวลาการพบเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์อื่นในโลหิต 2-16 วัน) 1.3 ผู้ที่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสงดบริจาคโลหิตเป็นเวลา 28 วันหรือ 4 สัปดาห์) 2.มาตรการเรื่องการให้ข้อมูลการเจ็บป่วยหลังบริจาคโลหิตและการเรียกคืนโลหิตและส่วนประกอบโลหิต 2.1 ภายใน 14 วันหลังบริจาคโลหิตหากผู้บริจาคโลหิตได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ให้ผู้บริจาคโลหิตญาติ หรือ โรงพยาบาลที่ทำการรักษาแจ้งให้หน่วยงานที่ให้บริการโลหิตได้แก่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติภาคบริการโลหิตแห่งชาติหรือโรงพยาบาลที่รับบริจาคโลหิตทราบทันที 2.2 หน่วยงานที่ให้บริการโลหิต ต้องมีแนวทางปฏิบัติในการรับข้อมูลข่าวสาร จากผู้บริจาคโลหิตแล้วดำเนินการกักกันหรือเรียกคืนโลหิตและส่วนประกอบโลหิต จากผู้บริจาคโลหิตครั้งนั้นๆที่ยังอยู่ในคลังและยังไม่ได้ให้ผู้ป่วยกลับคืนเพื่อการวินิจฉัยและทำลาย 2.3 โรงพยาบาลต้องมีระบบ เฝ้าระวัง ความปลอดภัยของโลหิตที่ให้แก่ผู้ป่วย(Thermovigilance System และติดตามผู้ป่วยที่ได้รับโลหิตจากผู้บริจาคโลหิตที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019