วิกฤติการณ์ภัยแล้งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามช่วงฤดูกาลของทุกปีและได้ส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนของเกษตรกรและภาคเกษตรไทยในวงกว้าง สำหรับปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมแผนเตรียมรับมือไว้ตั้งแต่ปลายปี59ที่ผ่านมาโดยถอดบทเรียนที่ได้เนินการเมื่อช่วงหน้าแล้งปีที่แล้วมาปรับปรุงได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การบริหารจัดการน้ำ แผนการเพาะปลูกพืช(ข้าวและพืช) แผนการปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้งและแผนช่วยเหลือภัยแล้งด้านการเกษตร เพื่อลดความเสี่ยงของพี่น้องเกษตรให้มากที่สุด   สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ มีการคาดการณ์ว่าความรุนแรงจะน้อยกว่าทุกปี เนื่องจากช่วงปลายปี 2559 มีฝนตกต่อเนื่องทำให้มีน้ำต้นทุนในแหล่งเก็บน้ำมากกว่าปีที่ผ่านมาส่งผลให้ 34 เขื่อนหลัก มีน้ำใช้การได้ 19,981 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าวันเดียวกันของปีที่แล้ว 7,502 ล้านลบ.ม. อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้จะไม่รุ่นแรง แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ไม่ได้ประมาทได้เตรียมวางแผนรับมือไว้ทุกด้าน โดยสถานการณ์การปลูกข้าวนาปรังในภาพรวมทั้งใน/นอกเขตชลประทานทั้งประเทศ วางแผนเพาะปลูกไว้ 6.93 ล้านไร่ ปลูกแล้ว 11.06 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 2.37 ล้านไร่ เหลือรอเก็บเกี่ยว 8.73 ล้านไร่แยกเป็นพื้นที่เขตชลประทานวางแผนไว้ 4.00 ล้านไร่  ปลูกแล้ว 7.54 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.65 ล้านไร่ เหลือรอเก็บเกี่ยว 5.93 ล้านไร่ ส่วนนอกเขตชลประทานวางแผนไว้ 2.93 ล้านไร่ ปลูกแล้ว 3.52 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 0.72 ล้านไร่ เหลือรอเก็บเกี่ยว 2.80 ล้านไร่ แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายงานพื้นที่ที่เสียหายจากภัยแล้งหรือขาดน้ำแต่อย่างใด แต่เพื่อความไม่ประมาทขอให้เกษตรกรลดพื้นที่ทำนาปรังหรือพักการทำนาปรังรอบ 2 เพื่อลดความเสี่ยงต่อผลผลิตที่อาจจะขาดแคลน โดยกระทรวงเกษตรฯได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานเร่งหาอาชีพใหม่ที่ชาวนามีรายได้ในช่วงหน้าแล้งทดแทน จะเห็นว่าส่วนที่เกินส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทาน ซึ่งใช้น้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 34 เขื่อนและแหล่งน้ำอื่นๆ  พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า มาตรการในการบริหารจัดการน้ำอุปโภค-บริโภค ได้จัดอันดับแรกเรียงตามความสำคัญ คือ การอุปโภคบริโภคหรือน้ำต้นทุนทำน้ำประปา มีประชาชนจำนวนมากหลายสิบล้านคนต้องใช้ประโยชน์จากน้ำต้นทุนนี้ โดยปกติคนไทยใช้น้ำในทุกกิจกรรมเฉลี่ย 150-200 ลิตร/คน/วัน ซึ่งน้ำที่ใช้นี้ยังต้องมีระดับความเค็มน้อยมาก บางครั้งต้องปล่อยน้ำจากเขื่อนมาดันน้ำทะเล เพื่อให้น้ำต้นทุนประปาจืดพอ น้ำอุปโภคบริโภคขาดไม่ได้ ส่วนที่สอง คือ น้ำรักษาระบบนิเวศน์ คือ การรักษาระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองให้สูงพอ เพื่อรักษาแรงดันน้ำไม่ให้ดินทรุด หากระดับน้ำลดลงคันคลอง คันถนน พื้นที่รอบๆ จะทรุดตัวมาก ตามที่ปรากฏในข่าวต่างๆ ส่วนที่สาม คือ พืช สัตว์น้ำ รวมทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น ซึ่งอยู่พื้นที่ลุ่มต่ำใกล้ชายทะเล สามารถทนความเค็มได้ระดับหนึ่ง หากระดับน้ำเค็มมากพืช/สัตว์เหล่านี้ จะอยู่ไม่ได้ และ ต้องใช้นะยะเวลานานมากในการฟื้นฟู จึงจำเป็นต้องมีน้ำส่วนหนึ่งเพื่อลดความเค็ม ซึ่งต้องจัดน้ำที่มีสำหรับอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์และดูแลไม้ผลไม้ยืนต้นก่อน เพราะมีผลกระทบกับประชาชนจำนวนหลายสิบล้านคนและหากเสียหายจะกระทบเศรษฐกิจในวงกว้าง จากนั้นถึงมาวางแผนการเพาะปลูกในฤดูแล้ง ซึ่งการปลูกข้าว 1 ไร่ ในช่วงฤดูแล้งใช้น้ำราว 1,000 ลบ.ม./ไร่ คำนวณออกมาเป็นพื้นที่ที่จะวางแผนปลูกข้าวในฤดูแล้ง ซึ่งในปีนี้ ในเขตชลประทาน วางแผนไว้ 4.00 ล้านไร่ เพราะปีนี้น้ำต้นทุนไม่มากเนื่องจากแล้งสะสมมา 2 ปี “จากแผนที่วางไว้ให้พิจารณาว่าพื้นที่ปลูกข้าวจะอยู่ในพื้นที่ที่จะสามารถส่งน้ำไปได้ จากนั้นได้แจ้งให้จังหวัดทราบและให้เจ้าหน้าที่ทราบ แล้วลงพื้นที่ทำความเข้าใจพี่น้องเกษตรกรว่าพื้นที่ใดปลูกได้ พื้นที่ใดขอความร่วมมืองดปลูก ซึ่งต้องเข้าใจว่าน้ำมีจำกัด หากแย่งน้ำกันใช้ น้ำจะไม่พอ นาข้าวอาจจะเสียหายได้ตามที่มีข่าวปรากฏว่าบางพื้นที่ที่ปลูกข้าวแล้ว ไม่มีน้ำในระบบชลประทานส่งไป ซึ่งจริงๆ แล้ว เป็นพื้นที่ที่อยู่นอกจากแผนการเพาะปลูก/แผนการส่งน้ำ” ทั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ได้ฝากทิ้งท้ายถึงพี่น้องเกษตรกรว่า อย่ารีบปลูกข้าว ปล่อยให้นาได้พัก เพิ่มปุ๋ยเพิ่มแร่ธาตุ ฝนมาค่อยทำนาปี ผลผลิตดีลงทุนน้อย ใช้สารเคมีน้อย พี่น้องเกษตรกรทุกคนปลอดภัยจากสารเคมี มีรายได้ดี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในยุคนี้ต้องการปฏิรูปภาคการเกษตรทำการเกษตรที่เหมาะสมเกษตรกรสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนในทุกสถานการณ์