เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ที่บริเวณศาลเจ้าเด่นหวั่วปู่โองมู้ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ชุมชน ต.อาจสามารถ อ.เมือ จ.นครพนม นายสยาม ศิริมงคล ผวจ.นคพรนม เป็นประธานในพิธี เปิดงานประเพณี วันรวมใจไทแสก ชุมชนบ้านอาจสามารถ ตงอาจสามารถ อ.เมืองนครพนม ประจำปี 2563 เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีชนเผ่าไทแสก 1 ใน 7 เผ่า ของ จ.นครพนม ที่มีการสืบสานอนุรักษ์ประเพณีโบราณ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นชุมชน ดั้งเดิมที่มีบรรพบุรุษอพยพ มาจากชายแดนประเทศจีน และเวียดนาม กระจายมาอยู่ตามชายแดนแม่น้ำโขง ดินแดน 12 ปันนา รวมถึง เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว และข้ามฝั่งแม่น้ำโขง มาอยู่ที่ ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม ในยุคสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หรือ ประมาณ พ.ศ.2367 – 2394 โดยมี โองมู้ ผู้นำชนเผ่าไทแสก นำพามาก่อตั้งชุมชน และมีการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี มาถึงปัจจุบัน โดยทุกปี ทางด้าน นายสัญญา จันทโคตร นายก อบต.อาจสามารถ พร้อมด้วย นายไพรัช สุสิงห์ กำนันตำบลอาจสามารถ ร่วมกับผู้นำชุมชนท้องถิ่น และชาวบ้านไทแสกในพื้นที่ ต.อาจสามารถ ร่วมกับ ไทแสก จาก บ้านบะหว้า ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม ร่วมจัดงานประเพณีขึ้น ทุกปี ช่วงเดือนมกราคม หรือ กุมภาพันธ์ ช่วงวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมสำคัญประกอบด้วย พิธีกินเตรดเดน เป็นภาษาไทแสก หมายถึงการจัดพิธีบวงสรวงไหว้บรรพบุรุษ คล้ายเทศกาลตรุษจีน การแสดงแสกเต้นสาก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน รวมถึงการจัดการแสดงซุ้มวิธีชีวิตวัฒนธรรมไทแสก ของชุมชนต่างๆ ให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้ ชื่นชม ในครั้งนี้ มี นางมนพร เจริญศรี ส.ส.นครพนม เขต 2 พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นางณัตติยา สีใส รองนายก อบจ.นครพนม ตลอดจน นักการเมืองท้องถิ่น ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชน หมู่บ้าน ในพื้นที่ ร่วมพิธี สำหรับประเพณี วันรวมใจไทแสก มีไฮไลน์ สำคัญที่ขาดไม่ได้หลังเสร็จพิธีทำบุญ บวงสรวงไหว้บรรพบุรุษเจ้าปู่โองมู้ คือ การแสดง แสกเต้นสาก ถือเป็นการแสดงที่เกิดจาก พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ในอดีตเดิม จะเป็นการแสดงเพื่อบูชาบวงสรวงบรรพบุรุษ เนื่องจากเป็นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ประเพณีวัฒนธรรม ที่หาดูยาก เป็นต้นตำหรับหนึ่งเดียวในไทย จนกระทั่งปัจจุบันได้ นำมาเป็นการละเล่น สืบสานประเพณี ไว้แสดงโชว์ในงานพิธีสำคัญ รวมถึง กิจกรรมการท่องเที่ยว ถือเป็นการแสดงที่ยาก จะต้องใช้ความชำนาญ เนื่องจากจะใช้ผู้แสดงประมาณกว่า 10 คน นำไม้ความยาวประมาณ 2-3 เมตร เป็นคู่ มานั่งกระทบ เป็นจังหวะ เดิมโบราณใช้สากตำข้าว ปัจจุบันได้ หันมาใช้ไม้ที่จัดขึ้นเพื่อการแสดง จากนั้น จะมีการจัดคู่รำ เป็นคู่ประมาณ 3 – 5 คู่ จะกระโดดสลับไปในช่องของไม้ที่กระทบกัน ควบคู่กับการรำที่เข้าจังหวะ ซึ่งถือเป็นการแสดงที่ยกต้องใช้ความชำนาญ หากผิดพลาดอาจถึงขั้นบาดเจ็บ จะต้องมีการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ถือเป็นการแสดงที่ตื่นตาตื่นใจ และสร้างความประทับใจให้ประชาชน นักท่องเที่ยว เป็นอย่างมาก และเป็นการแสดงที่หาดูได้ยาก ทั้งสนุกสนานและตื่นเต้น สวยงาม นายไพรัช สุสิงห์ กำนันตำบลอาจสามารถ กล่าวว่า สำหรับประเพณี วันรวมใจไทแสก สืบทอดกันมานานหลายปี เป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของชุมชนไทแสก ถือเป็น 1 ใน 7 ชนเผ่า ที่อพยพย้ายมาจากชายแดนเมืองจีน กับเวียดนาม และมาก่อตั้งรากฐานในหมู่บ้านแห่งนี้ คือ บ้านอาจสามารถ จึงได้มีการสืบสานประเพณีอันดีงาม มาจากอดีต ทุกปี ช่วงหลังปีใหม่ จะมีการจัดงานขึ้น เพื่อรำลึกสืบสานประเพณี ให้ลุกหลาน ได้ เห็นความสำคัญของประวัติความเป็นมา รวมถึง บรรพบุรุษที่เดินทางมาก่อตั้งถิ่นฐาน ส่วนเอกลักษณ์ของ ชาวไทแสกเดิมจะมีชุดประจำถิ่นจากผ้าฝ้ายสีเข้ม ขริบสไบสีแดง มีภาษาวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ทุกปี ชาวไทแสกจะต้องมีทำบุยกราบไหว้สักการบูชา เจ้าเด่นหวั่วปู่โองมู้ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถือเป็นบรรพบุรุษที่ก่อตั้งหมู่บ้าน ดูแลชาวไทแสกมาแต่อดีต จึงได้ร่วมกันจัดสร้างศาลขึ้น เป็นที่รวมจิตใจ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีการจัดจำหน่าย สินค้าโอท็อป มีการจัดแสดงวัฒนธรรมประเพณีรับนักท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมอาชีพเปิดร้านอาหารเมนูปลาจุ่มในพื้นที่ ขาดไม่ได้ ใครมาเยือนจะต้องได้ชื่นชม ประเพณีแสกเต้นสาก ที่หาดูยาก เป็นการสืบสานพิธีความเชื่อ นำมาสู่การแสดง ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะต้องใช้ความชำนาญหาดูยาก ตื่นตาตื่นใจ และสนุกสนาน ควบคู่กันไป ใครอยากสัมผัสวิถีชีวิต เอกลักษณ์ วัฒนธรรมชนเผ่าไทแสก อย่าลืมมาเที่ยว ชุมชนไทแสก ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม ยินดีต้อนรับ