นายจริยาทร สูหู่ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประทศไทย( ททท.)สำนักงานตาก และคณะ ได้เดินทางไปที่ “วัดคอกช้างเผือก” Wat khok-chang-phueak หมู่ 3 บ้านท่าอาจ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก และได้เข้าพบพระอาจารย์ยะสะ ภิกขุ เจ้าอาวาสวัดคอกช้างเผือก โดย ผอ.ททท.ตาก ได้เข้าไห้วสักการะพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และได้เที่ยวชมบริเวณภายในวัด ซึ่งมีรูปแบบและศิลปะ ไทย-เมียนมา ที่สวยงามและมีอัตตลักษณ์ โดยพระยะสะ ภิกขุ ได้เล่าถึงประวัติที่มาของวัดแห่งนี้ให้ได้รับทราบรายละเอียดข้อมูล ซึ่ง ผอ.ททท.ตาก ยังได้เดินทางไปดูพื้นที่บริเวณคอกช้างเผือก ที่เป็นเพนียดช้าง นับแต่โบราณกาลในยุคสุโขทัย ซึ่ง ผอ.ททท.เห็นว่า วัดคอกช้างเผือก ควรได้รับการสนับสนุนให้เป็นศาสนสถาน ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงศาสนา-ศิลปะ-วัฒนธรรม และการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ อีกแห่งของจังหวัดตาก และจะนำเข้าสู่ โครงการไห้วพระ 9 วัด ตามเส้นทางชายแดน ในพื้นที่ตำบลท่าสายลวด เช่นวัดไทยวัฒนราม-วัดคอกช้างเผือก-วัดพระธาตุดอยดินกี่-วัดท่าอาจ ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบว่า วัดคอกช้างเผือก ยังมีจุดที่อยู๋ยอดเขา ชมวิว และบรรยากาศ รอบๆ ที่มองเห็น จังหวัดเมียวดี มีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก รายงานข่าวแจ้งว่า ประวัติ ความเป็นมาที่ เล่าสืบทอดต่อกันมา ว่า โบราณสถาน คอกช้างเผือก (เพนียดช้าง) khok-chang-phueak บ้านท่าอาจ หมู่ 3 ตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมย ชายแดนไทย-เมียนมา การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 105 ก่อนถึงสะพานมิตรภาพไทย-พม่าประมาณ 1 กิโลเมตร แยกขวามือผ่านหน้าวัดไทยวัฒนาราม ตามถนนลาดยางประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบป้ายโบราณสถานคอกช้างเผือกด้านซ้ายมือคอกช้างเผือก หรือ พะเนียดช้าง ลักษณะทำเป็นกำแพงก่ออิฐมอญสูงประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 25 เมตร เป็นรูปสอบขนานกันยาวประมาณ 80 เมตร ตามพงศาวดารกล่าวว่า เมือครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโท (คนเลี้ยงช้าง) ซึ่งเป็นหนุ่มชาวมอญได้เข้ารับราชการเป็นขุนวัง และมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับนางสร้อยดาวพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงฯ ต่อมาเมื่อครั้งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช มะกะโท จึงลักพาตัวพระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงคำแหง ฯ หนีไปอยู่กรุงหงสาวดี และมีหนังสือแจ้งพ่อขุนรามคำแหงฯ ถึงเรื่องราวทั้งหมด ต่อมา มะกะโท ได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ และสร้างเมืองเมาะตะมะขึ้นเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงฯ จึงพระราชทานนามให้ว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว เมืองตากในสมัยนั้นถือเป็นชานเมืองของกรุงสุโขทัย ได้มีช้างเผือกเชือกหนึ่งออกอาละวาดพ่อขุนรามคำแหงฯทรงทราบ ทั้งนี้พระองค์จึงได้ประกอบพิธีเสี่ยงสัตย์อธิษฐานว่า หากช้างเผือกเชือกนี้เป็นช้างคู่บุญบารมีของกษัตริย์นครใดก็ขอให้ช้างเผือกบ่ายหน้าไปในทิศทางนั้น เมื่อสิ้นคำอธิฐาน ช้างเผือกจึงชูงวงเป็นทักษิณาวรรตเปล่งเสียงร้อง 3 ครั้ง แล้วเดินบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตกถึงชายแดนเมืองตาก พ่อขุนรามคำแหงฯ ทรงแน่พระทัยว่าช้างเผือกนี้คงเป็นช้างเผือกคู่บารมีของพระเจ้าฟ้ารั่ว จึงแจ้งให้พระเจ้าฟ้ารั่วมารับช้างเผือก ครั้นเมื่อเดินมาถึงเชิงเขาแห่งนี้มีแม่น้ำขวางกั้นทหารที่ติดตามมาจึงสร้างพะเนียดล้อมช้างเผือกไว้ พ่อขุนรามคำแหงมฯ จึงได้ทำพิธีมอบช้างเชือกให้กับพระเจ้าฟ้ารั่ว....... ซึ่ง ณ ที่บริเวณนี้ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 105 ตอนที่ 88 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2531 หน้า 21 (ฉบับพิเศษ) มีพื้นที่ 7 ไร่ 87 ตารางวา