ที่โรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนา หมู่ที่ 10 ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล ผู้ปกครองนักเรียนที่นี่นอกจากจะส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนแล้ว หลายคนยังสวมบทบาทครูสอนวิชาเกษตรซึ่งเป็นงานที่ถนัด คอยชี้แนะวิธีการปลูกต้นคะน้าปลูกต้นกวางตุ้ง แนะนำการดูแลศัตรูพืชโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้วิธีการเกษตรอินทรีย์ สร้างความตื่นเต้น สนุกให้กับเด็ก ๆ โดยเด็ก ๆ ทุกคนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้เฝ้าดูการเติบโตของผักก่อนที่จะช่วยกันนำผักที่ปลูกกับมือนี้ไปส่งเข้าห้องครัวของโรงเรียนเพื่อปรุงอาหารให้น้อง ๆ และตัวเองกินกันบนความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมกับผู้ปกครองปลูกผักภายในโรงเรียนขึ้น ด.ช.ฮันนาน สุตรา ชั้นป.6 บอกว่า ดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการจิตอาสาบ้านทุ่งพัฒนา ด้วยการปลูกผักรดน้ำต้นไม้พรวนดิน เก็บผักช่วยขายได้เงินมาลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก ที่เหลือนำมาแบ่งให้นักเรียน นำมาใช้จ่าย มีน้อง ๆ นักเรียนก็มาช่วยกันปลูกผัก ดีใจมากที่ทางโรงเรียนนำผักที่ปลูกมาประกอบอาหารเอง ให้พวกเราได้กิน และที่เหลือยังนำไปขายเอาเงินมาพัฒนาซื้อเมล็ดพันธุ์ ปลูกใหม่อีก ด.ญ.มารีน่า แคหวามาลัย ชั้นป. 6 บอกว่า พวกตนทำหน้าที่ดูแลผักรดน้ำพรวนดินโดยผักที่ปลูกเป็นผักกวางตุ้ง ผักกาด ผักบุ้งจีน ผักคะน้า ถอนหญ้าโดยผักจะนำไปขาย นายวีระ พรหมมา ผู้นำท้องถิ่น ส.อบต.ควนสตอ บอกว่า ตนเป็นคนหนึ่งที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้ เป็นคณะกรรมการมา 8 ปีกว่าแล้ว โดยผู้ปกครองได้มีการพูดคุยกันเพื่อที่จะเข้ามาช่วยกันพัฒนาโรงเรียนที่รกร้างมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผู้ปกครองเข้ามาช่วยการดูแลแปลงผัก 16:00 น. ถึง 18:00 น. ทุกวันแล้วแต่ใครสะดวกโดยมีนักเรียนได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ เม็ดเงินที่เหลือจากการซื้ออุปกรณ์การเกษตรจะมอบให้กับทางโรงเรียนเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เด็กได้กินเป็นอาหารกลางวันและได้ทานผักปลอดสารพิษ โดยคิดว่าหากโรงเรียนอยู่ได้ชุมชนก็อยู่ได้ นางวิไลพร นุ่งอาหลี อายุ 48 ปี ผู้ปกครองหญิง บอกด้วยว่า สาเหตุที่ผู้ปกครองเข้ามาช่วยเนื่องจากทางโรงเรียนไม่มีภารโรงรอบบริเวณโรงเรียนจะรกมาก เลยมีการรวมกลุ่มผู้ปกครองจิตอาสามาช่วยทางโรงเรียน ประกอบกับทางโรงเรียนมีพื้นที่จำนวนมาก 22 ไร่ อย่างน้อย ๆ การปลูกผักเป็นอาหารกลางวันให้เด็ก อนาคตข้างหน้าทางผู้ปกครองจะช่วยกันพัฒนาให้เป็นบ่อเลี้ยงปลาและฟาร์มไก่ นำไปขายเพื่อนำเงินกองกลางไว้หมุนเวียนใช้ในโครงการจิตอาสาของโรงเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนาไม่เน้นทางวิชาการเพียงอย่างเดียวนอกจากจะได้เรียนครบตามหลักสูตรแล้วยังมีโอกาสได้เรียนรู้ด้านทักษะอาชีพ จึงเปิดโอกาสให้ชาวบ้านและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยได้ใช้พื้นที่ของโรงเรียนให้เกิดประโยชน์ ผักต่าง ๆที่ปลูกเป็นอาหารกลางวันเหลือจากนั้นนำจำหน่ายให้กับชุมชนในช่วงเช้าที่ผู้ปกครองมาส่งและมารับนักเรียน หลังเกิดโครงการนี้ขึ้นโรงเรียนได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ นางสุนทรี ณ นคร ผอ.โรงเรียน บ้านทุ่งพัฒนา กล่าวว่า อนาคตเตรียมพัฒนาให้เป็นโรงเรียนสร้างอาชีพเพื่อนักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียนอยู่ร่วมกันได้ เด็ก ๆได้เรียนรู้การทำงานจริงถูกวิธี อาทิ การ การขุดล่องน้ำ การล้างผัก การกำจัดวัชพืช เด็กได้เรียนรู้การเก็บผักไปขายว่าต้องขายอย่างไร มีการเลือกต้นผักที่ไม่เล็กเกินและไม่แก่เกิน ให้เด็กสนุกกับการทำกิจกรรมไปพร้อมกับการเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์ประชาชนพ่อแม่พี่น้องที่ผ่านมาทางโรงเรียนบ้านทุ่งพัฒนามีโอกาสมาแวะชมแปลงผัก. เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน. และในอีกสองเดือนข้างหน้าจะมีโครงการปอเทือง จากนั้นจะมีการจัดหารายได้เพื่อสร้างสนามเด็กเล่น ไปนอนอนุบาลจึงขอเชิญชวน ไม่มาร่วมงานกับ.ถ่ายภาพเช็คอิน สิ่งที่ได้กับเด็กเด็กนักเรียนคือได้เรียนรู้ในการประกอบอาชีพและสามารถกลับไปทำที่บ้านเองได้ สอนให้รู้เกี่ยวกับเรื่องของการทำบัญชีและการตลาด และสอนให้เด็กเด็กได้รู้ว่าทำไมต้องปลูกผักอินทรีย์ เด็กสามารถนำไปทำที่บ้านต่อได้อีกทั้งการ ที่ชุมชนบ้านทุ่งพัฒนาแห่งนี้ ได้ถือเป็นหัวใจหลักในชุมชน ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมและงานสำคัญต่าง ๆ จะร่วมแรงร่วมใจลักษณะข้าวหม้อแกงหม้อวัตถุดิบหาได้ในหมู่บ้าน ยิ่งกระแสการยุบโรงเรียนขนาดเล็กเนื่องจากมีนักเรียนเพียง 67 คน ยิ่งทำให้ชาวบ้านไม่สบายใจ โดยเห็นว่าภาพพลังสามัคคีคนในชุมชน ที่จะมาเสียสละเพื่อร่วมดูแลโรงเรียนบุตรหลานลักษณะนี้จะหายไป เพราะบุตรหลานต้องไปเรียนไกลหมู่บ้าน ผู้ปกครองไม่สามารถเข้าไปมีร่วมมือในการดูแลบุตรหลานและโรงเรียนได้