นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา การหารือและการคาดการณ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยอุตสาหกรรมไทยได้ฟื้นตัวจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย แม้ยังไม่ทราบถึงวิสัยทัศน์ในระยะยาว ความสนใจในการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ที่มากขึ้นนำมาสู่ความไม่แน่นอนในการดำเนินธุรกิจ และผลกระทบจากเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น บิตคอยน์ เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียง ยังเป็นเรื่องที่นำมาถกเถียงกันอย่างเข้มข้น ปัจจัยอายุและภูมิเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ นายนิค แอนดรูส์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบริหารการตลาดของ เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป กล่าวว่า ที่ผ่านมาแม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ยังมีการให้ความสำคัญในการหารือเรื่องผลกระทบของความไม่สงบทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก ในขณะเดียวกันการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ได้ให้ประสบการณ์จริงและเติบโตขึ้น ทั้งยังมีการทำการตลาดอย่างหนัก โดยเชื่อมโยงธุรกิจการค้นหาด้านการเดินทาง และการจองเข้ากับระบบ สำหรับทศวรรษใหม่ที่กำลังจะมาถึง เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป ได้คาดการณ์แนวโน้มปัจจัยภายในขององค์กรที่จะช่วยลดอุปสรรคสำหรับทั้งนักเดินทางและผู้ให้บริการการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องช่องว่างที่มากขึ้นด้านความสนใจและคุณค่าที่นิยามคนแต่ละรุ่น ซึ่งส่งผลต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและแนวทางที่ผู้ให้บริการการท่องเที่ยวจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของนักเดินทางในแต่ละช่วงวัย โดย งานวิจัยของทีม เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป มีเดีย โซลูชั่น ระบุว่า นักเดินทางรุ่นใหม่ที่เดินทางมาเที่ยวเมืองไทยต้องการประสบการณ์และการผจญภัยที่ไม่เหมือนใคร เพราะคนรุ่นต่อไป คือ เจเนอเรชั่นอัลฟ่า ซึ่งเกิดตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป จะไม่รอช้าที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว “อีก 10 ปีข้างหน้าคนกลุ่มนี้จะตัดสินใจเรื่องการท่องเที่ยวด้วยตนเองและออกเดินทางไปทั่วโลก เพื่อหาประสบการณ์การเดินทางที่ไร้อุปสรรคและใช้ช่องทางดิจิทัลเต็มรูปแบบ โดยสามารถสำรวจจุดหมายปลายทางใหม่ ๆ ได้จากเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ที่บ้าน พร้อม ๆ กับทำการจองทริป รวมถึงใช้งานบอทขั้นสูงที่สามารถเรียกดูแผนการเดินทางที่จองได้ในคลิกเดียว โดยแผนการเดินทางจะออกแบบสำหรับพวกเขาโดยเฉพาะ ตั้งแต่ที่พักไปจนถึงร้านอาหาร จึงทำให้คนเจเนอเรชั่นนี้เดินทางได้ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน” เกิดความหลากหลายด้านที่พัก โดย นายแอนดรูส์ กล่าวต่อว่า การทำงานในรูปแบบเดิมๆ จะลดน้อยลง การเดินทางเพื่อธุรกิจจะยังคงมีอยู่ และจะยิ่งทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเมื่อบริษัทเติบโตและต้องการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน นโยบายการเดินทางที่สะท้อนวัฒนธรรมขององค์กร พร้อมทั้งการให้ความเชื่อมั่นกับบุคลากรจะเป็นข้อเสนอหลักที่ดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถมายังองค์กร การเดินทางเพื่อธุรกิจ การเดินทางเพื่อธุรกิจและพักผ่อน การเดินทางเป็นครอบครัว ตลอดจนการเดินทางเพื่อรักษาพยาบาล ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความหลากหลายด้านที่พักมากยิ่งขึ้น และถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากนักเดินทางควรมีตัวเลือกที่ตรงกับความต้องการเดินทางของตนเองมากที่สุด ทั้งนี้โรงแรมที่เป็นเครือขนาดใหญ่และโรงแรมอิสระจะยังคงมีบทบาทสำคัญในธุรกิจด้านที่พัก ซึ่งผู้ให้บริการด้านที่พักสามารถทำนายจากพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้ผ่านการใช้ปัญญาประดิษฐ์ เป็นการแนะนำโรงแรมเฉพาะแห่งให้กับลูกค้าอัตโนมัติ โดยอ้างอิงจากพฤติกรรมการจองที่พักจากการเดินทางคนเดียวในทริปที่ผ่าน ๆ มา อีกทั้งเพื่อเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของนักเดินทางกลุ่มนี้ สนามบินต่าง ๆ จะต้องหันมาประเมินบริการที่มอบให้กับนักเดินทางในอนาคตอันใกล้ เช่น ความหลากหลายของเส้นทางบิน ความสะดวกสบายของที่จอดรถ อาหารท้องถิ่น แหล่งช้อปปิ้ง เป็นต้น ซึ่งเมื่อสร้างสนามบินเป็นจุดหมายปลายทาง สนามบินจะได้ประโยชน์จากการมอบประสบการณ์เฉพาะบุคคลมากขึ้นผ่านสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่นเดียวกับโรงแรม มีความเป็นไปได้ว่าในทศวรรษถัดไป นักเดินทางอาจซื้อบริการเสริมผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือตามความต้องการและงบประมาณของตนเอง เช่น บริการช่องตรวจความปลอดภัยแบบวีไอพี รถรับส่งจากอาคารผู้โดยสารไปยังประตูขึ้นเครื่อง แพ็คเกจอาหารก่อนขึ้นเครื่อง ความบันเทิงบนเครื่องที่คัดสรรโดยเฉพาะ ไวไฟ บนเครื่อง และจองรถรับส่งจากสนามบินล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม นายแอนดรูส์ กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และสร้างโอกาสมหาศาลสำหรับผู้ประกอบการในการมอบประสบการณ์การเดินทางที่น่าประทับใจให้กับนักเดินทาง ขณะที่ผู้ประกอบการโรงแรมไทยควรร่วมมือกัน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับนักเดินทาง เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ทั้งนี้ทางผู้ประกอบการโรงแรมไทย ได้มีแนวทางความร่วมมือการลงทุนเพื่อการวิจัย พัฒนา และทดสอบเทคโนโลยี โดยในปี 2561 ได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นจำนวนเงินกว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4.9 หมื่นล้านบาท) เพื่อลดความเสี่ยงให้กับโรงแรมพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยในทศวรรษที่จะถึง และเปิดโอกาสในการเติบโตร่วมกันมากยิ่งขึ้น