จังหวัดอ่างทอง มีซากวัดร้างที่โบสถ์ที่ทำด้วยดินเผาสีแดงขนาดใหญ่พร้อมด้วยต้นสะตือที่ขึ้นอยู่เรียงรายอยู่ทั่วบริเวณวัด ซึ่งวัดร้างนี้ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า”วัดไทรย้อย หรือวัดไทรร้าง”ตั้งอยู่ในชุมชนริมแม่น้ำบางระจัน ติดกับรอยต่อของอำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ที่มีประวัติศาสตร์ก่อตั้งมาก่อนปี 2308 โดยมีตัวค่ายบางระจัน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำบางระจัน ส่วนกองทัพพม่าตั้งทัพอยู่ทางใต้ของแม่น้ำ โดยมีวัดไทรย้อย หรือวัดไทรร้าง อยู่ตรงกลาง แต่เมื่อเกิดศึกบางระจัน วัดไทรย้อย หรือวัดไทรร้าง เป็นที่รวมตัวของเหล่านักรบผู้กล้าจากค่ายบางระจัน ในการรวมพลเพื่อโจมตีพม่าแบบกองโจร โดยมีพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นที่ยึดเหนี่ยว จึงมีชาวบ้านตลาดไทยย้อนยุคบ้านบางระจัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี กับชาวบ้านในจังหวัดอ่างทอง รวมตัวกันเพื่อพัฒนา”วัดไทรย้อย หรือวัดไทรร้าง”เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อให้ประชาชนได้สำนึกถึงคุณงามความดีของเหล่านักรบผู้กล้าจากค่ายบางระจัน ที่ประกอบด้วยนักรบที่เป็นชาวบ้านของทั้งจังหวัดอ่างทองและจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งวันนี้ อาจารย์สรรค์ คงเวทย์ ผู้ก่อตั้งการแสดงของเหล่านักรบแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ และนายนุกูล โปรยเงิน ที่ปรึกษาตลาดไทยย้อนยุคบ้านบางระจัน นำนักแสดงมากราบไหว้”วัดไทรย้อย หรือวัดไทรร้าง”พร้อมการแสดงการต่อสู้แบบสมัยศึกบางระจัน นายนุกูล โปรยเงิน กล่าวว่าบริเวณนี้เราเรียกว่าวัดไทรย้อย หรือวัดไทรร้าง ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ตอนอดีตศึกบางระจัน หลวงพ่อสุวรรณ ที่เป็นเจ้าอาวาสวัดยางปัจจุบัน ท่านได้เล่าให้ฟังว่าบริเวณนี้เป็นจุดรวมพลของกองอาสาชาวบ้านบางระจัน ที่รวมพลและวางแผนสู้รบที่ไปต่อตีกับอังวะ ที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของค่ายบางระจันซึ่งถือว่าพื้นที่บริเวณนี้สำคัญมากๆ ซึ่งในการรบกับพม่าในครั้งที่ 4 จนสามารถสังหารแม่ทัพพม่า(สุรินทรจอข่อง)ได้ ซึ่งพื้นที่นี้อยู่ในเขตจังหวัดอ่างทอง ส่วนฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเป็นที่ตั้งของค่ายบางระจัน ซึ่งปัจจุบันนี้คือตลาดไทยย้อนยุคบ้านบางระจัน วัดโพธิ์เก้าต้น ลูกหลานชาวบ้านบางระจันได้รวมการจัดงาน”วิ่งตามรอยปู่ย่าสู้ผู้กล้าบ้านระจัน"เพื่อสดุดีและเปิดแหล่งประวัติศาสตร์ในวันที่ 19 มค.63 ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดสิงห์บุรี และอ่างทอง โดยจะวิ่งตามรอยประวัติศาสตร์บ้านระจัน และในวันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ จะจัดงานสดุดีวีรชนค่ายบางระจัน พร้อมมีการแสดงแสงสีเสียงด้วย