“...1.) มีทัศนคติที่ดีที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง2.) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง3.) มีคุณธรรมและ 4.) มีงานมีอาชีพสามารถเลี้ยงตนเองเลี้ยงครอบครวัได้และเป็นพลเมืองที่ดี...” พระบรมราโชบายด้านการศึกษามุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน4 ด้านในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงสืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในการสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง นายวิทยา พลศรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์(วษท.บุรีรัมย์)เชิญสื่อมวลชนไปดูพัฒนาการการจัดการเรียนการสอนสายวิชาการอาชีพเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพของคนไทยกลุ่มใหญ่ของประเทศที่เรียกว่าเกษตรกรผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างแหล่งผลิตอาหารเพื่อคนทั้งประเทศและยังเป็นคณูปการไปยังประชากรโลก หากแต่ก็เกษตรกรที่อาชีพเป็นงานหนักกรำแดดฝนแบกหามหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินส่วนใหญ่อีกเช่นกันที่ตกอยู่ในการดำรงชีวิตแบบยากลำบากมีหนี้สินผลผลิตที่ทำได้ราคาไม่คุ้มทุน จนลูกหลานไม่น้อยทีเดียวหลีกลี้หนีอาชีพดังกล่าว ในฐานะสถานศึกษาวิชาชีพเกษตรกรรมได้มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผ่อนคลายปัญหาได้บ้างเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลดต้นทุน ด้านการเพิ่มผลผลิต ด้านการเพิ่มมูลค่าที่สำคัญด้านความปลอดภัยด้วยเป็นผลผลิตอินทรีย์มีคุณค่าต่อผู้บริโภค โดยผู้อำนวยการตลอดจนผู้บริหารทุกคนอย่างรองผอ.อดุลย์ รองผอ.นายชาญชัย พยัคฆกุลเป็นต้นได้น้อมนำแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหรือศาสตร์พระราชาอันได้แก่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นรากฐานการพัฒนาการจัดจัดเรียนการสอน เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาเรียนในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาอย่างเช่นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์แห่งนี้ สร้างสำนึกหลอมหัวใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความขยันมีความเพียรมุมานะ มีความอดทน ไม่มุ่งเน้นแต่ความโลภอยากได้เป็นที่ตั้ง ปลูกฝังหัวใจให้รู้จักมีความรักความเมตตามีจิตอาสาเสียสละแบ่งปัน เกื้อกูลกันแนะนำกันช่วยเหลือกัน ให้ตระหนักถึงความสำคัญภูมิปัญญาที่บรรพชนสร้างสรรค์ไว้แล้วพัฒนาการเรียนการสอนตามยุคสมัยพัฒนาของโลกคือเอาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมาปรับประยุคใช้กับภูมิปัญญาไทยของเรา อย่างเช่นการสร้างโรงงานผลิตนม การทำฟาร์มโคนมโคเนื้อและปศุสัตว์ การทำแปลงเกษตรไม้ใหญ่ ไม้ผล พืชผัก แปลงพืชอัจฉริยะ ไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งล้วนเดินไปตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่คือไม่ลืมความสำคัญปัจจัยนำสู่ความเจริญงอกงามได้แก่แหล่งน้ำ ที่จะเป็นตัวแปรไปสู่ความเจริญงอกงามผ่านการบริหารจัดการด้วยนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ นำไปสู่การลดต้นทุน เพิ่มปริมาณ เพิ่มมูลค่าที่สำคัญมีความปลอดภัย ผู้บริหารวษท.บุรีรัมย์บอกว่าการจัดการเรียนการสอนตามที่เกริ่นมาเป็นการสนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสร้างพื้นฐานผู้เรียนในพระบาทสมเด็จพระวชีรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10 ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยสืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชดำริหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง นายวิทยา พลศรีผอ.วษท.บุรีรัมย์บอกว่า อย่างโรงงานแปรรูปนมของวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2532 เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่ทรงห่วงใยราษฎรด้านการดำรงชีวิตการประกอบอาชีพเสริม จึงทรงส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมขึ้น วิทยาลัยจึงดำเนินการสร้างโรงงานแปรรูปนมมารองรับช่วยเหลือเกษตรกรเลี้ยงโคนมในพื้นที่ให้ขายน้ำนมดิบได้ในเวลาเดียวกันก็ให้เป็นสถานที่สอนวิชาการและสถานที่ฝึกอาชีพของนักเรียนนักศึกษาไปด้วย สร้างความมั่นใจแก่เยาวชนว่าอนาคตมีงานทำมีอาชีพแน่นอน แล้วจะได้มุ่งเรียนมุ่งศึกษาให้เก่งกาจช่ำชองต่อไปโดยในระยะเริ่มต้นมีกำลังการผลิต 200 ลิตร ต่อชั่วโมง ต่อมาได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้เพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ลิตร ต่อชั่วโมง โรงงานแปรรูปนม ในสมัยนั้น จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับการส่งเสริมให้เลี้ยงโคนมโรงงานแปรรูปนมรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรมาแปรรูปจำหน่าย ต่อมา ปี 2535 เกิดโครงการนมโรงเรียนของรัฐบาล จึงเข้าร่วมโครงการนมโรงเรียนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้อำนวยการฯ กล่าวย้ำว่า โรงงานแปรรูปนม ยังจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งเป็นสถานที่ฝึกอบรมฝึกงานวิชาชีพของนักศึกษาจากสถาบันอื่นด้วย และเป็นสถานที่ในการอบรมและศึกษาดูงานของนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคคลภายนอกที่สนใจ และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม รวมทั้งเป็นแหล่งรองรับน้ำนมดิบของเกษตรกร เพื่อผลิตนมพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ที่มีคุณภาพมาตรฐานปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ทำให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมอยู่ในมาตรฐานคุณภาพแบบสากลด้วยซึมซับความรู้สมัยใหม่นำไปประยุคภูมิปัญญา ทำให้เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการขายน้ำนมดิบ ทำให้เกษตรกรได้ซึมซับความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อมกัน แล้วเมื่อโรงงานมีรายได้ก็นำรายได้มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยฯ เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพให้ประชาชนท้องถิ่นมีรายได้ และเป็นแหล่งปฏิบัติงานของนักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการหารายได้ระหว่างเรียน และช่วงปิดภาคเรียน จากนั้นผู้บริหารและครูอาจารย์นักเรียนนักศึกษาพาไปดูการจัดการเรียนการสอนคือโรงเรือน และแปลงปลูกพืชอัจฉริยะ โดยแผนกวิชาช่างกลเกษตร มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 72 ตารางเมตร กว้าง 9.50 เมตร ยาว 19.5 เมตร และพื้นที่ภายนอกโรงเรือน 113 ตารางเมตร สามารถปลูกพืชผัก และไม้ดอก ภายในโรงเรือน มีระบบควบคุมการทำงานโดยการให้น้ำ ใช้ได้ทั้งระบบ Manual และระบบ Automatic สั่งการ ปิด-เปิด โดยใช้ประตูน้ำไฟฟ้า ควบคุมโดยการตั้งเวลา และสามารถสั่งการทางโทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์ เพื่อการปรับอุณหภูมิอัตโนมัติ การลดความร้อนโรงเรือน ใช้ระบบ Sensor อุณหภูมิ สั่งการให้เปิดระบบพ่นหมอก ส่วนการให้ปุ๋ย ใช้อุปกรณ์ดูดปุ๋ย จ่ายเข้าระบบให้น้ำ “ภายในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ ยังมีกิจกรรมหอพักหมู่บ้าน อกท.ชาย ซึ่งปัจจุบัน มีครูพี่เลี้ยง 4 คน นักเรียนที่พักอาศัยระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1–3 จำนวน 90 คน มีห้องพัก 33 ห้อง เฉลี่ยพักห้องละ 3-4 คน ฝึกให้รู้จักอยู่ร่วมกันพึ่งพาอาศัยกันรักสามัคคีมีเมตตากรุณา มีจิตอาสา ซึมซับความกตัญญู ความไม่โลภโดยได้รับการปลูกฝังหล่อหลอมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ ที่ยังนำไปเน้นย้ำผ่านการใช้พื้นที่ในการทำโครงการเกษตรประมาณ 2 ไร่ ทั้งนี้ กิจกรรมหลักของหมู่บ้าน อกท.ชาย คือ พัฒนาความสะอาดวิทยาลัยฯ กิจกรรมสวดมนต์ทุกวันพระ กิจกรรมออกกำลังกายและเล่นกีฬาสีตอนเช้าทุกวันพุธ กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนหารายได้ระหว่างเรียน โดยโครงการปลูกพืช ผัก ในพื้นที่รวมของหอพัก มีรายได้จากการทำโครงการและรายได้ที่เหลือบางส่วนมอบเป็นทุนทำโครงการเกษตรแก่รุ่นน้องในปีถัดไป”นายวิทยา พลศรีผอ.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์กล่าวสรุป