บิ๊กป้อม สั่ง สทนช. เสนอการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างเป็นรูปธรรมให้ประชาชนมั่นใจ มีน้ำใช้ตลอดแล้ง ตามสั่งการ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ห่วงใยประชาชนในเรื่องภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ในช่วงฤดูแล่วที่จะมาถึง ได้สั่งการให้ สทนช ดำเนินการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีมาตราการดำเนินการแก้ปัญหาภัยแล้งดังนี้ แผนปฎิบัติการรับมือพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ. อุปโภค บริโภค (นอกเขตการประปาส่วนภูมิภาค) มีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ นอกเขตพื้นที่บริการการประปาใน 43 จังหวัด 4,132 หมู่บ้าน โดยแบ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำรุนแรง 1,270 หมู่บ้าน พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำปานกลาง 1,927 หมู่บ้าน โดยมีการ ขุดเจาะน้ำบาดาล 1,100 โครงการ จัดหาแหล่งน้ำผิวดิน 230 โครงการ และซ่อมแซมระบบประปา 658 โครงการ ซึ่งครอบคลุมสถานพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ จำนวน 157 แห่ง โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง แบ่งเป็น ขุดเจาะบ่อบาดาล 3 โครงการ ดำเนินการโดย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และซ่อมแซมระบบน้ำประปา ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 โครงการ โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมบูรณาการดำเนินการให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน 5 หน่วยงาน แบ่งเป็น หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 190 โครงการ กองทัพบก 209 โครงการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 704 โครงการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 888 โครงการ การประปาส่วนภูมิภาค 50 โครงการ ด้านเกษตร ในพื้นที่เขตชลประทาน มีมาตรการในการควบคุมจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำและสอดคล้องต่อปริมาณน้ำต้นทุน โดยมีการปรับแผนจัดสรรน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่-กลาง แยกเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 14 แห่ง แบ่งเป็นภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 5 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันตก 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 11 แห่ง แบ่งเป็นภาคเหนือ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 8 แห่ง ทั้งนี้ ได้มอบให้กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ควบคุมการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนอย่างเคร่งครัด พร้อมประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ขณะที่นอกพื้นที่เขตชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ร่วมสำรวจพื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 2.6 ล้านไร่ พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ขั้นรุนแรง ยืนต้นตาย จำนวน 0.37 ล้านไร่ ในพื้นที่ 30 จังหวัด โดยมอบกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุน พร้อมทั้งจัดทำแผนและมาตรการเสนอ โดยด่วนต่อไป ด้านการเตรียมความพร้อมรับมือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และกองทัพบก ได้เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ และอุปกรณ์ รวม 4,192 เครื่อง แบ่งเป็น รถบรรทุกน้ำและรถผลิตน้ำ 1,517 เครื่อง เครื่องจักรและเครื่องขุด 175 เครื่อง และเครื่องเจาะบ่อและสูบน้ำ 2,500 เครื่อง โดยมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รับไปดำเนินการวางแผนการใช้เครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งต่อไป