วิกฤติแล้งพ่นพิษหนัก!! เกษตรเสียหาย 18 จว. สูญเกือบพันล้าน ตั้งหน่วยฝนหลวงเคลื่อนเร็ว 3 ชุด ช่วยพื้นที่เกษตรขาดน้ำ เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ภัยแล้งวันที่ 6 ม.ค.ว่าสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง (447 แห่ง) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 46,618 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 61 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 22,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (57,218 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 75) น้อยกว่าปี 2561 จำนวน 10,600 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จ่านวน 23.39 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 75.12 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 29,449 ล้าน ลบ.ม. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (35 แห่ง) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 43,830 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 20,383 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 43) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (53,814 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 76) น้อยกว่าปี 2561 จ่านวน 9,984 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จ่านวน 20.95 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้่าระบาย จ่านวน 66.18 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 27,097 ล้าน ลบ.ม. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักชลสิทธิ์ รวม 4 อ่างฯ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 10,922 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 4,226 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 23) ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 2.44 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย 17.93 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 13,949 ล้าน ลบ.ม เตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อช่วยเหลือในช่วงฤดูฝน ปี 2562 จำนวน 2,139 เครื่อง สนับสนุนเพือช่วยเหลือพื้นที่นาปี นาปรัง พืชไร่ อุปโภคบริโภค จ่านวน 282 เครือง ในพ้ืนที 36 จังหวัด แบ่งเป็น - ช่วยเหลือพื้นทีข้าวนาปีและพืชไร่ จ่านวน 138 เครือง ในพื้นที 21 จังหวัด - ช่วยเหลือพ้ืนทีข้าวนาปรัง จ่านวน 42 เครือง ในพื้นที่4จังหวัด - ช่วยเหลือเพื่อการอุปโภค-บริโภค จ่านวน 102 เครื่อง ในพื้นที่16จังหวัด เตรียมพร้อมสนับสนุนรถยนต์บรรทุกน้ำรวมท้ังหมด 106 คัน ได้แก่ ภาคเหนือ 24 คัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 คัน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก 28 คัน ภาคใต้ 14 คัน ศูนย์ปฏิบัติการเครืองจักรกลและส่วนกลาง (นนทบุรี) 18 คัน ด้านกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังคงเฝ้าติดตามสภาพอากาศ อย่างต่อเนือง และได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลือนทีเร็วประจ่าปี 2563 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ุ 2563 จ่านวน 3 ชุด ณ สนามบินนครสวรรค์เพือปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงทีมีสภาพอากาศเหมาะสมในการช่วยเหลือพ้ืนทีการเกษตรทีประสบภัยแล้ง สร้างความชุ่มชืนให้กับป่าไม้ของประเทศ และช่วยลดปญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) สำหรับจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 15 จังหวัด จ่านวน 76 อ่าเภอ 454 ต่าบล 3,861 หมู่บ้าน 20 ชุมชน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย(14) น่าน(2) เพชรบูรณ์(6) อุทัยธานี(8) นครพนม(1) มหาสารคาม(6) บึงกาฬ(4) หนองคาย(8) บุรีรัมย์(6) กาฬสินธุ์(1) นครราชสีมา(5) กาญจนบุรี(6) ฉะเชิงเทรา(2) จังหวัดสุโขทัย(4) และจังหวัดชัยนาท(4) และอยู่ระหว่าง ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามในประกาศเขตฯ 1 จังหวัด คือ สุพรรณบุรี(5) ผลกระทบด้านการเกษตรในเบื้องต้น ด้านพืช ประสบภัย 18 จังหวัด เกษตรกร 167,733 ราย พื้นทีคาดว่าจะเสียหาย 1,655,121 ไร่ ส่ารวจพบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 87,533 ราย พื้นทีเสียหาย 854,229 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 758,426 ไร่ พืชไร่ 95,330 ไร่ พืชสวนและอืนๆ 473 ไร่คิดเป็นวงเงิน 954.37 ล้านบาท จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว เกษตรกร 339 ราย พื้นที่3,150 ไร่ เป็นเงิน 3.51 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ และด้านประมง ยังไม่มีรายงานได้รับผลกระทบ ส่วนสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า (วันที 1 ต.ค. 61 – 23 ธ.ค. 62) รายงานพบโรคท้ังหมด 23 จังหวัด 36 จุด ปัจจุบัน ยังคงประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ 15 จุด ในพื้นที่10จังหวัด คือ สระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สุรินทร์ ศรีสะเกษ เพชรบุรี ราชบุรี พัทลุง และจังหวัดสงขลา ท้ังนี้ กรมปศุสัตว์ได้เร่งดำเนินการป้องกันควบคุมโรคทุกจุดเกิดโรค โดยฉีดวัคซีนรอบจุดเกิดโรค ในสัตว์กลุ่มเสียงทุกตัวในรัศมี 5 กม. รอบจุดเกิดโรคได้ รวมทั้งเร่งรัดควบคุมจ่านวนประชากรสัตว์พาหะน่าโรคที่สำคัญ (สุนัขและแมว) ท่าให้มีจำนวนคงที่หรือลดลงเพื่อลดความเสียงของการแพร่เชื้อโรค โดยการผ่าตัดทำหมัน ส่วนโรคปากและเท้าเปื่อยยังไม่มีรายงานพบสัตว์ป่วยด้วยอาการโรคปากและเท้าเปื่อย