วันที่ 6 ม.ค.63 เวลา 10.00 น.พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.)ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ชั้น 3 ทำเนียบรัฐบาล โดยมี. ม.ร.ว. จตุมงคล โสภณกุล รมว.กระทรวงแรงงาน และผู้แทนหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม พลเอกประวิตร กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ เพื่อให้คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาร่างรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย หรือ TIP Report ประจำปี 2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉบับภาษาอังกฤษที่จะต้องจัดส่งให้สหรัฐฯ ในวันที่ 31 มกราคม 2563 ​จึงขอให้ทุกหน่วยงานจัดทำข้อมูลให้กระชับ ชัดเจน และนำเสนอผลงานที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นข้อเสนอแนะสำคัญ 13 ข้อ ของสหรัฐฯ เช่น การดำเนินการเชิงรุกในการดำเนินคดีค้ามนุษย์ การคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และการคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว โดยมีข้อสั่งการในที่ประชุม ดังนี้ ​1. เห็นชอบในหลักการร่างรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ประจำปี 2563 และขอขอบคุณคณะกรรมการฯ ที่ได้ช่วยกันพิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงรายงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ​2. ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงรายงานให้มีความชัดเจน ครบถ้วน และสมบูรณ์ ตามข้อเสนอแนะของ คณะกรรมการฯ เพื่อกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะได้ปรับปรุงรายงานฯ ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษแบบคู่ขนานต่อไป ​3. เห็นชอบกรอบเวลาในการปรับปรุงรายงานฯ ตามที่ฝ่ายเลขาฯ เสนอ เพื่อจะได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีในวันที่ 15 มกราคม 2563 ก่อนจัดส่งให้สหรัฐฯ ภายในวันที่ 31 มกราคม 2563 ต่อไป พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร./ผู้อำนวยการศูนย์ พิทักษ์ เด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ กล่าวว่า จากการดำเนินการที่ผ่านมาในปี 2562 ประเทศไทย​ยังคงมีความพยายามอย่างจริงจังในการปราบปรามการค้ามนุษย์​โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ในด้านการดำเนินคดี​การกระทำความผิดการค้ามนุษย์​ในรูปแบบต่างๆ​ อาทิ​ การค้าประเวณี​ซึ่งเป็นรูปแบบการค้ามนุษย์​ลดลง​ เนื่องจากการทำงานแบบบูรณาการ​การใช้บังคับกฎหมาย ระหว่าง ​ NGOs และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆทั้งในขั้นตอนการสืบสวนดำเนินคดีและการคุ้มครอง​ผู้เสียหาย​ รวมถึงความผิดฐานค้ามนุษย์​ในรูปแบบการแสวงหาผลประโยชน์​จากการบังคับใช้แรงงาน​ นอกจากนี้​ประเทศไทย​ยังได้รับการปลดสถานะใบเหลือง​ของภาคประมงจากEU อันเป็นผลมาจากการที่สามารถ​ควบคุมและแก้ไขปัญหา​การทำประมงผิดกฎหมาย​ได้​ รวมถึงการลดปัญหา​การค้ามนุษย์​ในรูปแบบการบังคับใช้​แรงงานภาคประมงได้สำเร็จ รวมถึงการใช้มาตรการ​ลงโทษ​เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง​อย่างต่อเนื่อง​และจริงจัง​ และยังมีการให้ความสำคัญความคุมครองผู้เสียหาย​จากการค้ามนุษย์​ โดยมีการเยี่ยวยาเบื้องต้นจากกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์​ ความช่วยเหลือทางด้านต่างๆ​ นอกจากนี้​รัฐบาล​ยังให้ความสำคัญกับการออกกฎหมาย​ในการปราบปรามการค้ามนุษย์​และการคุ้มครอง​แรงงานต่างชาติให้ได้รับสิทธิ์​ตามกฎหมาย​ และมีความร่วมมือป้องกันกับประเทศ​ต่างๆในการปราบปรามการค้ามนุษย์​ และในปี 2563 รัฐบาลได้มีแผนการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข็มข้น โดยเฉพาะการกระทำความผิดฐานบังคับใช้แรงงานหรือบริการให้มีผลการดำเนินคดี และมาตราการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายอย่างรูปธรรม