“มัลลิกา” ชู ผลสำรวจประกันรายได้มาถูกทาง ปชช. เห็นด้วย พร้อมเชื่อมั่นต่อมาตรการแก้ไขปัญหาและการทำงานของรัฐบาล เมื่อวันที่ 5 ม.ค. นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า จากรายงานของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค) กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อมาตรการของรัฐและความคิดเห็นต่อโครงการต่างๆของรัฐบาลสรุปส่งท้ายปี 2562 โดยรายงานต่อนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเผยแพร่เป็นฐานข้อมูลสถิติ ที่เชื่อถือได้ว่า ทางสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ได้ดำเนินการสารวจความเห็น ของประชาชนต่อมาตรการ โครงการ นโยบายของรัฐจานวน 8 เรื่อง แบ่งเป็น 4 กลุ่มมาตรการ ได้แก่ มาตรการสร้างรายได้โดยโครงการประกันรายได้เกษตรกร มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ คือ เบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด มาตรการเศรษฐกิจ คือ มาตรการส่งเสริมการส่งออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวนโยบายEEC และมาตรการด้านสาธารสุข คือ นโยบายการเกี่ยวกับกัญชา ซึ่งผลปรากฎว่าประชาชนเห็นด้วยกับทั้ง 8 เรื่อง โดยเห็นด้วยเกินร้อยละ 50 ในแต่ละเรื่อง ส่วนเรื่องที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับแรกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประชาชนเห็นด้วยสูงถึงร้อยละ 93.3 เนื่องจากเป็นโครงการที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งได้รับการสานต่อและมีการปรับปรุงอัตราการจ่ายเบี้ยงยังชีพจากรัฐบาลต่างๆ เรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโครงสร้างประชากรของไทยมีแนวโน้มเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและดูแลผู้สูงอายุให้สามารถดารงชีวิตในสังคมได้ดีขึ้น ส่วนอันดับสอง คือ โครงการประกันรายได้เกษตรกร ประชาชนเห็นด้วยสูงถึงร้อยละ 87.9 เป็นหนึ่งใน นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในสถานการณ์ที่พืชผลการเกษตรหลายชนิดมีราคาตกต่ำ และกลุ่มอาชีพเกษตรกรเห็นด้วยกับโครงการนี้สูงถึงร้อยละ 93.4 ในขณะที่กลุ่มอาชีพอื่นๆ ก็เห็นด้วยสูงกว่าร้อยละ 80 และอันดับสาม โครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประชาชนเห็นด้วยสูงถึงร้อยละ 83.2 ซึ่ง เป็นโครงการที่ช่วยลดค่าครองชีพและแบ่งเบาภาระของครอบครัวที่มีรายได้น้อยในการเลี้ยงดูบุตรแรกเกิด เป็น ระยะเวลา 12 เดือน รายงาน สนค.ยังระบุถึงผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคสำรวจเดือนตุลาคม 2562 ด้วยว่าปรับตัวดีขึ้นและถือเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนโดยประชาชนเห็นด้วยกับมาตรการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของโดยรวมอยู่ที่ระดับ 46.3 ปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนคือจากระดับ 46.0 ในเดือนกันยายน 2562 และเป็นการปรับตัวสูงขึ้นทั้งความเชื่อมั่นในปัจจุบันและในอนาคต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคตปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 39.8 และ 50.1 มาอยู่ที่ 40.5 และ 50.2 ตามลาดับ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยรวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ปรับตัวสูงขึ้นในลักษณะเดียวกัน "รายงานของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ระบุด้วยว่า ความเชื่อมั่นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดาเนินมาตรการและนโยบายต่างๆของรัฐบาล โดยผู้บริโภค-ประชาชนเห็นด้วยกับมาตรการต่างๆ เกินร้อยละ50 ทั้งในเรื่องการประกันรายได้เกษตรกร มาตรการส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการท่องเที่ยวผ่านโครงการชิมช้อปใช้ รวมทั้งมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลจะนำออกมาใช้ในระยะต่อไป" นางมัลลิกา กล่าว ทั้งนี้ เมื่อให้แยกรายอาชีพ จะพบว่า กลุ่มที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรระดับ 47.3 กลุ่มพนักงานเอกชนระดับ 44.6 กลุ่มรับจ้างอิสระดับ 44.8 และกลุ่มนักศึกษาที่ระดับ 44.2 และทางสนค.ตั้งข้อสังเกตว่าความเชื่อมั่นของกลุ่มนักศึกษาปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือนอีกด้วย และเมื่อให้แยกรายภาค พบว่า ทุกภาคปรับตัวดีขึ้น โดย กรุงเทพฯและปริมณฑลสูงขึ้นจาก 42.0 เป็น 42.2 ภาคเหนือจาก 44.9 เป็น 46.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจาก 48.4 เป็น 48.7 ในขณะที่ภาคกลางและภาคภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นประชาชนทรงตัวที่ระดับ 47.6 และ 45.8 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของความเชื่อมั่นในอนาคตนั่นเอง "ทั้งหมดนี้จึงเป็นทิศทางบวกและเป็นความคิดเห็นประชาชนที่มาจากการสำรวจข้อมูลจริงอย่างละเอียด ที่รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์จะได้นำไปวิเคราะห์เพื่อปรับใช้ต่อนโยบายต่อไป" นางมัลลิกา กล่าว