วิกฤติภัยแล้ง!! น้ำต้นทุนน้อยดันน้ำเค็มได้น้อยลง เตือนซ้ำน้ำทะเลหนุนสูงทั้งเดือน ม.ค.-ก.พ. บางช่วงสูง1.30 เมตร จ่อทะลักเข้าระบบประปา กรมชลฯ เตือน แล้งพีกสุดเดือนมี.ค.-เม.ย.ยังเจอฝนทิ้งช่วง 3 เดือน ขอร้องคนไทยเจอวิกฤติน้ำแล้งของจริงใช้สอยน้ำอย่างประหยัดสุดๆ วันที่ 4 ม.ค. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรประสบภัยแล้งว่า ทุกหน่วยงานต้องบูรณาการร่วมกันเนื่องจากเป็นปัญหาใหญ่ของปีนี้ เบื้องต้นมีการจัดหาแหล่งรายได้ชดเชยให้แก่เกษตรกร และ ช่วยเหลือสนับสนุนให้เกษตรกรไปทำปศุสัตว์ทดแทนก่อน มาตรการทั้งหมดเชื่อว่า ว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างน้อย 30 ล้านคน รวมถึงจะหาแนวทางป้องกันการลักลอบสูบน้ำตามจุดต่างๆ ซึ่งมีการเขียนโครงการเตรียมพร้อมไว้แล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะ รองบประมาณปี 2563 อยู่ เชื่อว่าเมื่องบประมาณผ่าน การจัดการจะรวดเร็วมากขึ้น ด้านดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การแก้ปัญหาน้ำเค็มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการทันทีได้ประสานกับการประปานครหลวง ตลอดเวลาเมื่อรู้ว่าน้ำทะเลจะหนุนสูง กรมชลประทานจะระบายจากเขื่อนเจ้าพระยา 90 ลบ.ม. ต่อ วินาที เพื่อส่งลงมาดันน้ำเค็ม ที่สถานีสูบน้ำดิบสำแล จ.ปทุมธานี รวมถึงจะผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง ส่งต่อคลองพระยาบันลือ 20 -24ลบ.ม. ต่อ วินาที เพื่อช่วยดันน้ำเค็มด้วย "สาเหตุที่แม้จะส่งน้ำจืดดันน้ำเค็มแต่ก็ยังประสบปัญหาน้ำประปาเค็มอยู่ เป็นเพราะ ระหว่างทาง มีน้ำบางส่วนหายไปจากระบบ หมายความว่ามีการลักลอบสูบน้ำตามจุดต่างๆ"อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว ดร.ทองเปลว กล่าวว่า วันนี้ค่าความเค็มของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ที่ 0.22 กรัม ต่อ ลิตร ขณะที่ค่าความเค็มมาตรฐานอยู่ที่ 0.5 กรัม ต่อลิตร หมายความว่า สถานการณ์ขณะนี้ดีขึ้นกว่าช่วงปลายเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา แต่ จากข้อมูลพบว่า วันที่ 7-8 ม.ค.นี้ มีรายงานว่าน้ำทะเลจะหนุนสูง ซึ่งทำให้ขณะนี้ต้องเตรียมพร้อมแบ่งปันน้ำจืดที่เขื่อนเจ้าพระยาเพื่อส่งมาดันน้ำทะเล เนื่องจาก น้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาจะใช้เวลา 2-3 วัน ไหลมาถึงสถานีสูบน้ำคลองสำแล “ให้ประชาชนช่วยกันเฝ้าระวัง ตระหนักการใช้น้ำ โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยา ช่วงสองเดือน ฤดูแล้ง เดือนมี.ค.-เมษ วิกฤติสุด หากเกิดกรณีฝนทิ้งช่วง ค่อยติดตาม ซึ่งกรมอุตุฯคาดการณ์ว่าจะเกิดฝนทิ้งช่วง เช่นเดียวกับปี 62 ตั้งแต่ปลายเดือนมิ.ย.-ก.ค. และมาเดือนส.ค.ปีนี้ ขอให้ทุกคนคอยติดตาม ฟัง ข่าวสารทางราชการ ส่วนข้าวนาปรังปลูกไปจะเสียหาย น้ำไม่พอ ลุ่มเจ้าพระยา ปลูกถึง 1.58 ล้านไร่ ไม่มีแผนส่งน้ำเพาะปลูก 22 จังหวัดไม่เปิดเข้าระบบชลประทาน ยกเว้นติดสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน อาจสูบน้ำไปใช้จึงทำหนังแจ้งท้องถิ่นท้องที่ อบต.ลดการสูบน้ำ ขณะนี้การประปาส่วนภูมิภาค แจ้งว่ามีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 43 จว.ได้นำเครื่องจักรกล รถสูบน้ำไป บริการประชาชนพื้นที่มีปัญหากว่า 2 พันรายการ โดยประชาชนสามารถแจ้งรับบริการหรือแจ้งปัญหาเรื่องน้ำได้ที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขวิกฤติภัยแล้ง ของกรมชลฯสายด่วน1640ได้ตลอด24ชม.ทุกพื้นที่”อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว ดร.ทองเปลว กล่าวว่า ทั้งนี้ ในปี 62-63 กรมชลฯ เสนอ กนช. เห็นชอบ ผันน้ำมาจากลุ่มแม่กลองมาช่วยเจ้าพระยา 850 ล้านลบ.ม. ส่วนจะผันอีก 2 พันล้านลบ.ม. จะดูสภาพน้ำความจำเป็นก่อน สำหรับโครงการผันน้ำจากลำน้ำยวม มาเติมเขื่อนภูมิพล คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมไปดู อยู่ระหว่างออกแบบ ศึกษา อีไอเอ ดร.ทองเปลว กล่าวอีกว่า สภาพน้ำในอางเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง 447 แห่ง ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 46,774 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 61 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 22,942 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี2561 (57,401 ล:าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 75) น้อยกว่าปี2561 จํานวน 10,627 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 20.80 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำ ระบายจํานวน 74.06 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 29,293 ล้าน ลบ.ม. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 43,961 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62 (ปริมาตรน้ำ ใช้การได้ 20,512 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 43) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (53,976 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ร้อยละ 76) น้อยกว่าปี 2561 จํานวน 10,016 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จํานวน 18.30 ลบ.ม. ปริมาณน้ำ ระบายจํานวน 66.52 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 26,966 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยสถานการณ์วิกฤติภัยแล้งปี62/63ว่า จากปริมาณฝนปี 62 ตกตำ่กว่าเฉลี่ยในรอบ 30 ปีถึง 16% ถ้ามองสถิติฝนแล้ง รอบ 60 ปี ถือว่าภัยแล้งปี 62 อยู่อันดับสองและ ปี 22 เป็นอันดับหนึ่ง อันดับสามคือปี 35 ซึ่งปี 63 กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าตั้งแต่เดือนธ.ค.62-เดือนพ.ค.63 ฝนตกต่ำกว่าค่าปกติ 5-10 ดังนั้นปริมาณก็จะเท่ากับปี 62 โดยกรมชลฯได้นำข้อมูลตัวคาดการณ์ของกรมอุตุฯมาบริหารจัดการ ให้เพียงพอสำหรับ3กิจกรรม คืออุปโภค บริโภค รักษาระบนิเวศ-ผลักดันน้ำทะเล ซึ่งการไม่ส่งน้ำทำเกษตร ได้ประกาศงดส่งน้ำทำนาปรังรอบสองล่วงหน้าแล้ว เพราะน้ำต้นทุนไม่พอ ให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนปลูกพืชอื่น หรือจ้างแรงงานโดยกระทรวงเกษตรฯจัดงบจ้างแรงงาน 3.1พันล้านบาท 4.1หมื่นแรงงานทั่วประเทศ ขณะนี้ให้สำนักงานชลประทาน เตรียมรับสมัคร คนงานในพื้นที่ ทำงานซ่อมแซมระบบชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า ปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำเข้าระบบผลิตประปาที่โรงกรองน้ำบางเขน กทม. เนื่องจากสถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี ของการประปานครหลวง ระยะคลองยาว35กม.มาถึงโรงกรองน้ำสามเสน และโรงกรองน้ำบางเขน อยู่ระหว่างกลาง ห่างจากสถานีสำแล 17 กม.ประเด็นอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนสูงเข้าในแม่น้ำเจ้าพระยา จากอ่าวไทย เพราะระยะทางห่างสถานีสำแล 100 กม.ซึ่งจากการติดตามกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เกิดน้ำทะเลหนุนสูงสองครั้งเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 62 ลักษณะการหนุนสองครั้ง ต่อวัน สูง 1.20 เมตร ครั้งละ 3-10 ชม.ทำให้น้ำเค็มค้างอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยานานขึ้นและเหตุการณ์น้ำทะเลหนุนสูงจะเกิดหลายช่วงในเดือนม.ค.-ก.พ. ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า มีการบริหารจัดการสองมาตรการเพื่อไม่ให้ค่าความเค็มเกิน เกณฑ์เฝ้าระวัง0.2กรัมต่อลิตร และเกณฑ์มาตรฐานของค่าความเค็มในการผลิตน้ำประปาต้องต่ำกว่า 0.5 กรัม ต่อลิตร ทั้งนี้ยังมีอิทธิพลน้ำทะเลหนุนสูงช่วงหลัง 22 ธ.ค. ความเค็มขึ้นไปมากกว่า 0.5 กรัม ช่วงเวลา 10-12 น.ประเด็นนี้การจัดการ ได้เร่งนำน้ำเหนือมาผลักดัน เอาน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ระบายมาไม่ต่ำกว่า 70 ลบ.ม.ต่อวินาที ปล่อยระบายจากที่เขื่อนพระหก 5 ลบ.ม.ต่อวินาที “ในวันนี้เพิ่มระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 85 ลบ.ม.ต่อวินาที แต่น้ำยังไม่พอ ได้ผันน้ำแม่กลองมาช่วยเจ้าพระยา ผ่านคลองจระเข้สามพัน คลองสองพี่น้องมาลงแม่น้ำท่าจีน สูบปั๊มน้ำจากท่าจีน ผ่านคลองพระยาบรรบือ สูบออกประตูสิงหนารถ ลงแม่น้ำเจ้าพระยา 24 ลบ.ม.ต่อวินาที ผลักดันน้ำเค็มได้ ทำให้ปริมาณค่าความเค็มที่สถานีสำแล0.3กรัมต่อลิตร ต่ำกว่า 0.5 กรัมต่อลิตร พร้อมนำน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง ผ่านคลองประปามาลงคลองมหาสวัสดิ์ ผลักดันน้ำเค็มตอนล่าง และใช้อีกมาตรการ ปิดประตูระบายน้ำที่คลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อไม่ให้น้ำเค็มขึ้นเจ้าพระยาได้ไว ขณะเดียวกันประสานการประปานครหลวง ช่วงน้ำทะเลหนุน ลดอัตราการสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงที่ความเค็มเกินมาตฐาน จะไม่ส่งผลกระทบกับการผลิตประปา ดังนั้นขอให้มั่นใจมีมาตรการดำเนินการอยู่ในการป้องกันน้ำทะเลเข้าระบบน้ำดิบ"รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าว ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับลิ่มความเค็มที่ยังเกินอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยา ได้ทำให้ความเค็มลดลงมา โดยการเปิดประตูคลองลัดโพธิ์ฯ เมื่อน้ำทะเลลง พร้อมลดจำนวนการสูบเข้าคลองประปา ตรงนี้ ทำให้ค่าความเค็มลดลงด้วยสองวิธีในการบริหารน้ำลักษณะ น้ำต้นทุนน้อย เนื่องเขื่อนเจ้าพระยา ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย ป่าสัก มีน้ำจำกัด 4 เขื่อน รวมเหลือน้ำใช้การได้ 4.6 พันล้านลบ.ม.หรือ 23% ระบายวันละ 18 ล้านลบ.ม. ตามแผน จะมีน้ำใช้ถึงสิ้นเดือนก.ค.63 ใน 3 กิจกรรรม อย่างไรตามปกติฤดูฝนเริ่มเดือนพ.ค.โดยเฉลี่ย แต่ได้วางแผนสำรองน้ำไว้อีก 3 เดือน 2.2 พันกว่าล้าน ลบ.ม.รวมเอาน้ำแม่กลอง มาช่วยแล้ว 800 กว่าล้านลบ.ม. “หากฝนทิ้งช่วง3เดือนพ.ค.ถึงก.ค.มีน้ำสำรองไว้ไม่ทำให้เกิดการขาดแคลน จะไม่เกิดขึ้น นายกฯ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กำชับเรื่องน้ำกินใช้ ให้เพียงพอ และขอช่วยกันน้ำมีน้อยใช้สอยอย่างประหยัด เพราะต้องนำน้ำดิบมาผลิตประปา ไล่น้ำเค็ม นำน้ำมาเจือจาง การประปา จะต้องเตือนประชาชนก่อน ในเรื่องน้ำทะเลหนุนเกิดขึ้นทุกเดือน บางวันหนุนสองช่วง โดยเดือนม.ค.นี้หนุนสูงวันที่ 4-7 ม.ค. หนุน 5 ซม.และวันที่ 9-19 ม.ค.หนุนสูง 1.20-1.30 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางและอีกช่วง 22-30 ม.ค. หนุน 1.20-1.30 เมตร ส่วนเดือนก.พ. หนุน 1 เมตรกว่า วันที่ 9-16 ก.พ."ดร.ทวีศักดิ์ กล่าว รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ช่วงฤดูแล้งเต็มตัวจะเป็นเดือนมี.ค. และเม.ย. อย่างไรก็ตาม ทุกช่วงจะต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มข้น ควบคุมคุณภาพน้ำผลิตน้ำปะปา ปล่อยระบายจาก4เขื่อนละ 18 ล้านลบ.ม.ต่อวัน กินใช้ 7 ล้านลบ.ม. สำหรับ 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา รักษาระบบนิเวศคุมคุณภาพน้ำ 8 ล้าน ลบ.ม. การเกษตรต่อเนื่อง 3 ล้าน ลบ.ม. ส่วนอ่างวิกฤติ น้ำใช้การ ต่ำกว่า 30% มี 14 แห่ง เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แม่กวง กระเสียว แม่มอก จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำพะเพลิง ลำแซะ ลำนางรอง ป่าสัก ทับเสลา สียัด หนองปลา ไหล