“...๑) มีทัศนคติที่ดีที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง๒) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง๓) มีคุณธรรมและ ๔) มีงานมีอาชีพสามารถเลี้ยงตนเองเลี้ยงครอบครวัได้และเป็นพลเมืองที่ดี...” พระบรมราโชบายด้านการศึกษามุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน4 ด้านในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงสืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในการสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง นายสมประสงค์ สิงห์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาประธานเปิดงาน “เปิดบ้านช่างทองหลวง สร้างสะพานเชื่อมโยงการศึกษาสู่สายอาชีพภายใต้ความร่วมมือของอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษากลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ” ณ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 18 ธค.62เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญการศึกษาด้านอาชีวศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนด้านช่างฝีมือและนักเทคโนโลยี รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นย้ำน้อมนำศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริสนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายและจุดเน้นการขับเคลื่อนการจัดอาชีวศึกษา มุ่งให้จัดการศึกษาในระบบทวิภาคีเป็นสำคัญให้นักศึกษาได้มีทักษะเกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีการปลูกฝังหลักคุณธรรมนำปฏิบัติอย่างเคร่งครัดไม่ว่าจะเป็นความเพียร ความอดทน ทำกิจกรรมด้วยความมุ่งมั่นทำงานร่วมกับคนอื่นด้วยความรักความเมตตาสามัคคี รู้จักให้อภัย ให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันจนสามารถ ทำให้ได้บุคคลากรที่มีความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center ) โดยเฉพาะในการพัฒนาและผลิตกำลังคนอาชีวศึกษากลุ่มอาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ “กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง ได้จัดโครงการเปิดบ้านช่างทองหลวง สร้างสะพานเชื่อมโยงการศึกษาสู่สายอาชีพ ภายใต้ความร่วมมือของอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดการศึกษา สาขาวิชาช่างทองหลวงและสาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณี ให้เป็นที่รู้จักแก่นักเรียนที่สนใจศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การแข่งขันทักษะงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่การเรียนสายอาชีพ เปิดตลาดนัดศิลปกรรมจำหน่ายเครื่องประดับของที่ระลึก ผลงานนักเรียน นักศึกษา การฝึกอาชีพระยะสั้นทำเครื่องประดับ การแสดงนิทรรศการผลงานศิลปหัตถกรรมเครื่องประดับแบบโบราณและเครื่องประดับสมัยใหม่”นายสมประสงค์กล่าว ด้าน นายพรอนันต์ ภักดีบุญ ผู้อำนวยการกาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง กล่าวว่า กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง จัดการศึกษาหลักสูตรอาชีวศึกษาประเภทวิชาศิลปกรรม ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรี 2 วุฒิการศึกษา คือ ปริญญาตรีเทคโนโลยีบัณฑิต สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร และศิลปบัณฑิต สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สาขาวิชาช่างทองหลวงและสาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณี เพื่อผลิตกำลังคนรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม กลุ่มอาชีพอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งได้ร่วมพัฒนาหลักสูตร พัฒนาบุคลากรพัฒนาผู้เรียนสนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษา 4 ด้านในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวปลูกฝังหล่อหลอมนักเรียนนักศึกษาให้เดินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมการแข่งขันทักษะ เข้าชมนิทรรศการ และร่วมฝึกอาชีพ กว่า 1,500 คน ณ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง วิทยาเขตศาลายา ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ผลพวงอันเกิดจากการจัดการเรียนการสอนอาชีวะสายอัญมณีและเครื่องประดับโลหะได้เกิดโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นอาชีพส่วนประกอบการทำเครื่องประดับโลหะทุกชนิดประเภทคือน้ำยาล้างขัดเครื่องประดับจากวัสดุธรรมชาติโดยนศ.ปวส.สาขาช่างทองหลวงอย่างนส.กรณิศ อาจคงหาญ นส.พิชญธิดา หมวกทอง นส.วาสนา กวยระคารเป็นต้นมีอ.รดาพร พยัฆฑา สอนวิทยาศาสตร์เป็นครูที่ปรึกษาร่วมกันศึกษาทำ ทดลอง พิสูจน์จนได้น้ำยาขัดเครื่องประดับอินทรีย์หรือธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพไม่ต่างสารเครีแต่เป็นมิตรกับธรรมชาติไม่ก่ออันตรายกับร่างกายโดยทำมาจากผลมะคำดีควายที่ยังพอหาได้ไม่ยากในท้องถิ่น ราคาถูก วิธีการทำไม่ยุ่งยากโดยครูรดาพรบอกว่าให้นักศึกษาไปศึกษาแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9 หลักการใช้ชีวิตปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้วก็เรื่องการศึกษาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ด้วยวัสดุที่มีอยู่ใกล้ตัวในท้องถิ่น เพื่อประหยัดและคนทั่วไปสามารถเรียนรู้เอาไปทำเอาไปใช้ได้ “วันนี้ผลผลิตดังกล่าวของนักศึกษาทำให้เกิดรายได้ขึ้นระหว่างเรียน ถ้าสนใจจะลองเอาไปใช้ดูถึงประสิทธิภาพในการขัดเครื่องประดับทั้งทอง นาค เงิน โลหะก็ติดได้ที่กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหวง ศาลายา นครปฐม”ครูรดาพร พยัฆฑาบอก กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง จัดตั้งขึ้นโดยพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อผลิตบุคลากรด้านช่างทองหลวงและช่างทองโบราณให้เป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ ซ่อม สร้าง และสืบสานงานศิลปะวัฒนธรรมของไทยรวมถึงการผลิตช่างฝีมือที่มีคุณภาพด้านงานเครื่องประดับสำหรับภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับกระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2538 โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้อาคารเครื่องสูงอาคารที่พักข้าราชบริพาร (เต๊ง) และอาคารโบราณข้างหมวดวรอาสน์ด้านหลังพระบรมมหาราชวังเป็นอาคารเรียน และในปีการศึกษา 2545 ได้ขยายวิทยาเขตแห่งที่ 2 ที่ตำบลศาลายาอำเภอพุทธมณฑลจังหวัดนครปฐม การจัดการเรียนการสอน หลักสูตร เป็นแบบฐานสมรรถนะ โดยเน้นรูปแบบความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักพระราชวัง สมาคมช่างทองไทย และสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับอีกทั้งความร่วมมือจากช่างฝีมือ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอน และฝึกประสบการณ์ให้แก่นักเรียนนักศึกษา ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected]