จับตา 2 กรณีร้อน ขยายเวลาก่อสร้างรัฐสภาใหม่กว่า 1 ปี รัฐเอื้อชิโนทัยหรือไม่? และกรณี ทร.สู้อู่ตะเภาหวังปัดตกเอกชนเหลือแข่งเพียง 2 ราย ไม่ได้เอื้อใคร จริงหรือ?? กรณีแรก การขยายเวลาสร้าง "สัปปายะสภาสถาน" หลายฝ่ายมองว่าจะเข้าข่ายรัฐเอื้อเอกชนหรือไม่? เพราะมีขยายเวลาให้ถึง 382 วัน ล่าสุด เลขาสภาผู้แทนราษฎร ปัดเอื้อเอกชน และสภายังไม่เสียค่าปรับให้ บ.ซิโน-ไทย แจงเหตุขยายเวลาเพราะเบิกงบไอทีช้า พร้อมเผยห้องประชุมสุริยันทันใช้สมัยประชุมนี้ 11 ธ.ค. 2562 นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงถึงการขยายสัญญา โครงการก่อสร้างอาคารรฐสภาแห่งใหม่ครั้งที่ 4 ออกไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ว่าความจริงมีการขอขยายเวลามา 504 วัน แต่เมื่อหารือกับคณะที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ จึงตัดคำขอที่ไม่จำเป็นออกไป และมีมติขยายเวลาให้เพียง 382 วัน เพราะมองว่าเป็นความผิดพลาดของทางส่วนราชการเองที่ไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณของระบบไอซีทีได้ทันตามกรอบเวลาในเดือนมิถุยายนปี 2561 ตามแผน แต่กลับมาเบิกได้ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน  ทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างผู้รับเหมาล่าช้ามาถึงปี 2562  ซึ่งในกระบวนการก่อสร้างต้องให้ บ.ซิโน-ไทย หยุดรอกระบวนการ เพื่อรอให้บริษัทที่รับผิดชอบวางระบบไอซีทีเข้ามาวางระบบ ควบคู่กับการก่อสร้างไปพร้อมกัน    “ดังนั้นขอยืนยันว่าการตัดสินใจในเรื่องนี้เป็นไปด้วยความรอบคอบ และไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนตามที่มีการกล่าวหา และความจริงในขณะนี้ถึงเวลาที่ต้องเสียค่าปรับให้กับ บ.ชิโนทัยแล้ว แต่ยังขอสงวนสิทธิ์ไม่จ่าย อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าการขยายเวลาครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่ แต่งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ของสภาจะทุ่มให้กับบริษัทชิโนทัยทั้งหมด เพื่อให้เสร็จทันสิ้นปี 2563 ไม่เช่นนั้นทั้งตนและบริษัทชิโนไทย ตายแน่” เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรยืนยันด้วยว่า ห้องประชุมสุริยัน ซึ่งเป็นห้องประชุมของสภาผู้แทนราษฎรจะเสร็จทันสมัยประชุมนี้ที่จะครบกำหนดในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยทางบริษัทชิโนทัยแจ้งว่าจะก่อสร้างอาคารทั้งหมดเสร็จในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ จากนั้นจะติดตั้งระบบไอซีที และสาธารณูปโภคอีก 30 วัน ขณะที่นายพินิจ พูลเกิด ตัวแทนบริษัทที่ปรึกษา ยืนยันว่าการพิจารณาเป็นไปด้วยความรอบครอบ และเป็นไปตามข้อกฎหมาย ไม่ได้ฮั้วกันตามที่เป็นข่าว เพราะไม่ไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว และกรณีนี้หากไม่รอบคอบจะเป็นเหตุให้ทางบริษัทเอกชนฟ้องร้องค่าเสียหายมากกว่าเดิมได้ และอีกกรณีที่สังคมจับตา คือการที่ ทร. ในฐานะกรรมการ การประมูลโครงการประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ ออกมาสู้เรื่องขั้นตอนการรับเอกสารประมูลไม่ชัดเจน แต่พยายามชี้กลุ่มซีพีส่งซองเอกสารไม่ทัน ทั้งที่กระบวนการตรวจรับต่อเนื่องจนถึงกว่า 6 โมงเย็น หวังตัดสิทธิ์ ผู้แข่งขัน 1 ราย เพื่อเหลือคู่แข่งราคาเพียง 2 ราย ทำให้สังคมเป็นห่วง หากทำสำเร็จ ประเทศชาติจะเสียประโยชน์หรือไม่? พร้อมตั้งคำถามว่าทำไมถึงไม่อยากให้เทียบราคา 3 ราย แล้วเลือกรายที่ดีที่สุด โดยผู้ประมูล 3 ราย ที่ยื่นประมูล ประกอบด้วย 1. กลุ่มกิจการค้าร่วมบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร นำโดย กลุ่มบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซี.พี. และพันธมิตรอีก 3 บริษัท ได้แก่ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บมจ.ช.การช่าง และบมจ.บี.กริม เพาเวอร์ และ บจ.Fraport AG Frankfurt Airport Service Worldwide จากประเทศเยอรมนี 2. กลุ่มกิจการร่วมค้า BBS นำโดย บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น, บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และบมจ.การบินกรุงเทพ 3. กลุ่มแกรนด์คอร์โซเตียม นำโดย บมจ.แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ และมีบมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น กับบมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตาดูทั้งกรณีต่ออายุสภา และกรณีอู่ตะเภา ว่าใครจะเอื้อใครจริงหรือไม่ และสุดท้ายใครจะได้ประโยชน์...