1. SSF มาแทนที่ LTF 1.1 LTF แบบเดิมลงทุนได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 5 แสน แต่ SSF ตัวใหม่ลงทุนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท เดิม = min [15% ของรายได้ , 5 แสนบาท] ใหม่ = min [30% ของรายได้ , 2 แสนบาท] จากสมการข้างบน แปลว่า "ของใหม่ จะเปิดโอกาสให้คนรายได้ปานกลางถึงน้อยได้ซื้อมากขึ้น แต่สำหรับคนรายได้สูงจะสามารถซื้อได้น้อยลง" ถือว่าเป็นการจูงใจให้คนทั่วไปได้เพิ่มเพดานการซื้อได้มากขึ้น ส่วนคนที่รายได้สูงนั้นจะโดนกดเพดานให้ซื้อลดหย่อนภาษีได้่ต่ำลง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนคนที่รายได้ถึง 277,777 บาท ต่อเดือนขึ้นไป ถึงจะแตะโดนเพดานลดหย่อนยังได้ถึง 5 แสนบาท แต่ของใหม่เดี๋ยวนี้ คนที่มีรายได้ตั้งแต่ 55,555 ต่อเดือนขึ้นไป ก็แตะเพดาน 2 แสนบาทแล้ว 1.2 LTF ของเก่า ถือครอง 7 ปีปฏิทิน และต้องลงทุนในหุ้นเท่านั้น แต่ของ SSF จะต้องถือ 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ และลงทุนในอะไรก็ได้ แปลว่า แรงจูงใจที่จะให้คนลงทุนในหุ้นจาก LTF นั้นจะน้อยลงไป แต่ถือว่าเพิ่มทางเลือกให้กับคนทั่วไปให้เลือกซื้อสินทรัพย์ที่เสียงน้อยได้ คณิตศาสตร์ประกันภัย, ABS, กองทุนลดหย่อนภาษี, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ประกันบำนาญ, ปรับเบี้ยเพิ่ม, LTF, SSF, RMF, หุ้น, การลงทุน, ประกันชีวิต 2. RMF แบบใหม่มาแทนที่แบบเก่า โดยเพิ่มเพดานจาก ลงทุนได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท ไปเป็น ลงทุนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท (เพิ่มทางเลือกให้คนทั่วไปสามารถลงเงินไปกับ RMF ได้สูงขึ้น) 3. เงื่อนไขสุดพิเศษที่มีขึ้นมาสำหรับคนมีรายได้สูง คือ เมื่อก่อน กอง LTF กับ RMF ถือว่าต่างกองต่างมีเงื่อนไขต่างกัน เหมือนตระกร้าคนละใบกัน แต่เงื่อนไขใหม่นี้ จะมีเพิ่มว่า ถ้าซื้อรวมกันแล้วทั้งหมดก็ห้ามลดหย่อนเกิน 5 แสนบาท (จากที่เมื่อก่อนซ์้อ LTF ได้ 5 แสน และ RMF ได้ 5 แสน รวมเป็น 1 ล้านบาท) ซึ่งเป็นเพดานสำหรับคนรายได้สูงโดยแท้ ผมว่าทางกระทรวงการคลังออกแบบโครงสร้างของ SSF และ RMF มา เพื่อเป็นรอยต่อเปลี่ยนถ่ายจากของเก่ามาเป็นของใหม่ได้อย่างแยบยล แต่ที่เห็นพิเศษมาในครั้งนี้คือ การนำ SSF ไปรวมในวงเงินการลดหย่อนกับ RMF ด้วย ทำให้เพดานของคนรวยที่เคยลดหย่อนได้สูงสุดถึง 1 ล้านบาทต่อปี ลดลงเหลือเพียง 5 แสนบาทต่อปี (จากการคำนวณของผมแล้ว ใครที่เงินเดือนเกิน 1.5 แสนต่อเดือนจะโดนผลกระทบอย่างจัง และจะได้ลดหย่อนภาษีได้น้อยลง) คณิตศาสตร์ประกันภัย, ABS, กองทุนลดหย่อนภาษี, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ประกันบำนาญ, ปรับเบี้ยเพิ่ม, LTF, SSF, RMF, หุ้น, การลงทุน, ประกันชีวิต อนึ่ง ต้องอย่าลืมว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประกันบำนาญนั้น ก็ถูกรวมอยู่ในตระกร้าเดียวกับ RMF ในเงื่อนไขเดิมอยู่แล้ว ซึ่งหมายถึงว่า ใครที่จ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว หรือมีการจ่ายเบี้ยประกันบำนาญทุกปีอยู่แล้ว จะทำให้ไม่มีส่วนเหลือที่จะไปลงใน SSF หรือ RMF เลย (เพราะ เพดานตอนนี้ โดนลดมาครึ่งนึง จาก 1 ล้าน เหลือ 5 แสนบาท) สำหรับคนที่ถามว่า ถ้าเพดานถูกลดลงมาอย่างนี้แล้ว จะเลือกซื้ออะไรดี ระหว่าง SSF, RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, และ ประกันบำนาญ ถ้าอายุเกิน 45 ปีแล้ว SSF ไม่ควรเลือกครับ เพราะจะต้องถือนานกว่า 10 ปี ในกรณีนี้ RMF ดีกว่าครับ ถ้าเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น บทความจะถูกลดลงไป เพราะถ้าเปลี่ยนบริษัทก็ต้องทำเรื่องเอกสารย้ายกองตามกันไป และไม่คล่องตัวเท่า RMF ถ้าประกันบำนาญ ก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะช่วงนี้ดอกเบี้ยขาลง แบบประกันบำนาญยังเป็นเบี้ยเดิมอยู่ อนาคตเบี้ยประกันจะแพงมากขึ้นในอนาคต ตอนนี้สามารถล็อคราคาเบี้ยที่จ่ายตรงนี้ไว้ไปได้อีกหลายปี แล้วถ้า SSF และ RMF นั้นจะท้าทายกว่าเพราะเลือกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่จะลงทุนได้ว่าจะเสี่ยงมากหรือเสี่ยงน้อย แต่ถ้าใครไม่ค่อยอยากไปตามดูว่าในแต่ละช่วงควรสับเปลี่ยนกองอย่างไรบ้าง ก็อาจจะไปมองหาพวกการันตีแบบประกันบำนาญได้เช่นกัน อนึ่ง ยังดีอยู่ที่ ประกันชีวิต ลดหย่อนได้ 1 แสนบาท เป็นส่วนลดหย่อนที่แยกได้ต่างหากอยู่แล้วครับ ไม่ได้เอามาปนกับ SSF / RMF / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / ประกันบำนาญ แต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้ ประกันชีวิตแบบเก่ากำลังยกเลิกและทุกบริษัทกำลังปรับเบี้ยเพิ่มในปีหน้า เนื่องจากดอกเบี้ยขาลงระยะยาว (ลงทุนได้น้อยลง เบี้ยต้องแพงขึ้น เป็นเรื่องธรรมดา) " สุดท้ายแล้ว อย่าลืมว่า ใครที่เสียภาษีได้เยอะ ถือว่าเป็นคนโชคดีครับ ให้เราภูมิใจว่าเรามีรายได้มากพอให้เสียภาษีครับ ^^ " ขอให้ทุกคน "โชคดี" ครับ แหล่งที่มา​ : แหล่งที่มา : https://actuarialbiz.com/th โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย คุณวุฒิระดับเฟลโล่ อาจารย์พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (อาจารย์ทอมมี่) นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย