ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย ใครจะได้มาเป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรคนต่อไป วันที่ 12 ธันวาคมนี้ก็จะได้รู้กันแล้ว แน่นอนการเปลี่ยนแปลงผู้นำของชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งย่อมจะมีผลกระทบต่อประเทศทั้งหลายในโลกนี้ ดังนั้นการนำเอาการแข่งขันกันในครั้งนี้มาวิเคราะห์กันเพื่อเป็นแนวทางในการวางนโยบายต่างประเทศ หรือเตรียมตัวเตรียมใจกันไว้ก็น่าจะเป็นการดีกว่า การนอนหลับไม่รู้นอนคู้ไม่เห็น เริ่มจากการวิเคราะห์นายบอรีส จอห์นสัน หัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม เขาเป็นคนที่จัดว่าเป็นพวกขวาสุดโต่ง ซึ่งมีความเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ เหยียดเพศ และเหยียดศาสนา ซึ่งเป็นแนวของพวกขวาสุดโต่ง จุดหาเสียงสำคัญของนายบอรีส ก็คือการออกจากสหภาพยุโรป ที่เรียกว่า Brexit เพราะขวาตกขอบเชื่อกันว่าคนอังกฤษในสหราชอาณาจักรจะให้การสนับสนุนพรรคอนุรักษ์นิยมที่บัดนี้ถูกครอบงำโดยพวกขวาจัด เหตุที่เชื่ออย่างนั้น เพราะผลจากการลงประชามติประชาชนกว่า 17 ล้านคน ให้การสนับสนุนให้ออกจากการรวมกับสหภาพยุโรป จึงทำให้คะแนนเสียงเกิน 50% ของผู้มาใช้สิทธิ แม้ว่าต่อมาจุดยืนของขวาสุดโต่งจะเบี่ยงเบนไปจากเดิม คือ จะออกจากสหภาพยุโรป โดยไม่มีข้อตกลงใดๆ เอาเข้าจริง จากการขัดขวางของสภาผู้แทนราษฎรจึงต้องยอมไปทำข้อตกลงกับยุโรป เพื่อไม่ให้การแยกตัวส่งผลกระทบรุนแรงเกินไป ประเด็นนี้นายบอรีส จึงได้ยกเป็นข้ออ้างว่ารัฐสภานั้นขัดแย้งกับมติของประชาชน จึงได้ให้มีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้เสียงประชาชนเป็นคนตัดสิน อย่างไรก็ตาม Brexit หรือการออกจากสหภาพยุโรปนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่แรงกระตุ้นที่ทำให้ประชาชนออกเสียงให้ถอนตัวจากยุโรปนั้นถูกทำให้ดูรุนแรงเกินจริง เช่นภัยจากการก่อการร้าย และภัยที่จะเกิดจากผู้อพยพที่จะต้องรับเข้ามาตามโควตาที่ยุโรปจัดสรรให้ และการเกิดผู้อพยพจากตะวันออกกลางก็มาจากการแทรกแซงส่วนหนึ่งของอังกฤษนั่นเอง เพื่อไปเอาน้ำมันเขา นอกจากนี้สหภาพกรรมกรบางส่วน และผู้ใช้แรงงานจริง มองว่าการเปิดเสรีแรงงานจะทำให้สหภาพกรรมกรขาดอำนาจต่อรองในเรื่องสวัสดิการและผู้ใช้แรงงานบางส่วนมองว่าค่าแรงลง จึงได้หันไปสนับสนุน Brexit ในทางตรงข้ามมีบางท่าน เช่น อดีตผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยม อย่างนายเดวิด คาเมลอน ต่างเชื่อกันว่าคนอังกฤษจะยังคงสนับสนุนการอยู่ร่วมกับยุโรป จึงวางแผนใช้การลงประชามติเพื่อกำจัดพวกขวาสุดโต่งอย่างนายบอรีส จอห์นสันและพวก แต่ผิดคาดเพราะประชาชนลงมติให้ออกเกิน 50% นายบอรีสจึงผงาดขึ้นมาภายหลังที่วางแผนดัดหลังนางเทเรซาจนต้องลาออกไป ดังนั้นนายบอรีส จอห์นสัน จึงพยายามบีบให้นายเจรามี โคล์บิน หัวหน้าพรรคกรรมกรที่เป็นคู่แข่งสำคัญออกมาประกาศว่าจะอยู่ฝ่ายเอาเบรกซิทหรือไม่เอาเบรกซิท เพราะมีแต่เสียกับเสีย แต่นายเจรามี โคบินก็รู้ทันไม่ประกาศชัดเจน แต่บอกว่าเขามีขั้นตอนที่จะมีการจัดให้ลงประชามติใหม่หลังจากที่เขาได้รับเลือกเป็นนายกฯ และจะได้มีการเจรจาต่อรองกับยุโรปใหม่อีกครั้ง โดยในการลงประชามติในครั้งนี้จะได้แจ้งให้ผู้ออกเสียงได้รับทราบข้อตกลงกับยุโรปด้วย เพื่อให้โอกาสประชาชนได้ตัดสินใหม่ อย่างไรก็ตามการไม่ประกาศชัดเจนอย่างนี้ก็อาจกลายเป็นจุดอ่อนของนายเจรามี เพราะมีสหภาพกรรมกรบางส่วนที่ต้องการให้แยกตัว ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว แต่ข้อดีคือ ให้ประชาชนมีสิทธิออกเสียงด้วยข้อมูลการต่อรองที่ชัดเจนขึ้น ไม่เหมือนของเดิม ที่ต้องขึ้นกับรัฐบาลเท่านั้น คู่แข่งขันครั้งนี้ถือว่าอยู่กันคนละสุดขั้วจริงๆ เพราะนายเจรามี โคบินเป็นซ้ายสุดโต่ง ที่ได้ประกาศนโยบายด้วยแผนงานใหญ่ที่จะต้องใช้เงินถึงหนึ่งแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท โดยเงินเหล่านี้จะได้จากการเก็บภาษีคนรวยที่เสวยสุขมานาน กับรัฐบาลอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนคนรวย และอยู่มานานถึง 9 ปี นับจากนายโทนี แบลร์ ประเด็นนี้แน่นอนคนรวยย่อมเดือดร้อนเสียผลประโยชน์ จึงต้องพยายามต่อต้านนายเจรามี แต่คนยากจนนั้นย่อมเห็นด้วย เพราะนายเจรามีต้องการเงินมายึดคืนการรถไฟ การประปา ระบบการศึกษา และระบบประกันสุขภาพที่ถูกแปลงสภาพไปเป็นเอกชนในช่วงของพรรคอนุรักษ์นิยม สื่อกระแสหลักที่เป็นของนายทุน จึงพยายามลดความน่าเชื่อถือของนายเจรามี ด้วยวิธีการต่างๆ แน่นอนเบื้องหลังก็ต้องมีตระกูลรอธไชล์ที่ยึดกุมธนาคารและสื่อกระแสหลักต่างๆ เป็นผู้ชักใยในนามขบวนการไซออนิสต์ นายเจรามี โคบิน จึงนิยมหาเสียงโดยปราศรัยกับประชาชนโดยตรงและการไปพบปะกับมวลชนที่ต่างๆ ซึ่งก็เหนี่อยกว่าหาเสียงทางทีวี แต่ได้ความจริงใจ และได้การสื่อโดยตรงกับประชาชน ในช่วงโค้งสุดท้ายนี้ นายบอรีส จอห์นสัน จึงพยายามโจมตีนายเจรามี โคบินว่า จนบัดนี้ยังไม่กล้าประกาศตนว่าจะเอาเบรกซิทหรือไม่เอาเบรกซิท แต่นายเจรามีก็ตอบโต้ว่านั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรจึงจะกอบกู้เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และเกิดผลประโยชน์กับสามัญชนโดยทั่วไป ไม่ใช่ไปประเคนประโยชน์ให้คนชั้นสูงเป็นส่วนใหญ่ การประกาศโครงการใหญ่ในครั้งนี้นับว่าเป็นการพลิกประวัติศาสตร์ของพรรคกรรมกรทีเดียว เพราะในช่วงหลายสิบปีมานี้ พรรคกรรมกรไม่เคยทำและพรรคกรรมกรก็พ่ายแพ้ที่จะจัดตั้งรัฐบาลมาตลอด 9 ปี หันมาดูพรรคการเมืองขั้วที่ 3 อีกพรรค คือ พรรคเสรีประชาธิปไตย (The Liberal Democratics) ซึ่งมักจะเป็นพรรคที่เข้ามาสอดแทรกในการจัดตั้งรัฐบาลผสม คราวนี้เธอคือนาง Jo Swinson ประกาศว่าเธอจะนำพรรคเสรีประชาธิปไตยเข้าร่วมกับพรรคอนุรักษ์นิยม ถ้านายบอรีส จอห์นสันจะยอมรับว่าจะจัดให้มีการลงประชามติให้ใหม่ ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะให้นายบอรีส จอห์นสัน ยอมรับ ยกเว้นคะแนนปริ่มน้ำจริงๆ ในขณะเดียวกับนางโจ สวินสัน ก็ปราศรัยโจมตีนายเจรามีด้วยเรื่องที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เช่น นายเจรามีจะกดปุ่มทำสงครามนิวเคลียร์หรือไม่หากอ้างว่าเป็นผู้รักสงบ ด้วยเรื่องปลีกย่อยเหล่านี้ผู้สันทัดกรณีก็คาดว่าเธอคงแพ้การเลือกตั้ง แม้ในเขตของเธอเอง ที่สก๊อตแลนด์ที่เป็นเขตที่สงครามนิวเคลียร์เป็นความอ่อนไหวของประชาชน ผู้สันทัดกรณีจึงประเมินว่าเธอน่าจะสอบตกและเสียตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกด้วย เป็นไงครับการเมืองของอังกฤษ เขาแข่งขันกันที่นโยบาย แต่ของเราแข่งขันกันด้วยการแจกเงิน แต่ก็ต้องให้โอกาสประชาชนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง เพราะที่ผ่านมาประชาชนถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการรับรู้รับเห็นการทำงานรัฐบาลเลย และไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานของรัฐบาล มิหนำซ้ำยังมีการรัฐประหารขั้นจังหวะถึง 20 ครั้ง แล้วประชาชนจะพัฒนาตนเองด้านการเมืองอย่างไร ในเมื่อมันขาดช่วงมาตลอด อย่าไปมองแต่ว่าการเลือกตั้งมันวุ่นวาย หรือเผด็จการมันทำให้บ้านเมืองเรียบร้อย ใช่ครับมันก็เรียบร้อยโรงเรียนจีนไงครับ หากบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยกันจริงๆ อย่าไปดูที่การเลือกตั้ง แต่ต้องดูว่าอำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชนหรือไม่ นี่ก็คงถูกค่อนขอดว่าเป็นความเพ้อฝัน ทว่ามันเป็นความจริงที่ถูกมอมเมาว่าเป็นความฝันจากผู้ปกครองที่ไม่ยอมปล่อยวางอำนาจและผลประโยชน์ แต่อย่างว่าแหละครับ ขนาดเพื่อนผมคนหนึ่งเป็นนักเขียนอาวุโส ท่านก็ยังเชื่อว่าประชาธิปไตยมันทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย สู้ให้ทหารปกครองไม่ได้ บ้านเมืองเรียบร้อย ส่วนนักเขียนรุ่นน้องอีกคนก็เชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อเข้าสู่อำนาจ ไม่ใช่อุดมการณ์ทางการเมือง แถมอ้างนักวิชาการฝรั่งด้วย แต่เมื่อไปสืบค้นดูแล้วนักวิชาการท่านนั้นบอกว่าประชาธิปไตยที่มีเพียงการเลือกตั้งแค่ไม่กี่นาที มันเป็นเพียงเครื่องมือเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง โดยประชาชนมิได้มีส่วนร่วมตลอดการเข้าครองอำนาจ นั่นแหละคือการนำประชาธิปไตยมาใช้เป็นเครื่องมือด้วยขบวนการเลือกตั้ง หากจะเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองตามความเหมาะสม และสามารถตรวจสอบถ่วงดุลได้