วันที่ 1 ธ.ค.62 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ ให้สัมภาษณ์กรณีที่สภาฯล่มในการพิจารณาตั้งกรรมาธิการวิสามันศึกษาผลกระทบคำสั่งมาตรา 44 ว่า สาเหตุหลักมีอยู่ 2 อย่างคือ รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลไม่ต้องการให้มีการตั้งกรรมาธิการดังกล่าวขึ้น แต่เสียงไม่เพียงพอ เมื่อแพ้แล้วพยายามนับคะแนนใหม่ ฝ่ายค้านก็ไม่เข้าร่วมประชุม ถ้ารัฐบาลมาประชุมบ้างไม่มาประชุมบ้างเช่นนี้ ก็ไม่สามารถประชุมสภาฯได้อีกระยะหนึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาฯ ซึ่งนำไปสู่สาเหตุที่ 2 คือ อาจเป็นความตั้งใจของผู้มีอำนาจของรัฐบาล ที่ต้องการทำให้ภาพพจน์สภาฯเสียหาย ทำให้เห็นว่า ระบบทำไม่ได้ ทั้งที่ความจริงแล้วการประชุมสภาฯได้หรือไม่เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลทั้งนายกฯ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ให้สภาฯล้มอีกคือ รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้มีการตั้งกรรมาธิการดังกล่าวขึ้น เพราะเรื่องนี้มีความเสียหายหลายด้าน เพราะคำสั่งมันมีสภานะเป็นกฎหมายทำให้กฎหมายปกติมีปัญหาทางปฏิบัติมากจึงต้องศึกษาแก้ปัญหาร่วมกัน นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ส่วนความขัดแย้งรอยร้าวในรัฐบาลที่เกิดขึ้นว่า ปัญหาสำคัญมาจากพรรคร่วมที่ต่างฝ่ายต่างชิงดีชิงเด่นทำในสิ่งที่ได้คะแนนเข้าพรรคตัวเอง ในขณะที่นายกฯไม่มีความเข้าใจในการทำงานกับพรรคร่วม ที่เป็นห่วงกันว่ารัฐบาลจะล้มนั้นไม่น่าห่วงหาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ยังคุมส.ว.ได้ก็ไม่มีใครทำอะไรพล.อ.ประยุทธ์ ได้ ถึงอย่างไรก็กลับมาเป็นนายกฯได้อยู่ดี แต่ปัญหาคือการขาดการนำที่ดีเป็นผลเสียงต่อประเทศ เช่นการแบนสารพิษอันตรายก็ขาดการเตรียมการล่วงหน้า พอมายกเลิกการแบนก็ไปคนละทิศคนละทางและนายกฯก็ทำอะไรไม่ได้เลย อีกเรื่องที่สำคัญคือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ที่แต่ละกระทรวงไปคนละทิศละทาง มาตรการของกระทรวงการคลังก็แจกแล้วแจกอีกไม่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตการจ้างงาน กระทรวงคลังกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯก็ทำกันไป เป็นมาตรการกระทรวงการคลังขาเดียว ทั้งที่กระทรวงการคลังต้องดูมาตรการการคลังที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงหลักๆทั้งหลายด้วย ดังนั้น นายกฯต้องหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงกระทรวงด้านเศรษฐกิจทั้งหมดเพื่อวางระบบใหม่ให้ประสานเชื่อมโยงกัน ซึ่งถือว่ายากแต่ต้องรีบทำไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหาย พล.อ.ประยุทธ์ ต้องปรับการทำงานใหม่หมด ถ้ารับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจไม่ไหวก็ให้คนอื่นทำแทนแล้วมีอำนาจสั่งทุกกระทรวงได้จะเป็นการผ่อนหนักเป็นเบา การจะนัดมีตติ้งพรรคร่วมยังไม่เพียงพอเพราะเวลานี้เศรษฐกิจเสียหายยับเยือนต้องการอะไรมากกว่านั้น อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติ ให้สัมภาษณ์กรณีที่สภาฯล่มในการพิจารณาตั้งกรรมาธิการวิสามันศึกษาผลกระทบคำสั่งมาตรา 44 ว่า สาเหตุหลักมีอยู่ 2 อย่างคือ รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลไม่ต้องการให้มีการตั้งกรรมาธิการดังกล่าวขึ้น แต่เสียงไม่เพียงพอ เมื่อแพ้แล้วพยายามนับคะแนนใหม่ ฝ่ายค้านก็ไม่เข้าร่วมประชุม ถ้ารัฐบาลมาประชุมบ้างไม่มาประชุมบ้างเช่นนี้ ก็ไม่สามารถประชุมสภาฯได้อีกระยะหนึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาฯ ซึ่งนำไปสู่สาเหตุที่ 2 คือ อาจเป็นความตั้งใจของผู้มีอำนาจของรัฐบาล ที่ต้องการทำให้ภาพพจน์สภาฯเสียหาย ทำให้เห็นว่า ระบบทำไม่ได้ ทั้งที่ความจริงแล้วการประชุมสภาฯได้หรือไม่เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลทั้งนายกฯ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ให้สภาฯล้มอีกคือ รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้มีการตั้งกรรมาธิการดังกล่าวขึ้น เพราะเรื่องนี้มีความเสียหายหลายด้าน เพราะคำสั่งมันมีสภานะเป็นกฎหมายทำให้กฎหมายปกติมีปัญหาทางปฏิบัติมากจึงต้องศึกษาแก้ปัญหาร่วมกัน นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ส่วนความขัดแย้งรอยร้าวในรัฐบาลที่เกิดขึ้นว่า ปัญหาสำคัญมาจากพรรคร่วมที่ต่างฝ่ายต่างชิงดีชิงเด่นทำในสิ่งที่ได้คะแนนเข้าพรรคตัวเอง ในขณะที่นายกฯไม่มีความเข้าใจในการทำงานกับพรรคร่วม ที่เป็นห่วงกันว่ารัฐบาลจะล้มนั้นไม่น่าห่วงหาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ยังคุมส.ว.ได้ก็ไม่มีใครทำอะไรพล.อ.ประยุทธ์ ได้ ถึงอย่างไรก็กลับมาเป็นนายกฯได้อยู่ดี แต่ปัญหาคือการขาดการนำที่ดีเป็นผลเสียงต่อประเทศ เช่นการแบนสารพิษอันตรายก็ขาดการเตรียมการล่วงหน้า พอมายกเลิกการแบนก็ไปคนละทิศคนละทางและนายกฯก็ทำอะไรไม่ได้เลย อีกเรื่องที่สำคัญคือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ที่แต่ละกระทรวงไปคนละทิศละทาง มาตรการของกระทรวงการคลังก็แจกแล้วแจกอีกไม่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตการจ้างงาน กระทรวงคลังกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯก็ทำกันไป เป็นมาตรการกระทรวงการคลังขาเดียว ทั้งที่กระทรวงการคลังต้องดูมาตรการการคลังที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงหลักๆทั้งหลายด้วย ดังนั้น นายกฯต้องหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงกระทรวงด้านเศรษฐกิจทั้งหมดเพื่อวางระบบใหม่ให้ประสานเชื่อมโยงกัน ซึ่งถือว่ายากแต่ต้องรีบทำไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหาย พล.อ.ประยุทธ์ ต้องปรับการทำงานใหม่หมด ถ้ารับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจไม่ไหวก็ให้คนอื่นทำแทนแล้วมีอำนาจสั่งทุกกระทรวงได้จะเป็นการผ่อนหนักเป็นเบา การจะนัดมีตติ้งพรรคร่วมยังไม่เพียงพอเพราะเวลานี้เศรษฐกิจเสียหายยับเยือนต้องการอะไรมากกว่านั้น