วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2562) ณ น่านไวน์เนอรี่&ระเบียงดินรีสอร์ท หมู่ 8 ต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จ.น่าน นายอัมพร ชาวเวียง หรือ "พรเรนโบว์" ศิลปินวงเรนโบว์ วงดนตรีชื่อดังในอดีตตำนานเพลงอมตะ เจ้าของ "น่านไวน์เนอรี่&ระเบียงดินรีสอร์ท" ให้การต้อนรับคณะของ ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประธานวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย นางธนภัทร์ พันธวาส ประธานเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไทย นายศรีทัศน์ มาตราช ประธานเครือข่ายเมืองสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ภูพาน และตัวแทน โครงการฟาร์มสุขใจ ภายใต้ "บริษัทฟาร์มสุขใจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (มหาชน)" นำดูโรงบ่ม และการผลิตไวน์ชั้นเยี่ยมของไทยเพื่อเตรียมนำเข้าสู่โครงการฟาร์มสุขใจ ผลักดัน"น่านไวน์เนอรี่"สู่ตลาดไวน์สมุนไพรเพื่อสุขภาพให้มีตลาดจำหน่ายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย พร้อมกับสร้างแบรนด์สู่สากลนานาประเทศทราบและอยากลองชิม นายอัมพร ชาวเวียง เจ้าของ "น่านไวน์เนอรี่ ได้เล่าให้ฟังว่า "น่านไวน์เนอรี่ หรือ "ไวน์ระเบียงดิน" เกิดจากความคิดของ "คุณนิดา ธรรมดุล" หญิงลูกชาวไร่สวนผสมที่เสียดายผลไม้หลายอย่างหล่นทิ้งเพราะราคาตกต่ำและบางชนิดไม่มีตลาดขาย จึงได้ตั้ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรระเบียงดิน ขึ้นมา เพื่อผลิตไวน์ โดยทดลองเอาผลไม้พื้นบ้านที่มีมาแปรรูปเพื่อเป็นไวน์ โดยทดลองเอาผลไม้พื้นบ้านที่มีมาทำไวน์ ใช้เทคนิควิชาที่เคยเรียนรู้ตอนไปอยู่อเมริกาและบวกกับได้คู่คิดซึ่งเป็นนักดนตรี วงเรนโบว์ เรนโบว์เป็นตำนานเพลง อมตะ เขาคืออัมพร ชาวเวียง ด้วยความเป็นศิลปินใจเย็นและอารมณ์ดีตลอดเวลาจึงได้ช่วยกันคิด ค้นคว้าทดลอง สิ่งใหม่ๆเพื่อให้เป็นไวน์ที่มีรสชาติเป็นสากล นายอัมพร ได้กล่าวอีกว่า แรกๆ ทุนน้อยจึงคิดหาทาง หมักบ่มในลำ ต้นไม้ไผ่ ที่ยังยืนต้น แล้วสิ่งมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น เพราะมีน้ำเยื่อไผ่เข้ามาผสมในไวน์จึงทำให้ไวน์รสชาติดี มีกรดอะมิโนสูงและทำให้เป็นไวน์เพื่อสุขภาพ ที่มีรสชาติแปลกใหม่ อร่อยไม่เหมือนใครมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนที่มาของชื่อ "ไวน์ระเบียงดิน" คือเราได้ทำกิจการร้านอาหารและรีสอร์ทซึ่งสร้างด้วยดินและมีระเบียงอยู่บนบ้านดินมานานมากกว่า 10 ปี จึงได้ชื่อว่า "ไวน์ระเบียงดิน" แล้วมาเป็น "น่านไวน์เนอรี่" ความตั้งใจสูงสุดของเราอยากจะให้เพื่อนๆเกษตรกรชาวไร่ผลไม้ผสมผสาน รักถิ่นเกิด รักสิ่งแวดล้อม รักสุขภาพตัวเองลูกหลาน และผู้บริโภค เราต้องการส่งเสริมเพื่อนๆ เป็นเกษตรกรอินทรีย์ ที่สำคัญเพื่อหาทางเพิ่มมูลค่าของผลผลิต เมื่อเรามีทุนพร้อมเพียงพอก็ต้องการรับซื้อผลผลิตในราคาสูง เพื่อจูงใจให้เกษตรกรหันมาร่วมกันปลูกแบบเกษตรอินทรีย์.