หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล  โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี เยี่ยมชมการดำเนินงานโครงการอมตะสมาร์ทซิตี้(AMATA Smart City)และการพัฒนากำลังแรงงานให้สอดคล้องกับ 10อุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล  โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพร้อมด้วย ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล  ชัยรุ่งเรือง​ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางานนางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ รองอธิบดีกรมการจัดหางานและผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เยี่ยมชมการดำเนินโครงการอมตะสมาร์ทซิตี้(AMATA Smart City)  และการพัฒนากำลังแรงงานให้สอดคล้องกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการและพบปะนักศึกษาฝึกงานของมูลนิธิเฟืองพัฒนาและบริษัท เอฟโอ เอ็มเอ็ม (เอเชีย)จำกัด ซึ่งประกอบกิจการผลิตยานยนต์นั่งส่วนบุคคลไฟฟ้าขนาดเล็กและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล  โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวภายหลังการเยี่ยมชมโครงการว่า โครงการอมตะสมาร์ทซิตี้(AMATA Smart City)เป็นการดำเนินการภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะอมตะให้สามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนพัฒนาเป็นศูนย์กลางการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและแหล่งนวัตกรรมในภูมิภาคอาเซียนโดยบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)สนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสร้างบุคลากรรองรับตลาดแรงงานใน 10อุตสาหกรรมเป้าหมาย ร่วมกับการสร้างโอกาสให้พนักงานและชุมชนโดยรอบมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงแรงงานที่ส่งเสริมการมีงานทำที่มีคุณค่าให้กับคนทุกช่วงวัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวเพิ่มเติมว่า ภารกิจหลักที่สำคัญของกระทรวงแรงงาน คือการส่งเสริมการมีงานทำพัฒนาทักษะฝีมือ คุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆของแรงงานซึ่งภารกิจเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้สามารถยกระดับรายได้ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก การจัดตั้งศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของกระทรวงแรงงานจึงเป็นหน่วยงานในกลุ่มแรกๆที่เข้าไปร่วมมือในการทำงานกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)และได้เริ่มต้นจัดทำข้อมูลการสำรวจความต้องการแรงงานของสถานประกอบการในพื้นที่ทำให้เกิดการบรรจุงานจำนวนเกือบ 30,000 อัตราในปีที่ผ่านมา และจากการประเมินความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นพบว่ามีความต้องการแรงงานเข้ามาทำงานในพื้นที่อีกจำนวนมากซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่แรงงานเหล่านั้นจะต้องได้รับการเพิ่มพูนทักษะเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นนอกจากนี้กระทรวงแรงงาน ยังได้นำฐานข้อมูลแรงงานแห่งชาติมาใช้เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่างๆและได้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความสามารถในการติดตามความเคลื่อนไหวของความต้องการแรงงานและเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆได้เพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาระบบช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2563ในประเด็นการคุ้มครองและดูแลสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ตามกฎระเบียบต่างๆได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารกระจายไปอย่างทั่วถึงเพื่อให้แรงงานได้รับการดูแลเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับและเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดด้านนายสุชาติพรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่าในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีสถานประกอบการ 38,127 แห่งในจ.ชลบุรี 23,563 แห่ง ระยอง 9,288 แห่ง และฉะเชิงเทรา 5,276 แห่ง มีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม 1,402,890 คน ด้านความต้องการแรงงาน 10 อุตสาหกรรม พบว่า ระหว่างปีพ.ศ.2562-2566 มีจำนวน 475,667 คน โดยเป็นระดับอาชีวศึกษา253,115 คน ปริญญาตรี 213,942 คนและปริญญาโท-เอก 8,610 คนโดยต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 53,739 คน อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 คน ท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี 16,920 คน หุ่นยนต์ 37,526 คนการบิน 32,837 คน ดิจิทัล 116,222 คนการแพทย์ครบวงจร 11,410 คน ระบบราง (รถไฟฟ้าความเร็วสูง) 24,246 คน พาณิชย์นาวี 14,630 คน  และโลจิสติกส์ 109,910 คนนายวิบูลย์กรมดิษฐ์ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  กลุ่มอมตะ ได้มีแผนยกระดับคุณภาพแรงงานที่อยู่ในระบบสายการผลิตเดิมและแรงงานใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ระบบโดยการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ และผู้ประกอบการในนิคมฯเพื่อการถ่ายทอด และฝึกงานภายในสถานประกอบการจริง เป็นการเพิ่มทักษะในด้านต่างๆให้เกิดการเรียนรู้และความชำนาญในเทคโนโลยีใหม่ ตามแผนการดำเนินงานพัฒนา โครงการอมตะสมาร์ทซิตี้(AMATA Smart City) ซึ่งเป็นโครงการที่รองรับอุตสาหกรรมชั้นสูงที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศสอดรับกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก( EEC)ซึ่งอมตะ มีแผนการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมในด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลาการป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมในทุกระดับชั้นของฝีมือแรงงานโดยเปิดกว้างให้กับแรงงานทุกคนสามารถเข้ามาใช้บริการผ่านศูนย์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเชื่อมั่นว่า จะส่งผลให้อมตะ เป็นศูนย์การเรียนรู้ในภูมิภาคนี้ และมีส่วนสำคัญต่อการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาครวมถึงสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศทั้งนี้ในปี2563  จะดำเนินการในด้านการลงทุนพัฒนาอมตะเข้าสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)ตั้งแต่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเป็นเมือง Low Carbon Cityที่เน้นไปใช้พลังงานสะอาดรองรับประเภทอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการโดยปัจจุบัน นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรีได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2537รวมระยะเวลากว่า 25 ปี ได้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมรวม 2 แห่ง ได้แก่ อมตะซิตี้ ชลบุรี และอมตะซิตี้ ระยอง รวมพื้นที่กว่า 40,000 ไร่ มีโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 1,200 โรงงานประกอบด้วยอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนรถยนต์ ยางรถยนต์ เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น มีนักลงทุนรวม 29 สัญชาติ อาทิ ญี่ปุ่นจีน ไทย ยุโรป เกาหลีใต้ และอื่นๆ รวมมูลค่าการลงทุนกว่า 3แสนล้านบาท มีแรงงานหมุนเวียนในนิคมฯ กว่า 2 แสนคน