8 พฤศจิกายน 2562, กรุงเทพ – ดร. แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการองค์กรและความยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เรียกร้องให้มีการดำเนินการที่มากขึ้นในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยให้เหตุผลว่า ระบบนิเวศทางทะเลและการฟื้นฟูชายฝั่ง และความยั่งยืนของอาหารทะเลที่มากขึ้น จะสามารถทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทรโลกดีขึ้น ในงานประชุม Asia Pacific Day for the Ocean ซึ่งจัดโดย United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific ดร. แดเรี่ยนได้กล่าวถึง การดำเนินงานของไทยยูเนี่ยนภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน ที่เรียกว่า SeaChange® ที่ได้มีการพัฒนาโครงการผู้นำอุตสาหกรรมที่จะช่วยปกป้องมหาสมุทร “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้นำมาซึ่งความเสียหายอย่างมากต่อมหาสมุทรโลก และจะเป็นภัยคุกคามต่อความสามารถของมหาสมุทรในการเป็นแหล่งอาหาร รวมถึงวิถีชีวิตและความปลอดภัยของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งนับพันล้าน” ดร. แดเรี่ยน กล่าวในงานประชุม “จากความท้าทายที่มายมากเหล่านี้ แต่ดิฉันเชื่อว่า ด้วยความร่วมมือที่มากขึ้นและมุ่งเน้นผลลัพธ์ของมหาสมุทร เราจะสามารถทำให้มหาสมุทรของโลกมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ดร. แดเรี่ยน กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบริษัทอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของโลก ไทยยูเนี่ยนได้นำเอาเรื่องเหล่านั้นเป็นความรับผิดชอบอย่างจริงจังในการเป็นผู้นำขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของโลก ดร. แดเรี่ยน กล่าวต่อในงานประชุมว่า “หนึ่งในเสาหลักที่สำคัญของกลยุทธ์ SeaChange® คือ การจัดหาวัตถุดิบด้วยความรับผิดชอบ และการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบคือ ส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้ไทยยูเนี่ยนติดตามแต่ละผลิตภัณฑ์กลับไปยังแหล่งที่มาได้ การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบยังเป็นแกนหลักสำคัญของความยั่งยืน และเป็นส่วนสำคัญในกลยุทธ์ความยั่งยืนของเราเพื่อทำให้ความอุดมสมบูรณ์มหาสมุทรดีขึ้นในวันนี้และเพื่อคนรุ่นต่อไปในอนาคต” ไทยยูเนี่ยนมีโครงการมากมายที่มีการตั้งเป้าหมายเพื่อปกป้องมหาสมุทร เช่น เป้าหมายที่ทุกผลิตภัณฑ์แบรนด์ทูน่าต้องมาจากแหล่งวัตถุดิบที่มีการทำประมงด้วยความรับผิดชอบ คือมาจากการทำประมงที่ได้การรับรองมาตรฐานจาก Marine Stewardship Council หรือจากการเข้าร่วมในโครงการพัฒนาการประมง (FIPs) เพื่อยกระดับไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐาน Marine Stewardship Council โดยมีเป้าหมายการดำเนินการให้ได้อย่างน้อง 75 เปอร์เซ็นต์ ภายในปลายปี 2563 ในส่วนของการดำเนินงานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยยูเนี่ยน ปีนี้บริษัทได้มีการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ฟีดไคน์ โปรตีนของบริษัท คาลิสตา สำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งในเชิงพาณิชย์ เพื่อแทนที่การใช้ปลาป่นที่มาจากการจับปลาแบบธรรมชาติเฉพาะที่จับสำหรับโปรตีนในอาหารกุ้ง นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง Seafood Business for Ocean Stewardship (SeaBOS) ซึ่งเป็นองค์กรที่นำนักวิทยาศาสตร์จาก Stockholm Resilience Centre ของ มหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม ราชบัณฑิตสภาทางวิทยาศาสตร์ ที่ประเทศสวีเดน และบริษัทอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของโลก 10 บริษัท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีต่อการผลิตอาหารทะเลที่ยั่งยืนและความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทร เมื่อเดือนที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนได้รับการจัดอันดับโดยดัชนี Seafood Stewardship Index (SSI) เป็นอันดับที่ 1 จาก 30 บริษัทอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดทั่วโลก ซึ่งประเมินจากการทำงานที่ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ และในปี 2561 ไทยยูเนี่ยนเข้าร่วมในโครงการ Global Ghost Gear Initiative (GGGI) เพื่อลดปัญหาการทิ้งขยะพลาสติก และปัญหาการทิ้งอุปกรณ์จับปลาและอุปกรณ์สูญหายกลางทะเลทั่วโลก