นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ได้ประชุมผู้บริหารกรมสรรพากรทั่วประเทศ เพื่อปฏิรูปการทำงานของกรมสรรพากร เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนไปมาก การค้าขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ หลังจากกรมสรรพากรมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเทคโนโยยี การใช้นวัตกรรม ในช่วงปีที่ผ่านมาได้ทำรายได้ภาษีสรรพากรเกินเป้าหมายในงบประมาณปี 62 จำนวน 9,310 ล้านบาท และคาดว่าในปี 63 จัดเก็บภาษีได้ 2.116 ล้านล้านบาท ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผู้ยื่นแบบเสียภาษีผ่านออนไลน์ 11.7 ล้านคน จากปัจจุบัน ผู้มีรายได้เข้าข่ายเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 14 ล้านคน โดยเฉพาะผู้ค้ารายย่อย การดึงเข้ามาสู่ระบบเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ค้ายื่นแบบเสียภาษีกับผู้ยังหลีกเลี่ยง นับว่ายังมีช่องว่าง 3 ล้านคนที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อรองรับเศรษฐกิจยุคดิจิตอล สรรพากรจึงต้องการ ปฏิรูปองค์กร (รีแบรนดิ้งสรรพากร) ยกระดับรูปแบบการทำงานแบบกระจาย สร้างนวัตกรรม รวดเร็ว ยึดผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง เน้นให้เป็นผู้บริการภาษีแทนการมุ่งตรวจสอบ เน้นผลรับที่จะได้ เน้นทำงานเป็นทีม มองว่าการพัฒนาระบบกระจายช่วยแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิรูปกรมสรรพากร คาดว่าจะทำให้รายได้ตรงเป้าหมาย บริการตรงใจ แต่ต้องการสื่อสารกับแพลทฟอร์มออนไลน์ทั้งหลาย เพื่อจัดทำภาษีให้ง่ายมากขึ้น สำหรับคนดีแจ้งถูกต้องพร้อมดูแล เพื่อไม่ให้เพิ่มภาระกับผู้เสียภาษี แต่หากคดโกงพร้อมจัดการเพื่อดำเนินการให้ถูกต้อง นายเอกนิติ กล่าวว่า สำหรับ พ.ร.บ.e-Payment หรือ พ.ร.บ.สินค้าออนไลน์ ขณะนี้กรมสรรพากรอยู่ระหว่างจัดเตรียมเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบในเร็วๆนี้ เกี่ยวกับการเปิดเผยธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบ E-Payment ทั้งรูปแบบ Internet Banking, Mobile Banking หรือผ่านหลายช่องทาง กำหนดให้สถาบันทางการเงินและผู้ให้บริการ e-Wallet เป็นผู้ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ทำการตรวจสอบข้อมูลทางการเงิน โดยประชาชนผู้ใช้บริการ หรือพ่อค้าแม้ค้าขายของออนไลน์ ไม่ต้องส่งรายงานธุรกรรมทางการเงินให้กรมสรรพากร เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่มีการรับโอนเงิน-ฝากเงินเข้าบัญชี 400 ครั้งต่อปี หรือมียอดเงินรวม 2 ล้านบาทขึ้นไป และการรับโอนเงิน หรือฝากเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป “หากใครเป็นเจ้าภาพทอดกฐินตามวัดต่างๆ รับโอนเงินมากกว่า 3 พันครั้ง หรือรับบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกสรรพากรตรวจสอบ จากสรรพากร เพราะจะดูยอดการทำธุรกรรมกับปีก่อน จึงไม่ต้องกังวล หากไม่ได้ค้าขายเกินกำหนดที่ต้องยื่นแบบเสียภาษี เพราะตามหลักการแล้ว หากพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ สงสัยปรึกษาสรรพากรพื้นที่ เพราะได้ปรับบทบาทการมุ่งตรวจสอบมาเป็นการให้คำปรึกษา เพื่อดึงรายย่อยเข้าระบบอย่างเป็นธรรม” นายเอกนิติ กล่าว นายเอกนิติ กล่าวต่อว่า ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ มูลค่ารายได้มากกว่า 2,000 ล้านบาท ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบัน 2,000 แสนราย สัดส่วนรายได้ร้อยละ 64 ของมูลค่าภาษีทั้งหมด ยอดเงินประมาณ 2.42 แสนล้านบาท ส่วนกลุ่มธุรกิจขนาดกลางมูลค่ารายได้ 500-2,000 ล้านบาท มีสัดส่วนร้อยละ 1 หรือประมาณ 5,900 ราย ยอดภาษีประมาณ 55 ,000 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายขยายฐานภาษีจากนิติบุคคลภายใน 3 ปี ข้างหน้า