มจ.จุลเจิม ยุคล หรือ 'ท่านใหม่' โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก จุลเจิม ยุคล ระบุว่า... การแต่งงานของเจ้านายผู้หญิงกับสามัญชน แต่มโนทัศน์เหล่านี้เป็นเพียงกรอบแนวคิดที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกรอบของกฎหมาย การแต่งงานระหว่างเจ้านายผู้หญิงกับสามัญชนยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 หลังจากนั้น รัฐบาลคณะราษฎรก็ประกาศแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสของเจ้านาย แต่ก่อนที่คณะราษฎรจะออกประกาศ “กฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสมรสพระราชวงศ์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475” ย้อนกลับไปในช่วงก่อนหน้านี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงออกประกาศ “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์” เมื่อ พ.ศ. 2461 เนื่องจากทรงพระราชดำริว่า การเสกสมรสของเจ้านายในพระราชวงศ์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนั้น บ้างก็นำความขึ้นกราบบังคมทูล บ้างก็กระทำการเสกสมรสกันเองโดยมิได้กราบบังคมทูล ทรงเกรงว่าจะกระทำไปอย่างไม่สมพระเกียรติยศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎมณเฑียรบาลขึ้น โดยมีใจความหลักคือ ....... “ให้เจ้านายในพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป เมื่อจะเสกสมรสกับผู้ใดให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วจึงจะกระทำการพิธีนั้นได้” (เรียกกันว่าเป็น ”สะใภ้เจ้า” หรือสะใภ้หลวง -ผู้เขียน) เมื่อคณะราษฎรออกประกาศ “กฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสมรสพระราชวงศ์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475″ ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2475 เพียง 1 เดือนครึ่งหลังการประชุมสภาครั้งแรก ใจความสำคัญที่เพิ่มเติมเข้ามาอยู่ในมาตรา 3, 4 และ 5 คือ “มาตรา 3 พระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป ถ้าจะทำการสมรสกับผู้ใด ท่านว่าต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสียก่อน มาตรา 4 เจ้าหญิงองค์ใด ถ้าจะทำการสมรสกับผู้อื่น ซึ่งมิใช่เจ้าในพระราชวงศ์ อันเป็นการไม่ต้องด้วยพระราชประเพณีนิยม ดังนั้นไซร้ ท่านว่าต้องกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เสียก่อน มาตรา 5 ถ้าพระราชวงศ์องค์ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 3 และมาตรา 4 ไซร้ ท่านว่าให้ถอดเสียจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์” “นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เจ้านายผู้หญิงที่แม้ว่าจะเป็นเจ้านายชั้นสูงระดับเจ้าฟ้าก็ดูเหมือนว่าจะมีอิสระในเรื่องความรักความรู้สึกและการเลือกคู่ครองมากขึ้น นอกจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปแล้ว ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนเจ้านายที่ลดน้อยลงเรื่อยๆ จึงยากที่จะหาคู่ครองเป็นเจ้านายในระดับเดียวกันได้”...........แต่ต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วจึงจะกระทำการพิธีนั้นได้”