วันที่ 18 ต.ค.รศ. สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์บทความพิเศษจาก ศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเด็น ทำไมพรรคทอนพตจึงเป็น "อนาคตใหม่" ของคนไทยไม่ได้ ในเพจเฟซบุ๊กชื่อ Suvinai Pornavalai ระบุว่า...เป้าประสงค์ที่แท้จริงของการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองของพรรคทอนพตได้เปิดเผยออกมาเรื่อยๆและมิได้เป็นไปตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด การได้อำนาจ(จากจำนวนส.ส.)เพื่อมาต่อรองกับ (. . .) ตอนนี้ก็ชัดเจนมากขึ้นแล้วว่า( . . . )นี้หมายถึงใครเพราะเป้าหมายทางการเมืองของทอนพตมิใช่ตำแหน่งนายกฯแต่เพียงลำพัง ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนก็คือการโหวตไม่รับ พรก.โอนฯเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มิใช่เพราะไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่ต้องการให้นายกฯใช้อำนาจตรากฏหมายอย่างไม่เคารพสภาฯแต่อย่างใดไม่ หากแต่ต้องการ "ด่าลูกน้องไปกระทบ(. . .)" เสียมากกว่าว่าให้เห็นหัวทอนพตกับพวกด้วยใช่หรือไม่?ถ้าไม่ผ่านใครเสียหาย มิใช่(. . .)หรืออย่างไร? และ (. . .) สำคัญต่อสังคมไทยอย่างไร ทำไมทอนพต ปิยบูต หรือช่อไม่รู้หรืออย่างไร? สถาบัน (instutution) มีความจำเป็นต่อสังคมทุกสังคมเพราะเป็น ทุนทางสังคม (Social Capital) ที่ยึดเหนี่ยวคนในสังคมเอาไว้ การมีขอบเขต-ไม่ว่าจะเป็นประเพณี/ระเบียบปฏิบัติ/กฏหมาย-ที่จำกัดการกระทำของคนในสังคมเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่จึงก่อให้เกิดสถาบันขึ้นมา ตัวอย่างขอบเขตที่ว่านี้เช่น พ่อไม่เอาลูกสาวเป็นเมีย/ลูกต้องกตัญญูต่อพ่อแม่ จึงก่อให้เกิดสถาบันครอบครัวขึ้นมา ทหารก็ต้องมีวินัยซึ่งไม่ใช่กฏหมายเอาไว้กำกับดูแลมิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นกองโจร ขณะที่แก๊งค์นอกกฏหมาย เช่น มาเฟีย/ยากุซะ อาจจะมีธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติแต่ก็ไม่ก่อให้เกิดสถาบันขึ้นมาเพราะมีประโยชน์เกิดขึ้นเฉพาะคนส่วนน้อยในกลุ่มแก๊งค์ของตนเองเท่านั้นไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ สถาบันนักการเมืองไทยก็ไม่มีเช่นกันเพราะนักการเมืองไทยส่วนใหญ่มิได้พยายามที่จะยึดกฏระเบียบที่มีกำกับเอาไว้หากขัดกับประโยชน์ส่วนตนดังนั้นยิ่งมีสถาบันเกิดขึ้นมากเท่าใดในสังคม สังคมนั้นก็ย่อมได้ประโยชน์มากขึ้นตามไปด้วย สถาบัน(. . .)ที่พรรคทอนพตกำลังด้อยค่าในปัจจุบันและพยายามถอดรื้อต่อไปในอนาคตหากพรรคมีอำนาจจึงเป็นเป้าหมายที่แท้จริงใช่่หรือไม่? ถ้ารื้อทิ้งแล้วจะมีประโยชน์อันใดขึ้นมากับสังคม จะเอานักการเมืองที่ไม่เป็นสถาบันมาให้ประชาชนยึดเหนี่ยวทดแทนได้อย่างนั้นหรือ? ญี่ปุ่นก็มีสถาบันจักรพรรดิที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน แต่พระราชอำนาจของจักรพรรดิถูกถอดรื้อโดยสิ้นเชิง ไม่ได้เหลือไว้วินิจฉัยเพื่อประโยชน์ของประชาชนแต่อย่างใด ทุกอย่างล้วนตกอยู่กับนักการเมืองที่จะให้ทำก็ว่าได้ ม.6-8 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของญี่ปุ่น [แปลโดย สุดา วิศรุตพิชญ์, น.บ.(เกียรตินิยมอันดับ 2 ) น.บ.ท, น.ม. (ธรรมศาสตร์),LL.M. (Chuo University, Tokyo) ผู้ตรวจและขัดเกลาภาษา สิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์, B.A., M.A. (Economics) Yokohama National University Japan] มาตรา 6 พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยการเสนอชื่อของรัฐสภา พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาซึ่งเป็นประธานศาลสูงสุด โดยการเสนอชื่อของคณะรัฐมนตรี มาตรา 7 พระจักรพรรดิ โดยคำแนะนำและความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับกิจการของรัฐดังต่อไปนี้เพื่อประชาชน 1. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประกาศใช้กฎหมาย คำสั่ง คณะรัฐมนตรี และสนธิสัญญา 2. การเรียกประชุมรัฐสภา 3. การยุบสภาผู้แทนราษฎร 4. การประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปของสมาชิกรัฐสภา 5. การให้การรับรองการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีรวมทั้งข้าราชการอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายตลอดจนหนังสือมอบอำนาจและพระราชสาสน์ตราตั้งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต 6. การให้การรองรับการนิรโทษกรรมทั่วไป การนิรโทษกรรมเฉพาะบุคคล การลดหย่อนโทษ การอภัยโทษตลอดจนการคืนสิทธิ 7. การสถาปนาเกียรติยศและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 8. การให้การรับรองในหนังสือสัตยาบัน รวมทั้งเอกสารทางการทูตอื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย 9. การรับเอกอัครราชทูตและอัครราชทูตต่างประเทศ 10.การประกอบพระราชพิธี มาตรา 8 การโอนทรัพย์สินให้แก่ราชสำนัก หรือการที่ราชสำนักรับโอนทรัพย์สินหรือมอบทรัพย์สินให้โดยเสน่หา ต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของรัฐสภา การที่เป็นเช่นนี้ก็มีบริบทที่มาของมันแต่จะไม่ขอกล่าวในที่นี้พรรคทอนพตจึงอยากจะแก้รัฐธรรมนูญให้สถาบัน(. . .)เป็นเช่นนี้หรือไม่?เพราะยังปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีจักรพรรดิเป็นประมุขเช่นเดียวกัน