ปากกาขนนก / สกุล บุณยทัต “รากเหง้าแห่งความเป็นชีวิตด้านในของมนุษย์นั้น ถูกฝังลึกไว้ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นตัวตนของธรรมชาติที่ยากจะหยั่งเห็น เว้นเสียแต่ว่าความคิดเหนือหัวใจของเราจะรับรู้และมีผัสสะต่อชีวิตอย่างลึกซึ้งเพียงนั้น/ โลกต่างเชื่อว่าเมื่อมนุษย์มีความคิดเป็นเช่นไร?...ตัวตนอันจริงแท้ของเขามักเป็นเช่นนั้น.../นั่นคือวิถีที่เปรียบได้ดั่งศาสนธรรม...และความเชื่อมั่นที่พันผูกอยู่กับความทรงจำนิรันดร์..มันเป็นภาวะของจิตอันคว้านลึกลงไปในก้นบึ้งแห่งความเป็นมนุษย์...จิตที่สามารถดึงดูดสิ่งที่มันแอบซ่อนไว้ให้เข้าสู่เนื้อในของชีวิต...ทั้งสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งที่เป็นความขลาดกลัว” นัยสำคัญยิ่งข้างต้น...คือประเด็นหลักที่ยืนยันถึงว่า..สภาวะภายนอกของความเป็นชีวิตจะสอดคล้องกับสภาวะภายในของผู้เป็นเจ้าของชีวิตคนนั้นๆเสมอ.....นี่คือที่มาของหนังสือที่มีอายุยืนยาวมาถึง116ปีเมื่อถึงวันนี้...”AS A MAN THINKETH”..(คิดเห็นเป็นชีวิต)..งานเขียนของ “เจมส์ อัลเลน”(JAMES ALLEN)...ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งแห่งนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่20/...แต่กับคนทั่วไปแล้วกลับรู้ประวัติส่วนตัวของเขาค่อนข้างน้อยมาก...เขาเป็นประหนึ่งคนลึกลับ แม้จะมีงานเขียนที่เปี่ยมเต็มไปด้วยพลังสักเพียงใดก็ตาม....งานเขียนของเขามีอิทธิพลต่อชีวิตของผู้คนนับล้าน...แต่กระทั่งถึงทุกวันนี้ก็แทบไม่มีใครที่ได้รู้จักตัวเขาอย่างแท้จริงเลย/...นอกจากบันทึกที่ระบุว่าเขาเกิดที่เมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษเมื่อปีค.ศ.1864/เชียนหนังสือในระยะเวลา10ปี...ระหว่างค.ศ.1902-1912ไว้ถึง20เล่มด้วยวัยเพียง48ปี...หนังสือบางเล่มมีความหมายมาก จนผู้คนต้องอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า...ด้วยสาระเนื้อหาที่สำคัญยิ่ง..จนอยากให้ได้รับการย้ำเตือนบ่อยๆ..อย่างในสาระคุณค่าของหนังสือเล่มที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ “ในเรื่องราวทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นั้น มีสิ่งที่เรียกว่ามานะ และสิ่งที่เรียกว่าผลลัพธ์...พลังแห่งมานะคือเครื่องวัดผลที่ออกมา ซึ่งมิใช่เรื่องบังเอิญหรือโชคชะตา/...สิ่งที่เรียกว่าพรสวรรค์ พลัง สมบัติทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของ สติปัญญา และ จิตวิญญาณ คือผลแห่งความพยายาม...สิ่งเหล่านี้คือความคิดที่สำเร็จเป็นรูปร่าง...คือจุดหมายที่ได้บรรลุ...คือภาพฝันที่กลายเป็นจริง..มันคือภาพฝันที่คุณศรัทธา...ความคิดที่เชิดชูไว้ในหัวใจ/คือสิ่งที่คุณใช้สร้างชีวิต และนั่นคือสิ่งที่คุณจะเป็น..” อำนาจแห่งการหยั่งรู้ของ”เจมส์ อัลเลน”นั้นยิ่งใหญ่และพุ่งตรงเข้าหาส่วนหยั่งรู้ในหัวใจของมนุษย์ได้อย่างไม่บิดพลิ้ว...มันจะทำให้ผู้ได้มีสัมผัสร่วมนั้นสงบงาม เยือกเย็น และ นิ่งลึกลง...อันจะนำไปสู่ภาวะแห่งอำนาจของการจูงใจสู่ความสำเร็จ..รวมทั้งการสามารถแยกแยะและตีความได้ว่า...อะไรที่เป็นดั่งต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงาชีวิตแก่เรา ขณะและท่ามกลางดินแดนอันแสนจะแห้งแล้ง...หรืออะไรที่เป็นดั่งภูผาใหญ่ซึ่งได้ให้ที่กำบังแก่เราในยามที่พายุซัดกระหน่ำ.../หากสามารถเข้าหาอย่างถ่องแท้ถึงภาวะเหล่านี้ ก็เท่ากับเราได้ประจักษ์ด้วยตัวของตัวเองว่า...สิ่งใดคือพลัง ผู้ใดคือนายใหญ่ ตลอดจนภาวะใดแน่ที่คืออำนาจ “มนุษยชาติต่างถูกซัดส่ายอยู่ในคลื่นแรงแห่งโทสะอันปราศจากการควบคุม ต่างยุ่งยากสับสนอยู่ในโทมนัสอันมิอาจจัดการ ต่างแกว่งไกวอยู่ในความกลัดกลุ้มกังวลสงสัย/...มีเพียงผู้รู้อย่างแท้จริงที่สามารถปกครองและชำระจนสะอาดบริสุทธิ์เท่านั้น ที่จะกำหนดคลื่นลมแห่งชีวิตไปในทิศทางที่ตนเองต้องการได้ /....อย่างนี้แล้ว ไม่ว่าคุณจะอยู่ ณ ที่ใด ...ในเงื่อนไขชีวิตแบบไหน...จิตวิญญาณที่ถูกพายุพัดกระหน่ำเอ๋ย ขอจงรับในรู้สิ่งนี้....” เมื่อสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญของลักษณะแห่งความมีและความเป็นของมนุษย์แห่งโลกในศตวรรษนี้..นั่นหมายถึงว่าคำอธิบายถึงนัยแห่งความเป็นสิ่งนี้จักต้องมีความหมายและเป็นที่เข้าใจต่อบริบทของสังคมในยุคนั้นๆ..ไม่ว่าสภาพแวดล้อมในปัจจุบันของเราจะเป็นเช่นไร “เจมส์ อัลเลน”...ได้ยืนยันให้ได้คิดว่า..เราสามารถตกต่ำ อยู่กับที่ หรือก้าวสูงขึ้น พลังความคิด ภาพฝัน หรืออุดมคติที่เรามี/...แน่นอนว่าเราทุกคนอาจเป็นคนที่เล็กเท่าความปรารถนาที่ควบคุมชีวิตเราไว้..หรืออาจยิ่งใหญ่ได้เท่ากับแรงฝันใฝ่อันรุ่งโรจน์ที่ครอบงำดวงจิตอยู่ “สำหรับคุณ..ผู้อ่านเยาว์วัยของผม คุณก็ทำภาพฝันในหัวใจให้เป็นจริงได้เช่นกัน มิใช่แค่ความปรารถนาที่ต่ำต้อยไร้ความหมาย..ไม่ว่าจะเป็นความคิดที่ดีหรือเลว หรือที่ผสมกันระหว่างทั้งสองสิ่ง ..เพราะชีวิตคุณย่อมถูกดึงดูดไปหาสิ่งที่คุณรักซึ่งแอบซ่อนไว้ในส่วนลึกเสมอ...สองมือของคุณจะได้รับผลพวงที่สอดคล้องกับความคิดที่คุณมีอย่างไม่ผิดไปจากนั้นและคุณก็จะได้รับในสิ่งที่สมควรได้รับไม่มากหรือน้อยไปกว่านั้น.......” ประเด็นเปรียบเทียบของหนังสือเล่มนี้ จึงอยู่ที่มุมมองและทัศนะเชิงปะทะระหว่างความรวยกับความจนและระหว่างคนรวยกับคนจนซึ่ง..”เจมส์ อัลเลน”..ได้ระบุเอาไว้ถึงนัยแห่งการค้างคาของยุคสมัยที่น่ารับฟังยิ่ง/...ความคิดเห็นในรูปรอยนี้ของเขาคือความคิดเห็นเชิงวิพากษ์ที่พุ่งตรงเข้าสู่เป้าหมายได้อย่างแม่นตรงและสั่นสะเทือนต่อการรับรู้ไม่น้อย...โดยพฤติกรรม...เขาได้แสดงความใคร่ครวญและเปรียบเทียบให้ได้เห็นว่า...คนบางคนอาจร่ำรวยแต่กลับมีชีวิตที่น่าสังเวช ขณะที่กับบางคนยากจนแต่กลับมีความสุข/...ในวิถีคิดของเขา..ความร่ำรวยและความสุขจะไปด้วยกันได้ ก็ต่อเมื่อความร่ำรวยถูกใช้ไปอย่างฉลาดและถูกทาง ส่วนความยากจนจะยิ่งทำให้คนตกต่ำน่าสังเวช ก็ต่อเมื่อเขาเหล่านั้นมองว่า...ชีวิตแร้นแค้นเป็นเรื่องที่โชควาสนาย่ำยีอย่างไม่เป็นธรรม “ทั้งความยากแค้นขาดแคลน และความลุ่มหลงมัวเมาต่างเป็นสภาวะที่น่าอดสู และล้วนไม่เป็นธรรมชาติพอๆกัน อีกทั้งเป็นผลจากความผิดปกติทางใจ หากเรายังปราศจากความสุข...ไม่ว่าร่างกายจะมีสุขภาพที่ไม่ดี หรือ ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง...เราก็ไม่อาจที่จะเรียกเงื่อนไขที่มีนี้ได้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง...ทั้งนี้ก็เพราะทั้งสุขภาพ ความสุข และความเจริญรุ่งเรือง..ล้วนคือผลของการปรับแต่งภายใน เพื่อให้ประสานสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่เพียงเท่านั้น..”.. แท้จริงแล้วชีวิตของเราทุกคนไม่ว่าจะเกิดมาในยุคใดสมัยใด..เราเหมือนต่างท่องไปในกระแสน้ำแห่งสัจธรรมภายใต้ระลอกคลื่น..ที่ลึกเกินกว่าพายุแรงกล้าจะกระหน่ำถึงในความสงบชั่วนิรันดร์...”เจมส์ อัลเลน”ได้ตั้งคำถามต่อตัวตนของทุกคนเพื่อเล็งถึงผลกระทบแห่งการตอบรับ..ที่ยากจะปฏิเสธว่า..มีคนที่เรารู้จักกี่คนต่อกี่คน ที่ทำให้ชีวิตอันแสนหวานและสวยงามต้องขื่นขมเพราะอารมณ์อันรุนแรง ...คนที่ทำลายบุคลิกอันดีงามของตน จนกลายเป็นสิ่งที่น่าชิงรังเกียจ/...ทำอย่างไรหนอที่คนจำนวนมากจึงจะไม่ทำลายชีวิตและความสุขของตน...เพราะการขาดความเข้าใจและการควบคุมตนเอง/...มีคนที่เราได้พบจำนวนน้อยเพียงใดที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล สง่างามงามล้ำเลิศ...ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบุคลิกที่ได้รับการสลักเสลา...และคำตอบแห่งคำถามอันสำคัญยิ่งนี้ก็คือ. .. “ท่ามกลางมหาสมุทรแห่งชีวิต ยังมีเกาะแก่งแห่งพร คอยคุณอยู่ ชายฝั่งแห่งอุดมคติคอยคุณให้แหวกว่ายเข้าหา...ดังนั้นจงกุมหางเสือแห่งใจเอาไว้ให้มั่น/...ผู้บัญชาการแห่งความคิดนอนคอยอยู่ ในเบื้องลึกแห่งนาวาของคุณ แต่เขามัวหลับไหล...จงปลุกเขาขึ้นมา...การควบคุมตนเองคือพลัง...ความคิดที่ถูกต้องคือนายใหญ่ ...และความสงบเยือกเย็นคืออำนาจ...จงกล่าวกับหัวใจตนเอง!.เช่นนั้น..” นี่คือรวมข้อคิดของชีวิตที่มีขอบฟ้าใหม่แห่งการเขียนครอบคลุมและเชื่อมต่อมายาวนาน...จากภาษาสื่อสารโบราณวิวัฒน์สู่ความงามแห่งนัยอันกินใจของภาษายุคใหม่ ด้วยหัวใจแห่งความมุ่งหวังที่จะก่อเกื้อประเด็นแห่งคำถามของชีวิตขึ้นมาสู่คำตอบอันเป็นสัจจะของยุคสมัยที่เป็นอมตะ...ด้วยใจความที่อ่านง่าย ลึกซึ้ง...โดยเฉพาะใครก็ตามที่ปรารถนาจะเข้าใจว่า...ความคิดเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งในชีวิตของเรา..ชีวิตที่เราประสบและรู้สึก..จักต้องอ่านหนังสือเล่มนี้เพื่อให้เกิดความกระจ่างที่ลุ่มลึกหลายๆครั้งเพื่อพัฒนาการแห่งความรุ่งเรืองทางปัญญา ซึ่งในวิถีแห่งผู้อ่านในห้วงเวลาอันยาวนานที่ผ่านมาต่างเชื่อมั่นและยึดมั่นต่อหนังสือเล่มนี้เช่นนี้เสมอมา “อัฐพงศ์ เพลินพฤกษา”...ผู้แปลหนังสือเล่มนี้ออกมาได้อย่างมีความสอดคล้องและสมดุลกับแก่นสารที่ให้ให้ทั้งพลังและแรงบันดาลใจที่มีค่าต่อการปะติดปะต่อหลายๆสิ่งในชีวิตให้ชัดเจนขึ้น....เช่นเดียวกับเจตจำนงของผู้พิมพ์หนังสือเล่มนี้ที่ตั้งปณิธานว่า....แรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือดีๆสักเล่ม จะส่งผลต่อชีวิตของเราในลักษณะใดได้บ้าง โดยเฉพาะ...ถ้ามันเข้ามาเปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อตัวเองและชีวิตไป...นั่นหมายถึงว่าบางครั้งในชีวิตของเรา...จะมีอะไรที่ดีไปกว่าการที่ได้รู้ว่า..เราทุกคนนั้นต่างมีพลังอยู่กับตัว...พลังที่หมายถึงความสามารถที่จะกำหนดและเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเองได้...ไม่ว่าตัวของเราจะตกอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม/...สำหรับผมในฐานะผู้อ่านเพื่อการวิเคราะห์และตีความการได้สัมผัสและมีผัสสะต่อหนังสือเล่มนี้ในหลากประเด็นแห่งการรับรู้..ผมได้พบว่า..ได้พบทั้งตัวความคิดอันหมายถึงสิ่งที่ไหวเคลื่อนที่มีความหมายอยู่ในจิตใจ...กระทั่งพบแรงดึงดูดที่ผู้เขียนได้สื่อสารไว้เป็นกฎอันเสรีที่ดึงดูดสิ่งต่างๆที่อยู่รายรอบให้เข้ามาผูกพันกับชีวิตของเราอย่างมีความหมายได้โดยง่าย...กระทั่งกลายเป็นนัยสำคัญเท่าชีวิตไปในที่สุด../”เจมส์ อัลเลน”ในฐานะผู้เขียนได้บอกกล่าวเพียงสั้นๆถึงเป้าประสงค์ของการเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา..ก็เพราะ..เขาได้มองเห็นความจริงที่ว่า..”เขานั่นเองคือผู้กำหนดชีวิตของตน”...จากความคิดที่เขาเลือกใช้และเสริมสร้าง..ด้วยการแสดงให้เห็นว่าจิตคือนาย...คือผู้ถักทอตัวตนภายใน และผู้กำหนดสถานการณ์ภายนอกให้เกิดแก่ตนเอง...แม้ก่อนหน้านั้นอาจเคยปกคลุมด้วย”อวิชชา”และ “โทมนัส”...แต่ที่สุดแล้วเมื่อมาถึงปัจจุบันขณะ..ก็สามารถเปลี่ยนอาภรณ์ของตัวเป็นทั้ง”แสงสว่าง”และ “ความสุข”ได้ นี่คือหนังสือแห่งปัญญานิทัศน์...หนังสือที่สื่อสารอย่างลึกซึ้งถึงความคิดกับตัวตน...ถึงความคิดกับจุดมุ่งหมาย..ถึงความคิดกับสถานการณ์ชีวิต ..จินตนาการกับอุดมคติ..และความสงบในจิตใจ..อันเป็นพื้นฐานทั้งหมด/เหตุนี้คำกล่าวที่ว่า”คิดอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น”..จึงไม่เพียงเป็นการครอบคลุมความเป็นไปทั้งหมดของเราไว้ หากแต่ยังกินรวมไปถึงทุกเงื่อนไขและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งนั่นก็คือ...เราจะเป็นเช่นที่เราคิด ตัวตนและอุปนิสัยของเรา ก็คือผลรวมทั้งหมดของความคิดที่เรามี... “การกระทำคือสิ่งที่ผลิบานจากความคิด สุขและทุกข์ก็เป็นผลจากความคิดไม่ต่างกัน./นั่นคือ...เราจะได้รับผลอันหอมหวานหรือขื่นขมก็จากการเพาะปลูกของเราเอง...เราเป็นอย่างไรย่อมมาจากความคิดในใจของเรา...เท่านั้น”