"สุชาติ" แนะ "บิ๊กตู่" ลดงบประมาณ-รายจ่ายที่ไม่จำเป็น พลิกฟื้นเศรษฐกิจ ชี้ นโยบายแจกเงิน ทำคนเสียนิสัย เพิ่มความยากจนระยายาวศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตัวหน้าพรรคเพื่อไทย, อดีตรมว.คลัง, รมว.ศึกษาฯ​ และอดีตนักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก เปิดเผยว่า งบประมาณเป็นนโยบายการคลัง​ เป็นเงินที่รัฐบาลเก็บภาษี​ มาใช้จ่าย ขณะที่นโยบายการคลังเป็นหนึ่งในสามนโยบายที่รัฐบาลสามารถดูแลระบบเศรษฐกิจได้ มีอีก​ 2 นโยบาย คือนโยบายการเงิน กับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ดูเหมือนว่ารัฐบาลไทยใช้นโยบายการคลังอย่างเดียวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ​ ซึ่ง​ นโยบายการคลังนี้​ มีผลกระทบไม่มากต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะต้องเก็บเงินภาษีมา จากประชาชนทำให้เศรษฐกิจหดตัว​ ตอนนำไปใช้ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว​ ดังนั้นผลกระทบของนโยบายการคลัง​ จึงอยู่ในส่วนต่างระหว่างรายจ่ายรัฐบาลกับรายได้ภาษี สำหรับนโยบายที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจมากที่สุดคือนโยบาย QE(Quantitative Easing)​ ซึ่งเกือบทุกประเทศในโลกนำมาใช้เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากๆ ทั้ง​ สหรัฐฯ​ ยุโรป​ ญี่ปุ่น จีน ใช้ นโยบาย QE กันหมด ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นขยายตัวได้มาก เช่น กัมพูชาโตขึ้น 6.8%, ลาว​ เวียดนาม​ พม่า​ ฟิลิปปินส์โต​กว่า 6.5% มีแต่ประเทศไทยที่เติบโตต่ำมาก 2% เติบโตต่ำที่สุดใน​อาเซี่ยน เป็นเพราะว่าผู้บริหารประเทศไม่เข้าใจ พวกเขาคิดว่าการโฆษณาประชาสัมพันธ์​ การแจกเงินสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด “อยากให้ดูกรณีประเทศจีน​ ปธน.​สีจิ้นผิง​ ตั้งใจแก้ปัญหาความยากจน​ โดยแก้ไขที่สภาพแวดล้อม​ พัฒนา​เส้นทางคมนาคม​ ให้การศึกษา​ การรักษาพยาบาล​ ช่วยร่วมลงทุน​ ทำแผน​ ทำบัญชี​ ดูแลผู้สูงอายุ ทำให้คนจนมีรายได้มากขึ้น​อย่าง​ถาวรในระยะยาว” ศ.ดร.สุชาติ กล่าว ศ.ดร.สุชาติ กล่าวอีกว่า ขณะนี้รัฐบาลไทยใช้วิธีให้รัฐบาลกู้เงินมาแจกประชาชนให้ไปใช้จ่าย​ ให้ประชาชนไปกู้มาใช้เสริม​ ทำให้เสียนิสัย​ ทำให้เป็นทาสเงิน​ รอเงินแจกจากรัฐบาล​ เป็นการเพิ่มความยากจนในระยะยาว ซึ่งการแก้ไขความยากจนต้องเพิ่มที่รายได้​ เพิ่มที่การออม​การลงทุน​ ไม่ใช่เพิ่มที่การใช้จ่าย ​ส่วนการที่รัฐบาลไปกู้เงิน​ 10,000​ ล้านบาท​ แจกให้ประชาชน10 ล้านคน จึงเป็นการทำให้ประชาชนเป็นหนี้บุญคุณ​ ไม่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ​ เพราะเทียบกับ GDP​ ของไทย 17.8 ล้านๆบาท​ แล้วน้อยมากๆ​ น้อยกว่าครึ่งของครึ่งเปอร์เซ็นของ​ GDP แต่การกู้มาแจกทำให้รัฐบาลเป็นหนี้มากขึ้น​ พฤติกรรมประชาชนจะแย่ลง​ หากเรายังปล่อยให้เป็นอยู่อย่างนี้ เราจะเป็นเหมือนเวเนซูเอลา จากประเทศที่ร่ำรวย ส่งออกน้ำมันอันดับสองของโลก วันนี้ไม่มีจะกิน ​ประเทศไทยไม่มีระบบสวัสดิการสังคม​ แต่รัฐบาลใช้จ่ายถึง​ 18% ของ​ GDP​ หลายประเทศในภูมิภาคนี้เป็นรัฐสวัสดิการ เช่นสิงคโปร์ งบประมาณต่อ GDP ประมาณ 35% เป็นเงินสวัสดิการสังคม 20% และเป็นค่าบริหารประ เทศเพียง 15% ฉะนั้น งบประมาณที่รัฐบาลนี้จัดสรรดูจะมากเกินไป ควรลดรายจ่ายของรัฐบาลลง ​ ปัจจุบันรัฐบาลเก็บภาษีทั้งหมด 2.7 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ 470,000 ล้านบาท เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 890,000 ล้านบาท ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม​ ลง 1% ประมาณ 120,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือประชาชนในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้ ลดภาษีมูลค่าเพิ่มดีที่สุด เพราะเป็นเงินที่อยู่ในกระเป๋าทุกคน ไม่มีคอรัปชั่น เงินที่รัฐบาลแจกให้ประชาชนอยู่ในขณะนี้นั้น เป็นเงินที่รัฐบาลกู้มา ประชาชนที่ได้รับเงินมาจะรู้สึกเป็นบุญคุณ โดยหลักการบริหารประเทศที่ดี ต้องสร้างรายได้ แล้วออมเงินไปลงทุน ไม่ใช่แจกให้ไปใช้แล้วเงินหมดไป ​วันนี้รัฐบาลเป็นหนี้ 6.9 ล้านล้านบาทแล้ว หรือประมาณ 220% ของงบประมาณ หากนำประมาณทั้งหมดไปจ่ายหนี้ จะจ่ายได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของหนี้ ดังนั้นรัฐบาลควรลดการขาดดุลงบประมาณลง ควรคิดเรื่องงบประมาณสมดุลได้แล้ว ​ถ้าเราดูรายจ่ายงบประมาณทั้งหลาย ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายไม่จำเป็นจำนวนมาก ทุกกระทรวงมีงบประชาสัมพันธ์ คือการจัดอีเวนต์ ขึ้นป้าย โฆษณากิจกรรมในสื่อ และค่าใช้จ่ายเดินทาง ควรตัดงบนี้สัก 10% แล้วทำแบบจีน คือส่งเสริมให้ประชาชนที่ยากจนได้รับการศึกษา และให้เงินช่วยลงทุน งบสำคัญอีกประการที่ต้องดูแลอย่างจริงจังคือ บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค ปัจจุบันยังขาดแคลนอยู่​ มีเหตุผลคือ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยจะไม่มีใครดูแลตัวเองได้​เองเพียงพอ​ สังคมจึงควรเฉลี่ยความทุกข์ ​งบประมากลาโหม เป็นงบประมาณที่ใช้แล้วทำให้ประเทศเจริญช้าลง ใช้งบกลาโหมมากๆ อัตราการเจริญเติบโตของชาติจะต่ำ เราไม่เหมือนสหรัฐอเมริกา หรือจีน เพราะเขาผลิตอาวุธเอง จึงเป็น GDP​ เป็นผลผลิตของเขา แต่ของเราไม่ใช่ เราไปซื้อเขามา จึงเป็นรายจ่าย​ และก็ไปกู้มาซื้อ จึงเป็นปัญหาจริงๆ งบประมาณกลาโหมปีนี้ 300,000 กว่าล้านบาท​ จึงควรลดลง