วันที่ 9 ต.ค.62 เวลา 9.30 น. ที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองจ.ปัตตานี มีกลุ่มเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) นำโดย อาจารย์เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี และ นางสาวอัณธิญา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มอ.ปัตตานี พร้อมด้วยนักศึกษามอ.ปัตตานี ประมาณ15คน ได้เดินทางมามอบหนังสือเกี่ยวกับคำแถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง(คนส.)กรณี กอ.รมน.แจ้งความดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา116 กับผู้เข้าร่วมเสวนาเวทีรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมี พตอ.ญานพงศ์อุบลฐาน ผกก.สภ.เมืองปัตตานีมารับหนังสือดังกล่าว อาจารย์เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานีเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า เอกสารแถลงการณ์ดั่งกล่าวมีข้อเสนอ3ข้อโดยมีรายชื่อของนักวิชาการจากสถาบันหลายมหาวิทยลัยฯเช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยจุฬาฯ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มายื่นให้กับตัวแทน สภ.เมืองปัตตานี เพื่อแสดงเจตจำนงค์ และห่วงใยสังคมไทยซึ่งอยู่ในภาวะที่ต้องการบูรณาภาพของประเทศ พร้อมทั้งยืนยันสิทธิเสรีภาพที่ผ่านการเลือกตั้งแล้ว ตนเห็นว่าเวที่ประชาชนมีสิทธิพูดและแสดงความคิดเห็น การที่มีการแจ้งความกัน ทำให้สังคมไทยอยู่ในยุคนานาอารยประเทศให้ความสำคัญสิทธิเสรีภาพการเดินทางมาครั้งนี้เพื่อให้สังคมไทยตระหนักเรื่องนี้ว่ามีความสำคัญ ไม่ใช่แค่คนที่นี้หรือเฉพาะนักวิชา หรือกลุ่มการเมือง แต่เป็นหลักประกันของคนในสังคม อาจารย์เผยอีกว่า การพูดถึงมาตราต่างๆเป็นอันตรายต่อประเทศนั้น ทุกคนก็ห่วงใยแต่คิดว่าคำพูดที่ก่อให้เกิดการถกเถียงถือว่าเป็นการและเปลี่ยนกันบางคนว่าเป็นเรื่องให้เกิดความขัดแย้งแต่เป็นสิทธิเสรีภาพ จากนั้น ดร.อัณฐิญา แสงชัย อาจารย์อีกท่านหนุ่งเปิดเผยถึงคำแถลงการณ์ว่า จากปัญหาที่กอ.รมน.แจ้งความนั้น เป็นการแทรกแซงและเห็นถึงอิทธิพลของกองทัพที่มีเหนือการเมืองอีกรูปแบบหนึ่งโดยเฉพาะคำสั่ง คสช.ที่51/ 2560 แสดงให้เห็นว่า กอ.รมน.มีอำนาจอย่างกว้างขวางในด้านความมั่นคงแล้วและยังเหนือหน่วยงานฝ่ายพลเรือนแล้วทางเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองพร้อมกับนักวิชาการอีก266 คนมีข้อเสนอต่อสถาบันในกระบวนการยุติธรรมและสังคมไทย 3ข้อดังนี้ 1. องค์กรชั้นต้นในกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ พึงแสดงความกล้าหาญและซื่อสัตย์ต่อหลักวิชาชีพด้วยการทำคดีนี้อย่างซื่อตรงและเป็นสระจากการให้ของผู้มีฝ่าน19 โดยยึดหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลอันได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายยาญาตามมาตรา 116 โดยสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ตั้งแต่ในขั้นของพนักงานสอบสวนเรียกพนักงาน อัยการ เพื่อไม่ให้การฟ้องคดีเพื่อปิดปากประชาชนประสบผลสำเร็จ และเพียงลดภาระของกระบวนการยุติธรรมในขั้นศาลในการพิจารณาคดีที่มีลักษณะการฟ้องคดีเพื่อปิดปากเช่นนี้ 2. สถาบันการศึกษาทางนิติศาสตร์ที่นำกรณีนี้และกรณีอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นการนำกฎหมายปกติที่มี เจตนารมณ์คุ้มครองสังคมมานิดเบือนในการสร้างความมั่นคงในอำนาจของผู้ปกครองและกำจัดฝ่ายที่เห็นต่าง ซึ่งเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 5 ปีภายใต้ระบอบการปก18งของ คสช. มาเป็นกรน กษาในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษากฎหมายเป็นอันตรายจากการบิดเบือนกฎหมายเพื่อตอบสนองผู้มี นายตามสายใย อันเป็นอุปสรรคที่ทำให้หลักนิติธรรมไม่อาจตั้งมั่นอยู่ได้ในสังคมไทย 3. สังคมไทยควรตระหนักถึงอันตรายจากการให้สถาบันทางทหารเข้ามาก้าวก่ายในกิจการพลเรียน โดยเฉพาะในพื้นที่ทางการเมืองซึ่งควรเปิดกว้างทางความคิดเห็นและปลอดจากความเกรงกล้วในผลกระทบใดๆ และช่วยกันผลักดันให้ทหารออกไปจากพื้นที่ของพลเรือน กลับไปปฏิบัติภารกิจหลักของตนดังเช่นทหารอาชีพในนานาอารยประเทศที่ยึดมั่นในหลักอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะที่อาจารย์และนักศึกษามอ.ปัตตานีก็มีกลุ่มบางกลุ่มก่อกวนและมีการตั้งคำถามถึงเรื่องต่างๆ ทำให้การแถลงข่าวสะดุดบ้างแต่บรรดาผู้มายื่นก็ยังดำเนินการตามปกติ หลังจากเสร็จการแถลงข่าว ได้มีบุคคลอ้างว่าผู้กองปูเค็ม ได้ถามผู้ที่เดินทางมายื่นหนังสือแถลงการณ์ที่เป็นนักศึกษา ว่า เป็นแนวร่วมของกลุ่มขบวนการ บีอาร์เอ็นหรือพูโลหรือไม่ และไม่เห็นด้วยในการที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ตามมาตรา1 เพร่ะปรพเทศไทยเป็นราชอาณาจักรหนึ่งเดียวไม่สามารถแบ่งแยกได้ ขณะที่นักศึกษาโต้ว่า ทำไมมาบอกว่าเป็นแนวร่วมขบวนการหรือไม่ ทั้งๆที่เขาเป็นนักศึกษา แต่ที่อ้างว่าว่าผู้กองปูเค็มได้โต้กลับว่าบอกมาซิว่าใช่หรือไม่ แต่ก็เงียบ ขณะที่ตัวแทนนักศุึกษาคนหนึ่งได้บอกว่า การยื่นหนังสือแถลงการณ์ครั้งนี้ไม่มีการพูด7กลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายค้าน แต่มาในฝ่ายวิชาการ ที่ตะแจ้งว่ามีสิทธิเสรีภาพในการพูดในเชิงวิชาการสามารถกระทำได้ส่วนใครจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยเป็นสิทธิส่วนบุคคล จากนั้นกลุ่มผู้ยื่นหนังสือแถลงการณ์ก็ได้สลายตัวเมื่อเวลา ประมาณ10.30 น.