ม็อบยาเส้นหล่มสัก-หล่มเก่า เพชรบูรณ์ 1 พันกว่าคน ชุมนุมประท้วงพร้อมชูป้ายโจมตีถึงการปรับภาษียาเส้น 2000% กดดัน การเจรจาตัวแทนกรมสรรพสามิตกับตัวแทนเกษตรกร-ผปก. เพชรบูรณ์ : เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 ต.ค.62 ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยาเส้นและผู้ประกอบการรับซื้อยาเส้น.ในเขตพื้นที่ อำเภอหล่มสักและอำเภอหล่มเก่า จำนวนกว่า 1,000 คน ได้ทยอยมาเดินทางมาร่วมรับฟังและสังเกตการณ์การเจรจาระหว่างตัวแทนกรมสรรพสามิตกับตัวแทนเกษตรกรและตัวแทนผู้ประกอบการรับซื้อยาเส้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทางกลุ่มเกษตรกรมีการชุมนุมปิดถนนบริเวณสี่แยกพ่อขุนผาเมือง อ.หล่มสัก เพื่อกดดันให้กรมสามิตทำตามข้อเรียกร้องรวม 3 ข้อ โดยจี้ให้กรมสรรพสามิตจัดหาบริษัทหรือผู้ประกอบการมารับซื้อยาเส้นที่เหลืออีกราว 50% หลังจากสำรวจทางผู้ประกอบการในพื้นที่มีกำลังรับซื้อได้เพียง 50%ของผลผลิตทั้งหมด และให้ซื้อในราคาเป็นธรรมโดยเฉลี่ยย้อยหลังไป 3 ปี และให้รับซื้อยาเส้นทุกเกรด กระทั่งทางตัวแทนคณะเจรจากับม็อบ จนได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าคณะตัวแทนจากกรมสรรพสามิต นัดลงพื้นที่เจรจากับตัวแทนเกษตรกรและตัวแทนผู้ประกอบการรับซื้อยาเส้นของวันนี้ สำหรับบรรยากาศม็อบกลุ่มเกษตรกร ต่างพากันปักหลักชุมนุมพร้อมชูป้ายโจมตีถึงการปรับภาษียาเส้น 2000% เป็นการทำลายวิถีชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกยาเส้นเพชรบูรณ์ พร้อมให้แก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ต่อมานายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ และ นายธิบดี วัฒนกุล รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ได้เชิญตัวแทนกลุ่มเกษตรกร เข้าประชุมหารือ โดนายยุพราช บัวอินทร์ แกนนำกล่าวว่า ขณะนี้มีเกษตรผู้ปลูกยาสูบในจังหวัดเพชรบูรณ์ราว 4,000 ครัวเรือน ผลผลิตราว 10 ล้านกิโลกรัม ขณะที่ผู้ประกอบการรับซื้อยาเส้น เรียกร้องให้กลับมาใช้กฎกระทรวงเดิม หรือลดภาษีลง แม้จะไม่เก็บภาษีจากเกษตรกรก็จริง แต่ระบบการปลูกยาเส้น ผูกพันกับเกษตรกรทุกส่วน เมื่อขึ้นภาษี 2000% ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถรับซื้อได้ จึงส่งผลกระทบกับเกษตรกรโดยตรง ขณะเดียวกันยังรับซื้อเพียง 50% ซึ่งในเพชรบูรณ์มีผู้ประกอบการราว 30 ราย รับซื้อได้เพียง 3 แสนกว่ากิโลกรัมเท่านั้น โดยผลการประชุมหารือ ที่ประชุมมีมติให้ร่างหนังสือด่วนและลงนามร่วมกัน ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการคลัง และอธิบดีกรมสรรพสามิต โดยยื่นข้อเรียกร้องไห้กรมสรรพสามิตแก้ไขคือ แก้ไขลดอัตราภาษียาเส้นจากเดิม 0.10 บาทต่อกรัม เป็น 0.025 บาทต่อกรัมโดยไม่มีเงื่อนไขปริมาณการผลิต/จำหน่าย และหากมีขั้นปรับภาษีขึ้นในอนาคตขอให้แจ้งล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป ซึ่งหากได้รับการแก้ไขภาษีดังกล่าวแล้วผู้กอบการ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาเส้นยืนยันจะรับซื้อยาเส้นทุกประเภทจากผู้เพาะปลูกยาเส้นด้ายตามเดิม โดยด้านรองอธิบดีกรมสรรพสามิต ก็ได้รับเรื่องและนำปัญหาไปดำเนินการโดยเร็วที่สุด.