“...๑) มีทัศนคติที่ดีที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง๒) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง๓) มีคุณธรรมและ ๔) มีงานมีอาชีพสามารถเลี้ยงตนเองเลี้ยงครอบครวัได้และเป็นพลเมืองที่ดี...” พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในการสร้างคนดีของบ้านเมืองพระราชทานพระบรมราโชบายด้านการศึกษามุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน๔ ด้าน ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคการผลิตของไทยคือขาดบุคลากรที่มีทักษะด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะในกลุ่มของ "นักเทคโนโลยี"หรือนักประดิษฐ์คิดค้นที่มีทักษะฝีมือทางด้านช่างและมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความรู้ความชำนาญด้านการประดิษฐ์คิดค้นเพื่อสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างนวัตกรรมรวมถึงการบริการในรูปแบบใหม่ๆด้วย               สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ซึ่งผลิตคนในสายอาชีวะตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สวทน.) หน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยของรัฐที่เปิดสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำ "โครงการจัดตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์"ขึ้นมาเพื่อผลิตคนที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและมีทักษะด้านช่างออกไปสร้างสรรค์นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการผลิตและบริการของประเทศเปิดรับนักเรียนรุ่นแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 ที่เป็นหัวใจของการจัดการเรียนการสอนสายอาชีพของสอศ.ในภาพรวม กระทั่งโครงการพิเศษดังกล่าวนั้นนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมายังหน่วยงานที่ดูแลการศึกษาคือ การสร้างคนดีของบ้านเมืองสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสืบสานพระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยสืบสานพระราชปณิธานดังกล่าว ช่วงวันที่ 26-27 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาทางกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สอศ.พาไปเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนนักเรียนในโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคพังงา ที่ เป็นหนึ่งแห่งที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการนี้ในชื่อ “โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์” อันกล่าวได้ว่าเป็นการเปิดห้องเรียนรับเด็กนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3)ที่มีคุณสมบัติพิสอบผ่านเข้าไปเรียนบทพิสูจน์จากคะแนนที่จบม.3 เกิน 3 ขึ้นไปเข้ามาเรียนโดยรับจำนวนจำกัด จากการเรียนรู้ในรูแบบProject-besed learningและSTEM Educationโดยมีการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เข้ากับทักษะวิชาชีพในสาขาวิชาพาณิชยกรรมและบริการฐานวิทยาศาสตร์ในแต่ละปีจึงมีผลงานสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมของนักเรียนซึ่งบ่งชี้ถึงความมีทักษะเชี่ยวชาญทั้งการลงมือทำและการสร้างงานวิจัยให้เป็นแนวทางนำไปต่อยอดการพัฒนาอาชีพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นที่พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญให้ชาติบ้านเมืองหรือภาคการผลิตในฐานะนักวิจัยบวกกับนักผลิตนวัตกรรมกระทั่งสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้หลายชิ้นงาน ดังที่เกริ่นข้างต้นว่าสอศ.จัดการเรียนการสอนสายวิชาชีพเพื่อรองรับการขาดแคลนช่างฝีมือที่มีทั้งความเชี่ยวชาญและความรู้สายสามัญรวมถึงเป็นนักวิจัยนักผลิตนวัตกรรมด้วย ที่ต้องเน้นย้ำควบคู่กันไปอย่างจริงจังคือการได้คนดีไปสู่สังคมสนองพระราชปณิธานให้ได้มากที่สุดจึงเปิดโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ขึ้น ผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมของนักเรียนโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทย์ฯวิทยาลัยเทคนิคพังงาหนึ่งในอีกหลายแห่งที่เปิดกระจายอยู่ในบางภูมิภาคที่ไปเยี่ยมชมหนนี้มี 2 ชิ้นงานคือ ไอศกรีมโฮมเมดจำปาดะในชื่อแบรนด์ว่า“Cham,i“ที่มีสองความหมายรวมกันคือ “Champeda ice cream “และ “จำ ฉัน” ผลงานของนักเรียนปวช.2/1หลายคนรวมพลังกันต่อยอดชิ้นงานที่รุ่นพี่สร้างฐานแนวคิดตั้งแต่สูตร ตั้งแต่รสชาติตั้งแต่วัตถุดิบลงมือทำ พิสูจน์จนพอใจแล้วผลิต นำออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์เช่นนายถนอมศักดิ์ สมใจ ปวช.2 อ.กะปงพังงา นส.ศศิกานต์ เครื่องแต่งอยู่ ปวช.3 อ.ปลายพระยา กระบี่ นส.กชกร วาจรัต ปวช.3 แขวงลำปลาทิว ลาดกระบัง กทม. นส.ชวัลนุช พงศ์เลิศสกุล แขวงคลองสองต้นนุ่น ลาดกระบัง กทม.และนายอาริฟ เตยิบอารี ปวช.3 อ.รัตภูมิ ต.กำแพงเพชร จ.สงขลา และน้ำพริกปูม้าในชื่อแบรนด์ว่า “Chube crab”หรือน้ำชุบปูม้าที่ภาษาไทยก็คือ “น้ำพริกปูม้า”นั่นเองนักเรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทย์ที่รวมกลุ่มกันคิดและลงมือทำจนมั่นใจเป็นผลผลิตเชิงพาณิชย์นำออกสู่ตลาดแล้วมีปัทมา เพ็ชรัตน์ จากอ.กะปง พังงา อทิตยา สงวนทรัพย์ อ.เมืองพังงา พรปริยา ณ ตะกั่วทุ่ง อ.เขาหลัก พังงา รุชิรา เส้งย่อง จ.กระบี่และกันยารัตน์ หัสนีย์ อ.เมืองพังงาเป็นต้น ทั้ง 2 ชิ้นงานดังกล่าววันนี้เป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ทำเป็นเชิงพาณิชย์แล้วแม้จะยังคงอยู่ในวงแคบเพียงในระดับจังหวัด และออกเผยแพร่นอกพื้นที่บ้างจากผู้แวะเวียนไปยังพื้นถิ่นไปลิ้มลองแล้วยอมรับนำพาไปบริโภคพร้อมทั้งบอกเล่าถึงสรรพคุณในลักษณะปากต่อปาก และรวมถึงการรับรู้จากคนทั่วไปจากทางเว็บไซค์ของวิทยาลัยและที่กลุ่มนักเรียนตั้งขึ้น ช่องทางที่หน่วยงานตั้งแต่จังหวัดลงมาส่งเสริมสนับสนุนช่วยเผยแพร่ในระดับหนึ่งรวมถึงผ่านการนำไปเผยแพร่ในการจัดบู๊ตในงานแสดงสินค้าบ้างเป็นบางคราทำให้เพิ่มยอดผลผลิตได้พอสมควร นำไปสู่การมีรายได้ระหว่างเรียนของเยาวชนที่เรียนสายอาชีพดังกล่าว ซึ่งเป็นรูปธรรมที่บอกย้ำสังคมให้เห็นถึงความมุ่งมั่นหมั่นเพียร ด้วยความขยันมุมานะ ความรักความสามัคคีมีเมตตาต่อกันโดยได้รับการปลูกฝังหล่อหลอมหลักคิดที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาคือศาสตร์พระราชาหรือแนวพระราชดำริหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสืบสานพระบรมราโชบายด้านการศึกษาเพื่อให้เป็นคนดีของบ้านเมืองเป็นแบบอย่างที่ดีของเยาวชนรุ่นน้องและคนอื่นๆและเพื่อเป็นกำลังพัฒนาชาติบ้านเมืองสืบไป ชิ้นงานที่เป็นตัวอย่าง 2 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตจากนักเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ทั้งในวิทยาลัยเทคนิคพังงาและในวิทยาลัยอื่นๆอีกหลายแห่ง ที่เกิดจากงานวิจัยของกลุ่มนักเรียนกับครูที่ปรึกษาแล้วนำไปสู่การต่อยอดเป็นผลผลิตโดยการรวมกลุ่มที่แบ่งปันหน้าที่ด้วยความขยัน ความอดทน ความรักความเมตตาสามัคคี รู้จักให้เฉพาะอย่างยิ่งคือให้อภัยกัน ทำให้เกิดความรู้ความเชี่ยวชาญไปพร้อมๆกัน ทำให้ร่วมกันสร้างงานวิจัยที่ก่อประโยชน์ต่อสังคม อันเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ที่น่าชื่นชมสำนึกเยาวชนที่รวมตัวมุ่งมั่นสร้างงานวิจัยสร้างผลผลิตชิ้นงานนวัตกรรมเกิดมาจากการให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่มีอยู่รอบๆตัวเอง ด้วยความสนใจในสภาพแวดล้อมและด้วยการชี้แนะแนวทางที่ดีมีคุณค่าจากครูที่ปรึกษา พ่อแม่ผู้ปกครองที่ยึดหลักการดำเนินชีวิตตามศาสตร์พระราชาแล้วได้อบรมบ่มนิสัยขยายผลสู่นักเรียนอาชีวะที่เป็นเยาวชนลูกหลาน เพื่อร่วมเป็นกำลังสำคัญอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นคุณประโยชน์โดยองค์รวมอย่างยิ่งต่อสรรพชีวิต อย่างชิ้นงานไอศครีมโฮมเมดจำปาดะแต่ที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือผลิตภัณฑ์หนึ่งของนักเรียนโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคพังงา ที่ได้นำเอาจำปะดะที่เป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัดพังงาและทางใต้ของประเทศไทยที่มีลักษณะคล้ายขนุน แต่เนื้อจะนุ่มและเหนียวกว่า มีกลิ่นหอมรุนแรงกว่าพอสมควรแต่มีรสชาติหวานจัด เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนผลไม้ทั่วไป ผลผลิตออกปีละครั้งเดียวเท่านั้นคือช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม นำมาแปรรูปเป็นไอศกรีมจำปาดะจึงเพิ่มรายได้ให้ชาวสวน ทำให้เห็นคุณค่าในการเพิ่มปริมาณจำปาดะให้คงไว้และเพิ่มจำนวนต้นจำปาดะขึ้นอีก ปัจจุบันไอศรีมโฮมเมดจำปาดะ “จำ ฉัน”หรือ “Cham,i”มีวางจำหน่ายในร้านอาหารและร้านขายเครื่องดื่มและร้านสหกรณ์โรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพังงาและกำลังมีแผนการขยายตลาดต่อยอดเป็นอาชีพเปิดการตลาดต่อไปยังจังหวัดอื่นๆและนักเรียนกลุ่มนี้กำลังทำการวิจัยรูปแบบไอศครีมออกสู่ตลาดอีกหลายแบบคงอีกไม่นานนี้ น้ำพริป่นปูม้าหรือชื่อแบรนด์ว่า “Chube crab”ว่ากันว่าชุบเป็นภาษายาวีก็คือน้ำพริกนั่นเองกลุ่มนักเรียนที่รวมตัวกัน นำเนื้อปูล้วนๆมาปรุงเครื่องทำน้ำพริกอันล้วนแต่เป็นสมุนไพรพื้นที่มีปลูกไว้บริโภคกันทั่วไปทุกภูมิภาคของไทยเช่นพริก ตะไคร้ ข่า มะกรูดฯลฯ แล้วก็เนื้อปู นักเรียนกลุ่มนี้ที่เป็นคนจุดประกายให้เกิดงานวิจัยแล้วนำไปสู่ชิ้นงานผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ำพริกป่นปูม้าคือนางสาวกันยารัตน์ หัสนีย์ เป็นลูกหลานชาวประมง บ้านบางพัฒน์ คุณตาที่เรียกขานกันแบบเคารพนับถือว่าบังหมัดหรือคือนายสวัสดี วาหะรักษ์(นามสกุลเดิมมลายูคือยามาดี) คุณแม่ชื่ออารีย์รวมถึงคุณพ่อด้วยยึดอาชีพประมงเป็นหลักเช่นเดียวกับชาวชุมชนบ้านบางพัฒน์อันเป็นชุมชนโบราณนับถือศาสนาอิสลามซึ่งเป็นเกาะที่เชื่อมการสัญจรไปมากับแผ่นดินใหญ่ด้วยสะพาน คุณแม่ของกันยารัตน์วันนี้เปิดร้านอาหารทะเลชื่อร้านอารีย์ด้วยวัตถุดิบที่มาจากชาวชุมชนนั่นแหละ วัตถุดิบคือปูม้าที่กันยารัตน์กับเพื่อนๆนักเรียนปวช.จุดประกายความคิดนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าผ่านงานวิจัยในระดับหนึ่งจนนำไปสู่การนำมาทดลองลงมือทำน้ำพริกป่นปูม้า โดยกันยารัตน์บอกว่าไม่ใช่เนื้อปูจากตัวซึ่งมีราคาแพงหากแต่ใช้เนื้อส่วนขาปู ที่ตัดสินใจทำชิ้นงานผลิตภัณฑ์นี้เพราะมีบางช่วงเดือนที่ปูม้าขึ้นมาเยอะมากจนทำให้ราคาถูก ชาวประมงเดือดร้อนกันพอสมควร จึงรับซื้อเนื้อขาปูมาแปรรูปดังกล่าวซึ่งชาวชุมชนที่มักหาปูได้มากคล้ายๆกันที่ขึ้นเยอะในช่วง เดือนพค.-สค.ทำให้ราคาตก เมื่อมีช่องแปรรูปทำให้แก้ปัญหาราคาปูม้าไปได้พอสมควร แล้วยังทำให้อาชีพแกะเนื้อปูจากขาที่ก็คือคนในชุมชนยังพอมีรายได้ โดยคุณแม่อารีย์ซึ่งก็เป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคนิคพังงาและคุณตาสวัสดีคอยให้คำแนะนำ กันยารัตน์บอกด้วยว่าในฐานะเป็นลูกหลานชาวเลจึงมีความผูกพันกับทรัพยากรทะเลทั้งป่า ทั้งสัตว์น้ำ ทั้งสภาพแวดล้อมของน้ำ จึงให้ความสำคัญกับสภาวะแวดล้อมมาก การใช้ทรัพยากรปูม้ามาเป็นวัตถุดิบทำชิ้นงานนวัตกรรมน้ำพริกป่นปูม้าก็มาจากการได้รับปลูกฝังจากคุณปู่คุณแม่ที่เป็นผู้นำอนุรักษ์ป่าชายเลนนำทำธนาคารปูม้าสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10 ครั้งที่ทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมารที่คุณตาบอกเคยเสด็จฯมาที่บ้านบางพัฒน์นี้ตั้งแต่ตัวเองยังไม่รู้ความเลยแต่คุณตาจะบอกย้ำให้ฟังตลอด เอาภาพมาให้ดูชาวชุมชนก็เห็นด้วยกับคุณตา ร่วมบริจาคปูม้าที่มีไข่ วันนี้คุณตาบอกทรัพยากรปูม้าไม่ขาดแคลนสำหรับบริโภคและทำให้ชาวบ้านมีรายได้ แล้วยังเป็นส่วนหนึ่งของสมดุลย์ทางธรรมชาติด้วย นักเรียนทั้งสองกลุ่มวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคพังงาที่ผลิตชิ้นงานทั้ง 2 อย่างบอกตรงกันว่า การร่วมคิดร่วมสร้างชิ้นงานตามสายอาชีพที่เรียนให้มีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง และสามารถคิดค้น ทำแผนการตลาดได้ ทำการตลาดได้เพื่อมุ่งหวังเป็นเครื่องมือในการสร้างฐานะผ่านการประกอบอาชีพ ที่คิดว่านี่คือการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชาติบ้านเมือง แล้วสำนึกอีกอย่างหนึ่งที่ได้รับการปลูกฝังจากคณะครูอาจารย์คือเราต้องเป็นคนดีของสังคม คือมีความรู้รักระเบียบวินัย ให้ความสำคัญกับการเกื้อกูลสังคม พัฒนาสังคม สังคมอยู่ได้เราอยู่ได้ ไม่เป็นภาระสังคม โดยให้ยึดเดินตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรคือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพระราชทานไว้ให้สำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต อาจารย์ ประทิน เลี่ยนจำรูญ หัวหน้าโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคพังงา บอกย้ำว่าในการศึกษาโครงการนี้ที่กล่าวได้ว่าพิเศษ คือการคัดนักเรียนที่มีทักษะอันเกิดจากความรักความชอบจึงเอาใจใส่ขณะที่กำลังเรียนมัธยมต้น แล้วลงมือคิดลงมือกิจกรรมที่สนใจเมื่อจบม.3 ก็มาสอบคัดเลือกเข้าเรียนในโครงการนี้ฯที่สามารถรับได้จำนวนจำกัด ซึ่งนอกจากการเรียนในสายอาชีพที่จริงจังกว่าสายอาชีพปรกติเป็นการบ่มเพาะให้สามารถออกไปทำอาชีพได้เลย อย่างเช่นการให้ทำโครงการชิ้นงานไอศกรีมจำปาดะ หรือมีบางกลุ่มรวมตัวกันทำโครงการชิ้นงานน้ำพริกปูม้าที่ต้องปลูกฝังหล่อหลอมควบคู่กันไปคือนักเรียนต้องได้รับการอบรมบ่มนิสัยเป็นคนดีด้วย วิทยาลัยต้องปูพื้นฐานความเป็นคนดีตามพระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10 พระราชทานแนวทางดำเนินชีวิตด้านการศึกษาปูพื้นฐานผู้เรียน 4 ประการที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสร้างคนดีให้บ้านเมือง ปูรากฐานให้นักเรียนเป็นคนดีของสังคม โดยวิทยาลัยจัดกิจกรรมจิตอาสาเช่นวันจันทร์พานักเรียนไปทำกิจกรรมเกื้อกูลชาวชุมชนไปช่วยเหลือด้านต่างๆ วันอังคารก็พานักเรียนไปเก็บขยะทั้งในวิทยาลัยเอง และตามศาสนสถาน ตามชุมชนตามตลาดต่างๆ ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected]