เมื่อวันที่ 5 ต.ค. นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมหารือมาตรการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และตรวจเยี่ยมโรงงานผลิตนมอีสานใต้ แดรี่ จำกัด โดยมีนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ นายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับ การลงพื้นที่ของครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1.การเตรียมความพร้อมการประชุมคณะกรรมการ Wor Room ระดับจังหวัดสุรินทร์ กรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและบูรณาการประสานงานภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จังหวัดสุรินทร์ 2.การเตรียมความพร้อมดำเนินการซ้อมแผนรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเจ้าหน้าที่ทุกระดับภายในจังหวัด ดำเนินการฝึกซ้อมแผน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรระดับจังหวัดรูปแบบเฉพาะหน้าที่ (Functionat exercise) 3.การเตรียมความพร้อมอบรมให้ความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยให้มีกรปรับฟาร์มให้มีระบบการป้องกันโรคภายในฟาร์ม 4.การเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ใช้การส่งตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคสัตว์ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (ศสพ.สุรินทร์) นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำงานในการเข้มงวดการลักลอบนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรตามแนวชายแดนระหว่างประเทศกรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์บูรณาการการทำงานของ 9 หน่วยงานชายแดนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด่านกักกันสัตว์สุรินทร์ ด่านตรวจสัตว์ช่องจอม ด่านศุลกาการช่องจอม ด่านตรวจคนเข้าเมืองสุรินทร์ สรรพสามิตพื้นที่สุรินทร์ อสอ.กาบเชิง ชุดสุนัขทหารกองกำลังสุรนารี หน่วยประสานงานชายแดนประจำพื้นที่ 2 ด่านตรวจสัตว์น้ำสุรินทร์ ด่านตรวจพืชช่องจอม มว.ปอ.ที่ 1ร้อย.ร.213 และด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศช่องจอม ในการเข้มงวดการลักลอบนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรตามแนวชายแดนระหว่างประเทศตั้งจุดตรวจบริเวณชายแดน เพื่อป้องกันการลักลบนำข้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรตามแนวชายแดนและขอความร่วมมือโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้กับชาวกัมพูชาที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดสุรินทร์ 6.มาตรการในการเฝ้าระวังโรค ASF มีการตั้งจุดตรวจบริเวณชายแดนเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าสุดรและผลิตภัณฑ์สุกรตามแนวชายแดน 7.มาตรการในการเฝ้าระวังโรค ASF ตั้งจุดตรวจภายในจังหวัดและพื้นที่ต่างจังหวัดเข้มงวดและควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกร 8.X-Ray พื้นที่เฝ้าระวังทางอาการ ขึ้นทะเบียน ประเมินความเสี่ยงและให้คำแนะนำในการลดความเสี่ยงและป้องกันโรคโดยใช้ App : E-smart plus 9.การปราบปรามโรงฆ่าเถื่อน พร้อมเก็บตัวอย่างส่งตรวจโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับอนุญาตและตรวจประเมินด้านสุขอนามัยส่งตรวจ 10.ตรวจสอบใบอนุญาตค้า (ร.10/1ใบกำกับซาก (รน.1,2,3) และเก็บตัวอย่างส่งตรวจ และ11.การสื่อสารความเสี่ยง สร้างการรับรู้ความทำจประชาสัมพันธ์ผ่านกำนันผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนผ่านเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบโดยทั่วถึงกัน ทั้งนี้ สมาคมผู้ประกอบการเลี้ยงหมูแห่งชาติมอบเงินจำนวน 500,000 บาท เพื่อใช้ในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์