อีสานล้านนาเตรียมผลักดันรัฐบาลให้เกษตรกรปลูกกัญชาและกัญชง ตามแบบวิสาหกิจชุมชนอย่าเอื้อเฉพาะนายทุนกลุ่มใหญ่ที่มีงบประมาณแล้วทำ MOU กับโรงพยาบาลชุมชนแต่ละจังหวัด พร้อมกับย้ำเตือนเกษตรกรอย่าหลงตกเป็นเยื่อคนบางกลุ่มอ้างว่าปลูกกัญชาได้และถูกต้องตามกฎหมาย วันนี้ (1 ตุลาคม 2562) ณ ศูนย์การเรียนรู้วิจัยและพัฒนาเมืองสมุนไพร ชุมชนพรสวรรค์ ทต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประสมาพันธ์วิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย นายสมชัย แสงทอง รองประธานสมาพันธ์ฯภาคเหนือ นางนิตยา นาโล รองประธานสมาพันธ์ฯภาคอีสาน นายเศรษฐภัทร์ นิตยสิทธิวรากุล นายศรีทัศน์ มาตราช รองประธานสมาพันธ์ฯ นางธนภัทร พันธวาส ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนไทย ประธานจังหวัดภาคอีสาน 20 จังหวัด และ ประธานจังหวัดภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้ร่วมประชุมหารือถึงแนวทางการผลักดันให้รัฐบาลดำเนินการตามกรอบ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกัญชา พ.ศ.2562 ที่ให้มหาวิทยาลัยของรัฐและหน่วยงานของรัฐทำ MOU กับ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” ดำเนินการปลูกกัญชา ซึ่งกฎหมายออกมาตั้งเดือน พฤษภาคม 2562 แต่จนมาถึงวันนี้ ปรากฏว่าทางภาครัฐและรัฐบาลกับเพิกเฉยไม่สนใจเกษตรกรหรือประชาชน มอบหมายให้ทาง “มหาวิทยาลัยของรัฐ” ทำ MOU กับโรงพยาบาลของรัฐ ส่วนวิสาหกิจชุมชนที่แอบแฝง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มนายทุนเท่านั้นที่ทำได้เพราะลงทุนหลายล้านบาท ในการเตรียมความพร้อม สร้างโดม สร้างอาคารเตรียมการปลูกยิ่งกว่า “ต้นกัญชา” เป็นผู้ต้องหา เป็นการบิดเบือนความจริงและเป็นการหลีกเลี่ยงให้ประชาชน หรือ เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีกำลังทุนน้อยไม่สามารถดำเนินการปลูกได้ นอจากนั้นแล้วทาง “กระทรวงสาธารณสุข” ยังไม่จริงใจเปิดใจให้กับประชาชน ได้เป็นผู้ปลูกกัญชาแม้ว่าทางเกษตรกรจะมีความพร้อมในด้าน เอกสารวิสาหกิจชุมชน บุคลากร ความเชี่ยวชาญในด้านการปลูก และ มีพื้นที่ดินที่จะปลูกกัญชา แต่กับมาตีกรอบระเบียบกฎหมายให้ห่างออกไปกับประสิทธิภาพของเกษตรกรในด้านเงินทุน ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประสมาพันธ์วิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย ได้กล่าวว่า จากสถิติที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดออกจับกุม ภายหลังการออกกฎหมายผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2562 – ปัจจุบัน พบการลักลอบปลูกกัญชารวม 15 ครั้งใน 11 จังหวัด ได้แก่ 1. สุพรรณบุรี 2. ปทุมธานี 3. นครพนม 4. ชุมพร 5. น่าน 6. เลย 7. แพร่ 8. นครราชสีมา 9. สุรินทร์ 10. สระแก้ว และพื้นที่ 11. ล่าสุดที่ จ.เชียงใหม่ รวมกัญชาที่ลักลอบปลูก ทั้งหมด 7,537 ต้น แม้นโยบายของรัฐบาลจะผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาในทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย แต่ไม่ได้หมายถึงว่า ประชาชนทั่วไปจะสามารถดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับกัญชาโดยไม่ได้ขออนุญาตได้ เนื่องจากกัญชายังเป็นยาเสพติดผิดกฎหมาย หากประชาชน หน่วยงาน หรือองค์กรใด มีความประสงค์จะดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับกัญชาต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมายเท่านั้น และได้เน้นย้ำถึงการใช้กัญชา เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนหรือผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้สารสกัดจากกัญชา เท่านั้น ดังนั้น กัญชายังคงเป็นยาเสพติดผิดกฎหมาย ประชาชนทั่วไป ไม่สามารถปลูกกัญชาได้ ผู้ที่ได้รับอนุญาตจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ขณะนี้มีหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จำนวน 11 แห่ง สำหรับผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะใช้สารสกัดจากกัญชาขอให้ไปพบแพทย์ เพราะปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่รักษาด้วยสารสกัดกัญชาแล้วรวมจำนวน 26 แห่งทั่วประเทศ.