“กรีนพีซ” ตั้งคำถามถึงภาครัฐ อย่าอธิบายปชช.แบบเดิมๆ อากาศจะดีในไม่ช้า ขณะข้อมูลตรวจวัดยังลักลั่น ชี้เป็นวาระชาติที่จะต้องปรับลดตัวเลขค่าฝุ่นจาก 50 ไมโครกรัม ตั้งให้เหลือ 35 ไมโครกรัมตามมาตรฐานโลก นายธารา บัวคำศรี ผอ.ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ตั้งคำถามถึงมาตรการของภาครัฐในวันที่ฝุ่น PM2.5 กลับมามีปัญหาอีกครั้ง โดยว่า มลพิษจากฝุ่นที่เกิดขึ้นในขณะนี้ อาจจะได้รับคำอธิบายเดิมๆ จากหน่วยงานรัฐว่า ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพอากาศ และว่าต่อไปคุณภาพอากาศจะดีขึ้น ขณะที่ การรายงานข้อมูลสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งมี 19 จุดน้นไม่เพียงพออย่างยิ่ง รวมทั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกทม.ที่กระจายอยู่ทุกเขตจะรายงานผ่านเว็บฯ http://bangkokairquality.com/bma/ ที่แยกต่างหากจากแพลทฟอร์มกรมควบคุมมลพิษ แม้กรมควบคุมมลพิษจะนำข้อมูลมารายงานรวมกัน แต่ก็ไม่ได้ผนวกอยู่บนแอพฯAir4Thaiซึ่งสร้างความลักลั่นในการสื่อสารมากขึ้นไปอีก นอกจากต้องเพิ่มสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศราคาสูงของหน่วยงานรัฐ ข้อมูลสาธารณะโดยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศราคาต่ำเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งของชุมชน แต่ก็ยังไม่เห็นการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐ เห็นได้แต่เพียงนักวิชาการริเริ่มนวัตกรรม เช่น Dust Boy ขึ้นเอง ขณะที่ประชาชนก็ต้องซื้อหาเครื่องมือมาติดตั้งโดยไม่รอภาครัฐ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกระบุว่าไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่ามีระดับฝุ่นละอองที่ปลอดภัยหรือระดับฝุ่นละอองที่ไม่แสดงผลเสียต่อสุขภาพอนามัย ขณะที่มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศของไทยมีรูปแบบเดิมตามที่ใช้ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งแตกต่างจากมาตรฐานนานาประเทศที่ได้พัฒนามาโดยตลอด และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มาตรฐานแตกต่างกันออกไป ที่สำคัญ จะต้องปรับตัวเลขความเข้มข้นของ PM2.5 ให้เป็น 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และเพื่อนำไปสู่มาตรการที่เข้มงวดในการลดการปล่อย PM2.5 จากแหล่งกำเนิด ค่าเฉลี่ย PM 2.5 รายปีจะต้องปรับให้เป็น 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามมาตรฐานโลก ซึ่งหากรัฐบาลจะต้องขับเคลื่อนวาระแห่งชาติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม พ.ศ.2562 นี้ รวมทั้งได้เชิญชวนประชาชนร่วมผลักดันคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้กำหนดมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไป(ambient air standard)ขึ้นใหม่โดยมีค่าเฉลี่ยรายปี 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงเป็น 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภายในปี พ.ศ.2562 ตาม ขอบคุณภาพจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย