พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจาอยูหัว พระราชทานพระบรมราโชบายด้านการศึกษาด้วยมีพระราชประสงคที่จะทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการสรางคนดีของบานเมือง มุงสรางพื้นฐานใหแกผูเรียน ๔ ดาน ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(เลขาธิการกอศ.)กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยความเป็นอยู่ของราษฎร ทรงห่วงใยการศึกษาของเยาวชน ด้วยทรงตระหนักว่าการศึกษาคือการปลูกฝังหล่อหลอมให้เยาวชนเติบโตเป็นพลเมืองดี มีความรู้ความสามารถเพื่อเป็นกำลังพัฒนาประเทศชาติได้ ได้พระราชทานพระบรมราโชบายให้สถานศึกษาช่วยสร้างคนดีของบ้านเมือง สืบสานพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดการเรียนการสอนสนองพระบรมราโชบายดำเนินโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระในกลุ่มผู้เรียนอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เพื่อส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ด้านธุรกิจ ผ่านกระบวนการของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวะในสถานศึกษาสังกัดสอศ.ทุกแห่ง โดยเน้นย้ำให้อบรมบ่มนิสัยในการเป็นคนดีคือให้มุ่งถึงความเพียรพยายามความขยัน อดทน ไม่ตั้งอยู่ในความโลภ ทำงานร่วมกันโดยความรักความเมตตาสามัคคีรู้จักให้อภัยกัน ให้ความเคารพความกตัญญูผู้มีพระคุณแล้วตั้งใจทำชิ้นงานและนำผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานที่เกิดจากการเรียนการสอนหรือเกิดจากความสนใจส่วนบุคคลของนักศึกษามาต่อยอดให้เกิดความเชี่ยวชาญนำสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพ พัฒนาปริมาณ นำไปเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้การทำธุรกิจและมีรายได้ระหว่างเรียน “สอศ.กำหนดให้มีการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาอย่างเป็นระบบต่อเนื่องในทุกปีตามตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เพื่อประเมินศักยภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาและหาแนวทางในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนของการประเมินแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ โดยในปีนี้เป็นปีแรกที่สอศ.ได้ดำเนินการจัดการประเมินโดยส่วนกลาง เพื่อให้การประเมินเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งมีสถานศึกษา 90 แห่งที่ผ่านการคัดเลือก เข้าร่วมรับการประเมินในระดับชาติ” เลขาธิการกอศ.กล่าวด้วยว่าผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ระดับชาติ 5 ดาว มีจำนวน 32 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย วิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์ วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน วิทยาลัยเทคนิคพะเยา วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง วิทยาลัยการอาชีพละงู วิทยาลัยเทคนิคพังงา วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช วิทยาลัยเทคนิคสตูล วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี 2 วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย วิทยาลัยการอาชีพโพนทอง วิทยาลัยเทคนิคตระการพืชผล วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา วิทยาลัยการอาชีพบางปะกง วิทยาลัยเทคนิคระยอง วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี วิทยาลัยเทคนิคพัทยา และวิทยาลัยพณิชยการบางนา “ สอศ.ขอเชิดชูเกียรติสถานศึกษาดังกล่าวให้เป็นแบบอย่างสำหรับการดำเนินงานของสถานศึกษาอื่นในสังกัด โดยขอให้พึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยและทรงมีพระราชประสงค์ให้ทุกคนเติบโตเป็นคนดี มีระเบียบวินัย มีอาชีพมีงานทำ มีจิตอาสาทำประโยชน์ให้ส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทน โดยผู้บริหารครูอาจารย์ในสถานศึกษาต้องเป็นหลักในการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการทำธุรกิจอย่างเป็นระบบ และสร้างแรงจูงใจให้แก่เยาวชนในระดับอาชีวศึกษาในการต่อยอดผลงานหรือผลิตภัณฑ์ไปสู่เชิงพาณิชย์และส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพ เพื่อก่อให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ที่ดีมีศักยภาพในอนาคตและเป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป” ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวปิดท้าย ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected]