เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา ที่กระทรวงสาธารณสุข มีการประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งที่ 2/2562 โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานประชุม โดยที่ประชุมนำเสนอข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนที่มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ เข้าพรรษา ซึ่งแม้จะมีแนวโน้มผู้เสียชีวิตลดลงแต่คณะกรรมการฯจะรณรงค์อย่างต่อเนื่องในช่วงออกพรรษา ส่วนมาตรการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการดื่ม คณะกรรมการฯมีแนวคิด เสนอให้บูรณาการร่วมกับกระทรวงยุติธรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรคุมประพฤติให้มามีส่วนร่วมบำบัด ผู้มีปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย สำหรับประเด็นการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษาที่ทำมาระยะหนึ่งแล้ว ที่ประชุมหาหรือให้มีการมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นระดับพื้นที่ กำหนดขอบเขต การห้ามจำหน่าย รวมทั้งให้หารือร่วมกรมสรรพสามิต กำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มีเงื่อนไขเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มค่าธรรมเนียมการขอใบอนุญาต จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาการกระทำความผิด ได้นำเสนอประเด็นความผิด ของการที่ดาราโพสต์ไอจี เน็ตไอดอลโพสต์เฟสบุค ลานเบียร์หน้าห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะประเด็นการใช้แบรนด์สินค้า ที่เสมือนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งต้องหาทางเร่ง แก้ไขหรือเพิ่มกฎหมายเพื่อ ให้การโฆษณาเหล่านี้มีความผิดเพื่อเป็นการสกัดนักดื่มหน้าใหม่ ไม่ให้เข้าสู่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนประเด็นลัลลาเบล ที่มีผู้เสนอในที่ประชุมให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถออกประกาศ เพิ่มเติมมาตรา 30(6) เอาผิดการส่งเสริมการขาย ด้วยวิธีแข่งดื่ม ที่พบว่ากฎหมายยังไม่สามารถครอบคลุมเอาผิด การแข่งดื่มที่จัดในบ้านได้ ที่เป็นประเด็นสำคัญของกรณีพริตตี้ดื่มหนักดื่มเร็วจนเสียชีวิต ทั้งนี้ นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดเผยว่า ในที่ประชุมได้มอบให้ทางทีมอนุกรรมการ พิจารณาร่างกฎหมายว่ามีกฎหมายในส่วนที่เอื้อหรือเกี่ยวข้องอย่างไร เนื่องจากในวิธีการขายนั้นจะมีมาตรา 30 (6) เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยสามารถดำเนินการร่างอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องขึ้นมาได้ ส่วนนี้จะรับไปดำเนินต่อไป แต่ในส่วนของร้านค้าที่จัดทำโปรโมชัน จะเข้าข่ายมาตรา 30 (5) สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ทันทีโดยไม่ต้องรอ ซึ่งปัจจุบนการบังคับใช้ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ยังไม่เอื้อในการบังคับใช้ภายในบ้าน ส่วนนี้จะให้อนุร่างฯไปพิจารณาเรื่องในส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกออฮล์ โดยในเบื้องต้น สิ่งสำคัญไม่ได้เกี่ยวกับการออกกฎหมายเป็นหลัก แต่อยู่ที่การทำให้ทุกคนตระหนักและเข้าใจว่าการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ปลอดภัยต่อชีวิต บางคนที่มีอาการแพ้ แม้ดื่มแต่เล็กน้อยก็มีความเสี่ยงเสียชีวิต ส่วนการดื่มเร็ว ดื่มมากในระยะสั้น ทำให้การดื่มซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงขึ้นฉับพลัน ส่งกระทบต่อสมองและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งกรณีคนทั่วไปหากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือกมากว่า 300-400 เปอร์เซ็นต์ก็มีความเสี่ยงชีวิตสูงอยู่แล้ว บางคนแค่ 200-300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ก็gสี่ยงตายได้ หากผู้ดื่มมีอาการสำลัก มากจากดื่มมากและดื่มไว นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า การจัดงานภายในบ้านจะเข้าข่ายเรื่องการตลาดหรือไม่นั้นอยู่ที่เจตนารมณ์ โดยกฎหมายระบุห้ามขายห้ามซื้อ หากเชิญชวนมาจัดสังสรรค์ และมีการขายบัตรเพื่อเข้าร่วมงาน ถือว่าเข้าข่ายการส่งเสริมการขาย หากแค่สังสรรค์ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน โดยวิธีการจะต้องดูตามเจตนารมณ์ รวมถึงกรณีสาวเชียร์เบียร์ และเหล้าเดินถือถาดเร่ขายแอลกอฮอล์ ถือว่าเข้าข่ายส่งเสริมการตลาดผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ในที่ประชุมรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังรับปากในการทำหน้าที่เป็นผู้ประสานกับรัฐมนตรีช่วยว่าการพาณิชย์ เพื่อดูแลด้านโลโก ซึ่งคาบเคี่ยวกับการใช้โลโก้ไปยังสินค้าชนิดอื่น โดยต่างประเทศได้มีการควบคุมไปแล้ว แต่ไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมดังกล่าว