“เฉลิมชัย” ส่ง “อลงกรณ์” นำทีมหารือความร่วมมือยูเอ็น-อาเซียน-แปซิฟิก หวังปฏิรูปประมงไทย พร้อมสร้างเครือข่ายอาเซียน-ไอยูยู เมื่อวันที่ 24 ก.ย. นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า ในวันพุธที่ 25 กันยายน 2562 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้เดินทางเข้าเข้าร่วมการประชุมหารือเรื่อง ASEAN Pacific Dialogueto Combat IUU Fishing ที่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาฯ ร่วมกับ นางซูสี ปูดเจียสตูตี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการทางทะเลและประมง แห่งสาธารณะรัฐอินโดนีเซีย (H.E Susi Pudjiastuti, Minister of Marine Affairs and Fisheries, Republic of Indonesia) และนายปีเตอร์ ทอมสัน ผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติด้านกิจการทางทะเลและมหาสมุทร (Mr. Peter Thomson, United Nations Secretary General’s Special Envoy for the Ocean) เพื่อยืนยันกรอบความร่วมมือในการต่อต้าน การทาประมงผิดกฎหมาย ไร้การรายงาน และไร้การควบคุม (IUU : llegel Unreported Unregulated Fishing) และในฐานะที่ประเทศไทยได้ดำรงค์ตำแหน่งประธาน ASEAN จึงได้มีการผลักดันให้อาเซียนร่วมกันสร้างความ เข้มแข็งและพัฒนาด้านการประมงรวมทั้งการต่อต้านการประมง IUUโดยไทยจะเสนอให้จัดตั้งนโยบายประมงอาเซียน ขึ้น(ASEAN General Fisheries Policy) เพื่อพัฒนานโยบายการประมงในทุกมิติของประเทศสมาชิกอาเซียนและ รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค นอกจากนี้ ได้เสนอให้จัดตั้งเครือข่าย อาเซียนในการต่อต้านการประมง IUU (ASEAN Network for combating IUU fishing) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างสมาชิกอาเซียนในการต่อต้านการประมง IUU ให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการเจรจาหารือกับสาธารณรัฐ อินโดนีเซีย ในกรอบความร่วมมือในภาคการประมงในลาดับต่อไป ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาในการควบคุมการทาประมงของเรือประมงไทย ทรัพยากร ประมงทะเลเสื่อมถอยลง กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ทำการปฏิรูปการประมงของประเทศปรับปรุงแก้ไขกรอบกฎหมายประมงให้มีความเป็นสากล สอดคล้องกับ กฎระเบียบระหว่างประเทศ รวมทั้งได้วางมาตรการในการป้องกัน ยับยั้งการประมง IUU ที่รัดกุม ซึ่งทาให้ขณะนี้ ประเทศไทยมีกลไก เครื่องมือ ระบบและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านการประมง IUU โดยมีความ ร่วมมือกับต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ทั้งรัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าท่า รัฐชายฝั่ง RFMOs และองค์กรระหว่าง ประเทศสาคัญ ได้แก่ EJF, Seafood Taskforce, Ocean Mind และ Interpol เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเรือประมง และกิจกรรมประมงเพื่อติดตามตรวจสอบเรือประมงที่สงสัยว่าจะทาประมงผิดกฎหมาย ทั้งนี้ประเทศไทยยินดี อย่างยิ่งที่จะแบ่งปันประสบการณ์และให้ความร่วมมือกับสังคมโลกและนานาประเทศในการต่อต้านการทาประมง ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรัฐบาลไทยนโยบายการอนุรักษ์ทรัพยากรในทะเลเป็นหัวใจสำคัญของนโยบาย ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่นเดียวกับการรักษามาตรฐานการแก้ไขปัญหา IUU ซึ่งได้แถลงชัดเจนในการ ประชุมการพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพการประมงไทยเพื่อเตือนทุกฝ่ายให้ตระหนักถึงนโยบายของท่านรัฐมนตรี เกษตรฯ นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ริเริ่มผลักดันให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยการจัดตั้งเครือข่าย ASEAN Network for combating IUU fishing จนคืบหน้าและเป็นที่ยอมรับ เพื่อให้การปฏิรูปทรัพยากรทางทะเลและการค้ามนุษย์รวมทั้งปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคนี้ได้รับการพัฒนาแก้ไขให้เป็นไปตาม มาตรฐานสากลและประเทศไทยจะเป็นตัวอย่างต้นแบบด้วยการที่ประเทศไทย สามารถได้รับใบเขียวจากการแก้ไขปัญหา IUU ซึ่งเกิดจากความร่วมมือทุ ๆ ภาค ส่วนจนสามารถผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ วิธีปฏิบัติ ตลอดจนมีการจัดทาโครงการต่างๆ เพื่อการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก การดาเนินการดังกล่าวโดยไม่ให้ขัดกับมาตรฐานทนี่ านาชาติกาหนดไว้ และสาหรับการประชุมหารือในครั้งนี้จะเป็น การประกาศถึงจุดยืนของประเทศไทยในฐานะประธาน ASEAN ต่อการดาเนินการแก้ไขปัญหา IUU พร้อมทั้งหารือ และเจรจาเพื่อเปิดโอกาสให้แก่ภาคการประมงไทยในเวทีระดับนานชาติ เพื่อให้ประเทศไทยกลับมามีศักยภาพใน การแข่งขันในเวทีโลก ภายใต้การอนุรักษ์ความยั่งยืนของทรัพยากรต่อไป