ข้อมูลของ "สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ" หรือ สสส. ซึ่ง "ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล" จากคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แนะนำความสำคัญของการนอนเอาไว้ ระบุว่า การนอนหลับมีความสำคัญกับสุขภาพของคนเรา เนื่องจาก 1 ใน 3 ของชีวิตคนเราในแต่ละวัน เป็นเรื่องการพักผ่อนด้วยการนอนหลับ หรือ 8 ชั่วโมง จาก 24 ชั่วโมง ในแต่ละวัน การนอนมีความหมายมากที่จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล ข้อแนะนำ การนอนหลับในช่วยอายุที่แตกต่างกัน เพราะตามธรรมชาติของร่างกายที่อายุเพิ่มขึ้น ร่างกายจะต้องการการนอนหลับน้อยลง คุณภาพการนอนหลับไม่ลึกเหมือนช่วยอายุน้อย ๆ โดย ทารกแรกเกิด ต้องการการนอนหลับ 20 ชั่วโมง ขึ้นไป วัยขวบปีแรก ต้องการนอนหลับ 12 ชั่วโมง ขึ้นไป เด็กวัยประถม 9-11 ชั่วโมง เด็กวัยรุ่น 10 ชั่วโมง เด็กมหาวิทยาลัย 7-9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ตอนต้น 7-9 ชั่วโมง และผู้ใหญ่ตอนกลาง ถึงตอนปลาย 7-8 ชั่วโมง แต่เชื่อหรือไม่? ในขณะที่โลกกำลังหมุนไปพร้อมๆ กับเทคโนโลยีอันทันสมัย ซึ่งหลายๆท่านเข้าใจว่าความก้าวหน้าของวิทยาการเหล่านั้นจะทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทว่าความเป็นจริงกลับสวนทางอย่างสิ้นเชิง ปัจจัยแวดล้อมนานัปการประการล้วนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา" ผู้อำนวยการซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ปัญหาการนอนคนไทย กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,109 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ระหว่าง 1 - 13 ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.1 ระบุเมื่อถึงเวลานอนต้องใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับ รองลงมาคือ ร้อยละ 48.2 ระบุตื่นก่อนเวลาที่ตั้งใจจะตื่นนอน และ ร้อยละ 34.5 ระบุมีปัญหาสะดุ้งตื่นขณะหลับไปแล้ว นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.9 ระบุในช่วง 30 วันที่ผ่านมาเคยตื่นขึ้นมา ปวดคอ ปวดหลัง ปวดชาเมื่อยตามตัว ในขณะที่เพียงร้อยละ 9.1 ไม่เคยมีปัญหา ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.5 ระบุ ที่รองนอน ฟูก หมอน มีส่วนทำให้เกิดปัญหาการนอน ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.5 ระบุว่าไม่มี อย่างไรก็ตามที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.5 สนใจที่นอนยางพารามากกว่าที่นอนที่เป็นโฟม เพราะที่นอนยางพาราทำมาจากธรรมชาติในขณะที่ที่นอนโฟมทำมาจากสารสังเคราะห์ต่าง ๆ ในขณะที่ร้อยละ 12.5 สนใจที่นอนเป็นโฟมมากกว่าเพราะให้ความรู้สึกนุ่มกว่า นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.8 เคยพบที่นอนยางพาราของ เก็ทท่า เวนตี้ และมิสเตอร์บิ๊ก ในขณะที่ร้อยละ 20.2 ไม่เคยพบ เมื่อถามถึงปัญหาอื่น ๆ เพิ่มเติมที่ทำให้นอนไม่หลับนอกจากสาเหตุจากที่รองนอน ฟูกและหมอนแล้วพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 47.3 ระบุ ปัญหาเศรษฐกิจ ขัดสนเงินทองเป็นสาเหตุทำให้นอนไม่หลับ รองลงมาคือร้อยละ 45.2 ปัญหาการทำงาน ร้อยละ 30.5 ปัญหาสภาพแวดล้อม ร้อยละ 20.6 ปัญหาการเมือง และร้อยละ 13.9 ปัญหาในชุมชน ตามลำดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กล่าวอีกว่า ปัญหาการนอนคนไทยเป็นปัญหาใหญ่เพราะเท่าที่มีข้อมูลเคยพบว่าการนอนเป็นปัจจัยสำคัญทำให้คนมีความสุขสูงมากแต่เมื่อคนไทยเกิดปัญหานอนไม่หลับจึงจำเป็นต้องดูหลาย ๆ ปัจจัยและโพลนี้ชี้ให้เห็นว่านอกจากที่รองนอน ฟูก หมอน เป็นสาเหตุสำคัญแล้วยังมีปัญหาเศรษฐกิจ การทำมาหากินขัดสนมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ปัญหาในที่ทำงาน ปัญหาตกงาน ปัญหาสภาพแวดล้อม และความเบื่อหน่ายต่อการเมืองที่ทำให้คนไทยคาดหวังสูงแต่เข้ามาก็มีแต่ความขัดแย้งยังไม่มีผลงานช่วยแก้ความเดือดร้อนของประชาชนชัดเจน ดังนั้นถ้าจะเพิ่มความสุขให้คนไทยรัฐบาลอาจจะให้ความสนใจสนับสนุนให้คนไทยมีปัจจัยเกื้อหนุน ความสุขจากการนอนให้มากขึ้น คือเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากกว่าปัญหาการเมืองตามผลโพลที่ค้นพบล่าสุด และสนับสนุนทำให้ประชาชนมีที่รองนอน ฟูก หมอน ที่นอนที่เอื้อต่อความสุขของคนไทย จตุพล หงส์วิเศษชัย ขณะที่ “คุณจตุพล หงส์วิเศษชัย” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อคุณภาพการนอน เก็ทท่า ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า เนื่องจากปัญหาที่คนไทยเผชิญอยู่มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่ทำให้การนอนไร้คุณภาพ ซึ่งการนอนที่มีคุณภาพหมายถึงการที่เราสามารถนอนหลับได้สนิทและหลับได้ลึก ไม่ใช่แค่การหลับตาลงบนที่นอนอย่างเดียว ปัจจัยที่มีผลกับการนอน เช่น ความเครียด หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งสองอย่างมีงานวิจัยในหลายๆ ประเทศว่าส่งผลต่อคุณภาพการนอนโดยตรง ทำให้เราหลับได้สนิทหรือหลับได้ลึกยาก เวลาตื่นนอนจะทำให้รู้สึกไม่สดชื่น นอนหลับไม่พอ ปวดเมื่อย ด้วยเช่นกัน ทว่าปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น การเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม ทำให้เกิดความเครียด กังวลขึ้นมาได้ แต่ปัจจัยภายนอกนี้เราสามารถจำกัดวงให้แคบลงได้ ส่วนปัจจัยภายใน ตัวอย่างเช่น สิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเรา ตัวที่นอน หรืออื่นๆ เราสามารถเลือกได้โดยคนส่วนใหญ่ใช้เวลานอนบนที่นอน เฉลี่ย 6-8 ซม ต่อวัน ดังนั้นตัวที่นอนถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักที่มีผลกับความสุขหลังการตื่นนอน ซึ่งที่นอนที่ดีและเหมาะสมกับผู้ใช้ที่สุด คือ ที่นอนที่มีความสามารถในการรองรับน้ำหนักตัวได้ดี และต้องรู้สึกสบาย คุณจตุพล กล่าวอีกว่า จากที่กล่าวมาข้างต้น การแก้ไขในระยะเบื้องต้นที่สำคัญที่สุดที่สามารถทำได้ทันที คือ เลือกใช้ที่นอนที่มีคุณภาพ ที่ให้ความรู้สึกรองรับ และความรู้สึกสบายทั้งสองอย่างพร้อมกัน ซึ่งตนแนะนำที่นอนยางพาราธรรมชาติ 100% ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาว รัฐควรส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องของการนอนที่มีคุณภาพให้มากยิ่งขึ้น จะทำให้คนไทยส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของการนอนที่มีคุณภาพ มีความสุขกับการนอนได้ในอนาคต ปัจจัยอื่นๆที่มีผลกับการนอน เช่น ความเครียด หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งทั้งสองอย่างมีงานวิจัยในหลายๆประเทศว่าเป็นอันตรายและส่งผลต่อคุณภาพการนอนโดยตรง ทำให้เราหลับได้สนิทหรือหลับได้ลึกยาก แล้วเวลาตื่นนอนจะทำให้รู้สึกไม่สดชื่น นอนหลับไม่พอ ปวดเมื่อย ดังนั้นหากใช้ที่นอนที่มีเทคโนโลยีสำหรับป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือมีเทคโนโลยีช่วยลดความตึงเครียดจากร่างกายได้จะช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนแล้วทำให้เรามีความสุขกับการนอนมากยิ่งขึ้น และสำหรับ เกร็ดความรู้ ความเครียดทำให้ร่างกายมีการสะสมประจุบวกที่มาก หากประจุบวกในร่างกายลดลงจนสมดุล ความตึงเครียดก็จะลดลง ตัวอย่างเช่น เวลาไปเดินเที่ยวทะเล เราจะรู้สึกสบายกายมากขึ้น เพราะลมทะเลมีประจุลบ เมื่อพัดผ่านร่างกายของเราจึงทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สบาย