พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์ เมื่อกล่าวถึงวัดระฆังโฆสิตาราม ทุกคนจะต้องนึกถึงพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องอันเลื่องลือ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระเก่าที่มีค่านิยมสูงลิ่วจนแทบแตะไม่ถึง ความจริงแล้วยังมีการสืบทอดการสร้างพระเครื่องของวัดระฆังฯ ในรุ่นต่อๆ มาอีกมากมาย โดยเฉพาะพระรุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงและพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ เช่น พระพุทธบาทปิลันทน์ ของ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์(ทัด) และ พระวัดระฆังหลังค้อน ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ซึ่งเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหากันอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไปเช่นกัน แต่ถ้ากล่าวถึงสนนราคาที่ยังพอจับต้องได้ต้องยกให้ “พระวัดระฆังหลังค้อน” พระวัดระฆังหลังค้อน เป็นพระเนื้อโลหะทองผสม มีขนาดเล็ก เริ่มวิธีการด้วย การส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระเกจิอาจารย์สำนักต่างๆ จำนวนหลายสำนัก เพื่อให้ท่านลงจารอักขระเลขยันต์ แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงอาราธนาพระเถรานุเถระผู้ทรงวิทยาคุณ ทำพิธีปลุกเสกแผ่นทองเหลืองที่จะหล่อหลอมเทเป็นองค์พระ เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกเป็นกิ่งๆ จากแกนชนวน จากนั้นเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆพระวัดระฆังหลังค้อน เป็นพระเนื้อโลหะทองผสม มีขนาดเล็ก พระวัดระฆังหลังค้อน ลักษณะของแท่งพระที่เลื่อยออกมานั้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ 3 ซม. ความยาวประมาณ 5 ซม. และความหนาประมาณ 0.5 ซม. หลังจากเลื่อยตัดออกจากช่อแล้ว พระแต่ละองค์จะติดกันเป็นแพ ต้องใช้เลื่อยเฉือนบากออกตรงรอยต่อระหว่างองค์พระ แล้วใช้ค้อนเคาะกระแทกให้องค์พระแต่ละองค์แยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ ‘หลังค้อน’ พระบางองค์อาจจะมีรอยค้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง บางองค์ก็ไม่มี จะมีแต่เพียงรอยตะไบแต่งเท่านั้น พระวัดระฆังหลังค้อน ลักษณะพิมพ์พระ เป็นรูปองค์พระปฏิมา ประทับนั่งปางสมาธิ บนอาสนะบัว 2 ชั้น อยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว พื้นภายในเส้นครอบแก้วด้านหลังองค์พระเป็นปรกโพธิ์เหมือนกันหมด ลักษณะเป็น เม็ดกลมรายรอบเหนือพระเศียร เหมือนพระพิมพ์ปรกโพธิ์ แบ่งออกหลักๆ เป็น พิมพ์ล่ำและพิมพ์ชลูด สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ผู้จัดสร้าง เป็นบุตรหม่อมเจ้าถึก ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุล อิศรางกูร เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่จังหวัดนครนายก แล้วย้ายตามบิดาเข้ากรุงเทพฯ เริ่มร่ำเรียนอักขระสมัยในสำนักบิดา เรียนภาษาบาลีที่สำนักอาจารย์จีน เมื่ออายุได้ 7 ขวบ บิดาจึงนำไปถวายเป็นศิษย์หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ตั้งแต่สมัยท่านยังเป็นเปรียญ ได้ศึกษาร่ำเรียนพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์ที่วัดระฆังโฆสิตารามหลายๆ รูป รวมถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และสมเด็จพระวันรัต (แดง) แห่งวัดสุทัศนเทพวราราม จน พ.ศ.2413 จึงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดระฆังโฆสิตารามนี้เอง เมื่ออายุครบอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นนาคหลวง และอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้รับฉายา ญาณฉันโท” “ พระวัดระฆังหลังค้อน ท่านได้ศึกษาร่ำเรียนด้านปริยัติธรรมจนแตกฉานและสามารถสอบได้เปรียญ 5 ประโยคในปี พ.ศ.2425 ในปี พ.ศ.2438 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่พระเทพเมธี ปี พ.ศ.2445 เป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ ปี พ.ศ.2453 เป็นพระราชาคณะ ตำแหน่งเจ้าคณะรองที่พระพิมลธรรม ปี พ.ศ.2465 เป็นพระราชาคณะที่พระพุทธโฆษาจารย์ พระวัดระฆังหลังค้อน หน้า-หลัง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) จัดสร้าง “พระวัดระฆังหลังค้อน” ในช่วงบั้นปลายของชีวิต เพื่อแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้สักการบูชา โดยทำการสร้างถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก สร้างและปลุกเสกในพระอุโบสถ วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้งที่ 2 สร้างและปลุกเสกที่หอกลางสระ 1 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทั้งสองครั้งนี้ จะมีลักษณะแม่พิมพ์เหมือนกัน ถ้าจะพิจารณากันว่าเป็นการสร้างครั้งใดให้ดูกระแสเนื้อของโลหะ ในการหล่อครั้งแรกกระแสเนื้อจะออกสีเหลืองคล้ายทองดอกบวบหรือไม่ก็เหลืองอมเขียว ส่วนในการหล่อครั้งที่ 2 กระแสเนื้อจะออกสีเหลืองอ่อนและให้สังเกตุดินขึ้เบ้าที่เกาะแทรกอยู่ในพื้นผิวและรอยตอกด้านข้าง แต่ไม่ว่าจะเป็นการสร้างครั้งไหนก็ล้วนเป็นที่นิยมสะสมทั้งนั้นครับผม