นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Somchai Srisutthiyakorn ระบุว่า... โปรแกรมTurnitin (Turn-it-in) เริ่มทำงานเริ่มทำงานแล้ว ก่อนห้าปีที่แล้ว ยังไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) ความยากลำบากจึงต้องอยู่ที่อาจารย์ที่ปรึกษาในการประเมินเองว่า งานเขียนของนักศึกษานั้นมาจากการค้นคว้าเองหรือไปลอกใครมา ปี ค.ศ. 1997 เป็นปีที่มีโปรแกรม Turnitin เริ่มออกมาใช้ ถึงปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่ใช้โปรแกรมดังกล่าวกว่า 15,000 แห่งทั่วโลก มีคนใช้ที่เป็น อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษากว่า 30 ล้านคน สำหรับในประเทศไทยสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น ธรรมศาสตร์ จุฬา มหิดล เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลานครินทร์ ฯลฯ มีโปรแกรมดังกล่าวให้นักศึกษาใช้ฟรี สนนราคาของโปรแกรมไม่ใช่ถูก ดูจากผลการประกวดราคาจ้างเหมาบริการประจำปีผ่านบริษัทในประเทศไทย ตกอยู่ประมาณ 6-7 แสนบาทต่อปีต่อหนึ่งสถาบัน เท่ากับโลกวิชาการต้องเสียเงินไปมิใช่น้อยกับการป้องกันการทุจริตทางวิชาการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าของเขาดีจริง เพียงแค่จับงานเขียนใส่มันเข้าไป (turn it on) นำวิทยานิพนธ์ที่เป็น full text ทั้งเล่ม submit เข้าไป ภายในเวลาไม่กี่นาที มันจะทำหน้าที่ตรวจเช็คข้อความกับฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์จากทั่วโลก มีซ้ำกับใครตรงไหนบ้าง และ hilight ด้วยสีต่างๆออกมาให้เห็น ของใครไม่ลอกผลออกมาจะขาวสะอาดอาจมีแต้มๆเป็นบางจุดที่มีคำซ้ำเล็กๆน้อยๆ แต่ถ้าใครลอกกันมา ไฮไลท์สีจะแวววับเต็มแทบทุกหน้ากระดาษ ผมอ่านข่าวเมื่อคืน เห็นว่า BBC ไทยได้ทดลองเอางานวิทยานิพนธ์ของนักการเมืองไทยท่านหนึ่งไปเข้าโปรแกรมนี้ พบว่าในภาคการทบทวนวรรณกรรม มีการคัดลอกมาแบบย่อหน้าต่อย่อหน้าถึง 14 จุด รอบ่ายๆ ว่างๆ ผมจะนำเสนอบ้างว่า ผลการทดสอบโปรแกรมนี้ ดีอย่างที่เขาว่าหรือไม่ครับ โปรดอดใจรอ ถ้าจริงอย่าง BBC ว่า ผมแนะนำว่า ให้ท่านนักการเมืองแจ้งความเอาผิดต่อทีมอาจารย์ที่ปรึกษาหรือทีมผู้ช่วยจัดทำวิทยานิพนธ์ได้เลยครับ ธุรกิจรับจ้างทำแต่เที่ยวไปลอกใครต่อใครมา นี่ทั้งเอาเปรียบผู้ว่าจ้างและทำให้ผู้ว่าจ้างเสียหายอีก ไม่ควรเอาไว้ครับ